ไม่มีใครในโลกนี้อยากแก่ ถ้าเป็นไปได้ก็อยากฉุดกระชากความอ่อนวัยไว้ให้ได้นานที่สุด แต่..คนทุกคนต้องแก่ เจ็บ และตายด้วยกันทั้งนั้น ต่อให้ดีแค่ไหน ทำบุญมามากขนาดไหน ก็ต้องแก่และตายไปอยู่ดี เพราะฉะนั้นอย่าไปกังวลกับอีแค่ “ความแก่”
ความชราไม่ได้โหดร้ายอย่างที่คิด ไม่ได้ทำให้เจ็บป่วย เดินเหินไปช้าลง หรือเป็นภาระ แต่อายุที่มากขึ้น ได้ทิ้งร่องรอยแห่งชีวิตเอาไว้มากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านั้นแหละคือ #ข้อดีของความแก่
◎ รู้ว่าควรใช้เวลาไปกับอะไร
เพราะเราต่างผ่านอะไรมาในชีวิตกันเยอะแยะ เมื่ออายุมากขึ้นเราจะรู้ว่าเวลาเป็นของมีค่า เพราะฉะนั้นต้องใช้มันให้คุ้มค่า ความชราจะทำให้รู้ว่าควรใช้เวลาไปกับเรื่องอะไรและกับใคร
ความหนุ่มสาว เป็นวัยรุ่น หรือเป็นเด็กก็เลยคิดว่ายังมีเวลาเหลืออีกเยอะ ยังไม่ต้องรีบคิด รีบทำก็ได้ มีเวลาเหลือเฟือที่จะลองคิด ลองใช้เวลากับใครหรืออะไรสักอย่างไปก่อน ขณะที่คนสูงวัยผ่านเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้มาแล้ว เรียกว่าลองผิด ลองถูกมาหมดแล้ว ตัดคนที่ไม่จำเป็นและสิ่งที่ไม่มีประโยชน์กับชีวิตไปบ้างแล้ว ก็เลยรู้ว่าควรใช้เวลาไปกับเรื่องอะไรและกับใคร
บางคนอยู่มาตั้งนาน ไม่เคยรู้ว่าคนที่คบด้วย สิ่งที่ทำอยู่มีแต่ทำให้เสียเวลาในชีวิตไปเปล่า ๆ โดยไม่เกิดประโยชน์อะไร แถมยังต้องทนกับคนที่มีนิสัยเป็นพิษแทบจะตลอดเวลา ดังนั้นการรู้ว่าจะใช้เวลาไปกับเรื่องอะไรและกับใครเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน จะเด็ก จะวัยรุ่น จะผู้ใหญ่ หรือจะแก่ก็ควรต้องมีมาตรฐานในการเลือกคบคนหรือเลือกทำสิ่งต่าง ๆ ไม่งั้นเราจะเสียเวลาอันมีค่าไปฟรีโดยไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย
◎ ผิดพลาดเยอะ บทเรียนก็เยอะ
ในชีวิตคนเราไม่ว่าจะสูง ต่ำ ดำ ขาว หรือยาก ดี มี จนแค่ไหน ก็ต้องเจอกับบทเรียนสำคัญในชีวิตทั้งนั้น บทเรียนเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ จะยอมหรือไม่ยอมก็ต้องจำใจเรียนและผ่านมันไปให้ได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่คนอายุมากกว่าจะมีประสบการณ์มากกว่า เพราะผ่านมาแล้วทั้งบทเรียนง่าย ๆ และยากลำบาก
ทั้งสองบทเรียนนี้ให้แง่คิดที่ต่างกัน อะไรง่าย ๆ ไม่ได้แปลว่าไม่ดีเสมอไป บางทีความง่ายอาจแค่ผ่านเข้ามาเพื่อสอนให้เรารู้จักทบทวนทุกอย่างที่เกิดขึ้น เพราะการได้ทบทวนตัวเอง ก็ทำให้ชีวิตเราชัดเจนขึ้น ส่วนอะไรที่ยากลำบากก็มักจะฝากร่องรอยความคิด ความทรงจำ และประสบการณ์อันล้ำค่าเอาไว้ด้วยเสมอ
