ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

กสทช.เตรียมถกปิดจุดอ่อนประมูลคลื่น1800MHz

[invalid]
อัพเดต 18 มิ.ย. 2561 เวลา 03.36 น. • เผยแพร่ 17 มิ.ย. 2561 เวลา 05.59 น. • tnnthailand.com
กสทช.เตรียมเรียกประชุมด่วนผู้เกี่ยวข้องพรุ่งนี้เพื่อหาทางออก เปิดประมูลคลื่น 1800 MHz

กสทช.เตรียมเรียกประชุมด่วนผู้เกี่ยวข้องพรุ่งนี้เพื่อหาทางออก เปิดประมูลคลื่น 1800 MHz หลังค่ายมือถือทั้งหมดไม่ขอเข้าร่วมประมูล

วันนี้ (17มิ.ย.61) ความคืบหน้ากรณีที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ไม่เข้าประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ  (MHz) รวมถึง กลุ่มทรู ที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ตั้งแต่วันที่  18 พฤษภาคม  ไม่เข้าประมูล

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมื่อวานนี้(16มิ.ย.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ได้ออกมาแถลง ท่าทีของ กสทช. อีกครั้งหลังจากที่ บริษัท  โดยทาง กสทช.จะเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้อง เร่งทบทวนปรับปรุงเงื่อนไขการเปิดประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ อีกครั้ง ในวันพรุ่งนี้(18มิ.ย.) ในเวลา 09.00 น. ซึ่งจะพิจารณาร่วมกันในกรอบว่าจะเดินหน้าจัดการประมูลใหม่ต่อไปตามเงื่อนไขเดิม หรือจะเปิดการประมูลใหม่ที่มีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไข โดยคาดว่าใช้เวลา 7-8 เดือน แต่ระหว่างนี้จะไม่มีใครใช้คลื่นฟรี   เพราะ กสทช. จัดประมูลก่อนหมดอายุสัมปทานในวันที่ 15 กันยายน 2561 ถึง 3 เดือน ดังนั้น ผู้ใช้บริการยังมีเวลาย้ายค่าย

อย่างไรก็ตาม ในความเห็นส่วนตัวมองว่าควรจัดการประมูลใหม่ที่มีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไข หลังจากได้ข้อสรุปแล้วจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช.พิจารณาในวันที่ 27 มิ.ย.นี้ เพื่อตัดสินใจและรายงานให้รัฐบาลรับทราบด้วย 

นายฐากร กล่าวว่า ในการเรียกประชุมครั้งนี้เพื่อต้องการปิดจุดอ่อนทั้งหมดเพื่อให้การจัดประมูลรอบใหม่ไม่มีปัญหา โดยจุดอ่อนแรกคือเรื่องใบอนุญาตที่กำหนดให้ให้ประมูลใบอนุญาตละ 15 เมกะเฮิรตซ์ (รวม 3 ใบอนุญาต) นั้น จะนำซอยให้ใบอนุญาตเล็กลงเป็นใบอนุญาตละ 5 เมกะเฮิรตซ์ ตามที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เคยเสนอให้ไว้ เพราะโดยส่วนตัวก็เห็นด้วยที่ควรจะจัดทำใบอนุญาตให้เล็กลง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ส่วนเรื่องราคาประมูลที่มองว่าแพงไปนั้น ไม่ถือเป็นจุดอ่อน ของการประมูลครั้งนี้ เนื่องจากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่เป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ในครั้งก่อนหน้าต่างยืนยันว่าต้องอิงราคาประมูลในครั้งก่อนหน้า จึงถือว่าเรื่องนี้จบแล้ว จะไม่มีการปรับราคาประมูลแต่อย่างใด และอีกจุดอ่อนที่ต้องนำมาพิจารณาคือเหตุผลของทรูที่ไม่เข้าร่วมประมูลครั้งนี้เพราะมีปัญหาทางการเงิน เนื่องจากต้องเตรียมเงินจำนวน 60,000 ล้านบาท ในการชำระใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ในการประมูลครั้งก่อนที่กำลังจะถึงกำหนดต้องชำระ โดยทรูและเอไอเอสได้ทำหนังสือขอ ผ่อนผันการชำระออกไปก่อนให้รัฐบาลพิจารณาก่อนหน้านี้ แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณา

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • W.Direk_666 🐮789🐉♍♑🇹
    ใครจะประมูลวะ แพงโครต เอาแต่ประโยชน์เข้าตัว เรื่องเสียเงินเสียหายเกิดกับปชช.
    17 มิ.ย. 2561 เวลา 14.09 น.
  • บริหารกันเก่งๆน่ะแต่เอกชนเขารู้ทันว่ะ
    18 มิ.ย. 2561 เวลา 02.18 น.
  • kositt อดีต ตส.
    เข้าข่ายฮัวประมูลหรือเปล่า ดูขั้นตอนดีๆครับ
    18 มิ.ย. 2561 เวลา 04.51 น.
ดูทั้งหมด