ไม่ว่าวันหนึ่งเราจะเจอบทเรียนที่ยากหรือง่าย บทเรียนเหล่านี้ก็คือประสบการณ์ที่ทุกคนได้รับมาในแง่มุมที่ต่างกัน เด็กก็มีบทเรียนแบบหนึ่ง ผู้ใหญ่ก็มีอีกแบบ ซึ่งคงมาเทียบกันไม่ได้ว่าบทเรียนของใครล้ำค่ากว่า เพราะสุดท้ายแล้วทุกบทเรียนมักสอนเราให้หันกลับไปมอง แต่ต้องไม่ย้อนกลับไปเดิน
◎ นิ่งขึ้น ภูมิคุ้มกันเยอะขึ้น
ภูมิคุ้มกันก็คือสภาพที่ร่างกายมีแรงต่อต้านเชื้อโรคหรือในที่นี้ก็คือบางสิ่งบางอย่างที่อาจเป็นภัยไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย ถ้าเป็นเรื่องสุขภาพ เราก็แค่ไปฉีดภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อโรค แต่สำหรับการใช้ชีวิต เราไม่สามารถหาอะไรมาฉีดเพื่อต้านภัยอันตรายหรือความผิดหวังที่จะเกิดขึ้นได้ มีแต่ต้องผ่านมันไปด้วยตัวเอง เราถึงจะได้ภูมิคุ้มกันที่ว่านี้กลับมา
ดังนั้นโอกาสที่คนสูงวัยจะมีค่าพลังคุ้มกันก็เลยมีมากกว่า เพราะผ่านเรื่องราวต่าง ๆ มามากมาย เจอเรื่องอะไรเข้ามากระทบ อาจแค่เป๋ไปบ้าง แต่ยังไม่ถึงขั้นล้มลุกคลุกคลาน หรือลุกขึ้นมาไม่ได้ ซึ่งน่าจะเป็นข้อดีเฉพาะตัวของคนที่อายุมากขึ้นที่ผ่านบทเรียน ประสบการณ์ต่าง ๆ มาบ้างแล้ว
ทีนี้พอมีค่าพลังคุ้มกันก็เลยสามารถรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ยิ่งเป็นเรื่องแนวเดิม ๆ ที่เคยผ่านมาแล้ว ยิ่งทำให้ระบบคุ้มกันทำงานได้ดี จากที่เคยทุกข์ เคยผิดหวัง ก็อาจจะแค่วิง ๆ เล็กน้อย หรือถ้ามีค่าพลังมากหน่อย ก็อาจถึงขั้นข้ามความผิดหวังเหล่านั้นไปได้เลย
◎ คิดเยอะขึ้น ความฉาบฉวยในชีวิตลดลง
เป็นธรรมดาที่พอเราอายุมากขึ้น เราจะมีความคิดที่ต่างออกไป ไม่เฉพาะแค่คนสูงวัย..ตัวเราในวันนี้ กับตัวเราในอดีตยังคิดไม่คิดเหมือนกันเลย เพราะฉะนั้นถ้ามีโอกาสลองมองตัวเองย้อนกลับไปเมื่อก่อน เราจะรู้เลยว่าตัวเราในอดีตมักจะทำอะไรไม่เข้าท่าเสมอ ทำไมตอนนั้นคิดแบบนี้ ทำอะไรแบบนั้นลงไป นี่ผ่านการคิดมาแล้วจริง ๆ ใช่ไหมเนี่ย พร้อมกับคำพูดอีกมากมายที่อยากบอกตัวเองในตอนนั้น
เพราะอายุและประสบการณ์ชีวิตทำให้ความคิดเราเปลี่ยนไป ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งต้องเจอปัญหารอบด้าน ทั้งการใช้ชีวิต ความเครียด เงินทอง ลูก ผัว (เมีย) การงาน และสารพัดอย่างที่มากขึ้นตามตัวเลขอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้อะไรก็ตามที่เราเคยคิดแบบง่าย ๆ ตามประสาเด็กหรือคนที่อายุน้อยกว่านี้ เป็นไปไม่ได้อีกแล้ว ประสบการณ์สอนให้เราต้องใช้เวลากับความคิดและการตัดสินใจให้มากขึ้น เพื่อลดข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุด
ดังนั้นอะไรง่าย ๆ ฉาบฉวย คิดปุ๊บ ทำปั๊บ จะค่อย ๆ ลดลงเมื่ออายุขึ้น เปลี่ยนมาเป็นกลไกความคิดที่มีเหตุ มีผล มีรายละเอียดต่าง ๆ รอบด้านแทน ซึ่งของแบบนี้มันเป็นไปตามอายุ และจะเรียกว่าเป็นข้อดีของการอายุมากก็คงไม่ผิด
◎ เข้าใจโลกได้ดี
บอกก่อนว่า..ไม่ได้หมายความว่าเด็กหรือคนที่อายุยังน้อยจะไม่เข้าใจโลก เพราะคนอายุมากที่แก่แบบกะโหลกะลาก็มีเยอะแยะ แต่กำลังจะบอกว่าเด็กหรือคนอายุน้อยจะเข้าใจโลกในบริบทของตัวเอง เราอยู่ตรงไหน อายุเท่าไหร่ เราก็จะเข้าใจโลก เข้าใจชีวิตในมุมของเรา ซึ่งโอกาสที่มันจะไม่ใช่ความจริงของชีวิตก็ใช่ว่าไม่มีเลย
แต่สำหรับคนอายุมากที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร ความเข้าใจโลกของพวกเค้าจะเปลี่ยนไป คนสูงวัยจะมองโลกในแบบที่มันควรจะเป็น ไม่ได้มองแค่จากมุมของตัวเอง เพราะเข้าใจแล้วว่ามุมนั้นไม่ใช่มุมเดียวของโลกใบนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประสบการณ์ ความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้น ช่วยสอนให้รู้ว่ายิ่งเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งใช้ชีวิตง่ายขึ้นเท่านั้น
มาถึงตรงนี้ บางคนอาจคิดว่าคนแก่กะโหลกกะลา แก่แล้วแก่เลยก็มีตั้งมากมาย หรืออาจแย้งว่าคนหนุ่มสาวบางคนก็คิดและมีพฤติกรรมที่ดีแบบนี้ได้ ถ้าเค้ามีความคิดที่ดีพอ ซึ่งมันก็จริง…แต่อย่าลืมว่าแม้วัยวุฒิอาจไม่ใช่คำตอบทั้งหมด แต่คงปฏิเสธไม่ได้หรอกว่าการผ่านร้อนผ่านหนาวมาครึ่งค่อนชีวิตก็เป็นส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมให้คนสูงวัยมีวิธีคิดและพฤติกรรมที่มั่นคงมากกว่า~
💚 PumPuy 789 💚 ไม่จริงเสมอไปและไม่ใช่กับทุกคน
15 ต.ค. 2567 เวลา 14.53 น.
กุเกลียดมึงคนไม่ดี ไม่ทุกคนหรอกร่างกายๆคนแก่บางท่านแข็งแรงกว่าคนรุ่นลูกหลานไม่เคยมีประวัติรักษาเรื้อรังกินยาตามอาการไม่เคยเป็นโรคร้ายแรงนอกจากอุบัติเหตุนิดหน่อยล้มลุกมันเรื่องธรรดาสติมีมากอารมณ์ก็ลดตามสติที่มีของแต่ละคนปล่อยวางกับสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นกลางๆ
02 ก.ย 2565 เวลา 20.46 น.
อยู่แบบเป็นแบบอย่างที่ดี
ยอมรับความจริง ว่าแก่ สู้เด็กๆกว่าไม่ได้ ในหลายด้าน
ร่างกาย ความทันสมัย
พยายามเข้าใจคนรุ่นใหม่ อย่าพยายามเอาตัวไปเป็นศัตรู
อย่าหวงอำนาจ ทั้งๆที่ นาทีนี้ ไม่ใช่เรื่องของคุณแล้ว
… ทำใจรับสภาพ สร้างชีวิต วัยชรา ให้เป็นที่รัก และสร้างสุขให้ตนเอง และลูกหลาน
27 ส.ค. 2565 เวลา 04.33 น.
Hong ข้อ 6 คือ ตายเร็วกว่าคนหนุ่มสาว
27 ส.ค. 2565 เวลา 04.01 น.
NONAME การเรียนรู้เกิดได้ทุกช่วงวัย กลายเป็นประสบการณ์ชีวิต ตามวิธีคิดของแต่ละบุคคล และสื่งแวดล้อม อริยสัจสี่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หลักชัยของชีวิต พิชิตความชรา
19 ก.ย 2563 เวลา 05.00 น.
ดูทั้งหมด