ไลฟ์สไตล์

เพราะอะไร คนทำผิดถึงไม่ค่อยยอมรับผิด?!

LINE TODAY ORIGINAL
เผยแพร่ 01 ต.ค. 2563 เวลา 17.00 น. • nawa.
Stop vector created by pikisuperstar - www.freepik.com

จากกระแสข่าวเรื่องครูทำร้ายนักเรียนที่กำลังถาโถมสังคมไทยอยู่ตอนนี้ มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ และอยากทำความเข้าใจมาก ๆ คือ ก่อนที่เราจะได้ยินได้ฟังคำขอโทษจากผู้เกี่ยวข้อง มันมักจะมีเหตุผลอื่น ๆ มาพาดผ่านไปก่อนเสมอ ครูลงมือทำร้ายเด็กเพราะเครียดเรื่องครอบครัว? ก่อนจะจนมุมจากหลักฐานจึงได้ยอมรับว่าตัวเองกระทำความผิด แต่นั่นก็เหมือนจะสายไปเสียแล้วหรือไม่ หรือแม้แต่สถานการณ์อื่น ๆ อย่างที่เราเองก็เคยเจอ เช่น คนใกล้ตัวทำผิด แต่ไม่ยอมรับผิด กลับบ่ายเบี่ยงหรือเพิกเฉย สรรหาสารพัดข้อแก้ต่างที่น่าโมโหมาแก้ตัว ทั้ง ๆ แค่ยอมรับว่าตนเองผิดก็จบเรื่องราวไปได้แล้วครึ่งหนึ่ง แล้วคนเหล่านั้นมีเหตุผลอะไรเป็นเบื้องลึกเบื้องหลังของการไม่ยอมรับความผิด จิตวิทยามีคำอธิบายที่ใกล้เคียงไว้ว่า

ซิกมันด์ ฟรอยด์ และแอนนา ฟรอยด์ได้กล่าวถึงทฤษฎีนึงที่ช่วยอธิบายลักษณะของ ‘การไม่ยอมรับผิด’ ไว้กลาย ๆ ว่าเป็นเสมือน ‘Self-Defense Mechanism’ หรือกลไกการปกป้องตัวเองของมนุษย์ ว่าง่าย ๆ คือวิธีการคิดเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี หลีกเลี่ยงความรู้สึกแย่ ๆ ที่ทำให้เราทุกข์ ซึ่งจริง ๆ แล้วทุกคนล้วนเกิดมาพร้อมกับความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ เพียงแต่จะใช้แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคลนั่นเอง แล้วกลไกเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ลองเช็กดูค่ะ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

-โยนความรู้สึกผิดให้คนอื่น,สิ่งอื่นแทน (Projection) พฤติกรรมหนึ่งที่น่าจับตามองของคนที่ไม่ยอมรับความผิด มักจะเป็นการโยนขี้ หรือโบ้ยความผิดให้สิ่งรอบตัว เพราะคนนั้นต่างหากทำให้เกิดเรื่องแบบนี้ เพราะสิ่งนี้มากกว่าที่เป็นต้นเหตุ ใครก็ได้ที่ไม่ใช่ตัวเอง

-หาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization) แปลตรงตัวเลยค่ะ สมมติเราไปทำอะไรไม่ดีมา รู้ทั้งรู้ว่าเป็นสิ่งผิด แต่ไม่มีวันซะหรอกที่ฉันจะยอมรับว่ามันไม่ถูกต้อง ที่ฉันทำไปมันก็มีข้อดีนะ มีประโยชน์นะ หรือที่มักเรียกกันว่า องุ่นเปรี้ยว, มะนาวหวาน 

-ปฏิเสธความเป็นจริง (Denial) เป็นเรื่องของการ ‘ไม่มีวันยอมรับความจริงได้เลย’ อย่างเช่น ตัวเองทำความผิดอันยิ่งใหญ่ กระทบกระเทือนใจอย่างหนัก แม้ความผิดจะเป็นของเราเต็ม ๆ แต่ก็ไม่ยอมรับความจริง ไม่ยอมรับความผิดพลาดนั้น เลือกที่จะมองข้ามไปแม้ในใจจะรู้สึกเจ็บปวดก็ตาม ก็ฉันไม่ได้ทำหนิ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

-ตีมึน (Narcotization) รู้อยู่ในใจว่าตัวเองก่อความผิดขึ้น แต่เลือกที่จะตีมึน ไม่สนใจสิ่งที่เกิด หันเหความสนใจไปทำอย่างอื่นแทน ใครไถ่ถามก็แกล้งไม่รับรู้ เป็นอีกวิธีที่ใช้หลอกจิตใจตัวเองได้ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นล่ะ 

ความกลัวก็มีส่วนอย่างมาก

ส่วนอีกด้านของการไม่ยอมรับผิดเพราะว่า ‘ความกลัว’ 

-กลัวจะถูกมองเป็นคนแพ้ คนอ่อนแอ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

-กลัวสูญเสียความสัมพันธ์อันดีไป

-กลัวเสียหน้า เสียศักดิ์ศรี

-กลัวชื่อเสียงหม่นหมอง

ฯลฯ

ซึ่งทั้งหมดนี้เราแค่ต้องยอมรับธรรมชาติว่า ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ทุกคนก็เคยทำผิด แต่สิ่งสำคัญคือต้องยอมรับความผิดนั้น แล้วลงมือแก้ไขให้ดีขึ้นต่างหาก

จริง ๆ ยังมีกลไกการป้องกันตนเองอีกมากมายที่ช่วยรักษาสมดุลความสุขของเราไว้ แต่หากใช้มันผิด ๆ ก็จะส่งผลให้ความคิดหรือพฤติกรรมของเราบิดเบี้ยวไป ซึ่งแน่นอนว่าอาจไม่ใช่เรื่องดี เพราะการหลบหนีความจริงที่เกิดขึ้น ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรเลย สู้ยอมรับความผิดพลาดแล้วลงมือจัดการมันเสียใหม่ดีกว่า อย่างน้อยที่สุดความผิดนั้นก็ไม่ต้องตามหลอกหลอนในใจไปตลอด จริงไหมคะ

.

อ้างอิง

-simplypsychology.org

ความเห็น 59
  • 🔥พิมาน🔥
    พื้นฐานเกิดจาก อัตตาหลงหัวโขนที่ตนสวมอยู่ + ความกลัว,อาย ครับ
    01 ต.ค. 2563 เวลา 22.31 น.
  • บางคนไม่ยอมรับว่าตัวเองผิด​ โทษแต่คนอื่นว่าเป็นคนทำผิด
    01 ต.ค. 2563 เวลา 23.48 น.
  • kung 💕💕💕💕
    ลูกน้องก้อเป็น ขนาดผิดตำตา ก้อแค่บอกว่าจะแก้ไขให้ ก้อจบ แต่แก้ตัว โทษโน้นโทษนี้ น่ารำคาญจิงๆ
    01 ต.ค. 2563 เวลา 21.49 น.
  • Pipe
    อายที่จะขอโทษ อายที่จะพูดความจริง คนเราจะขอโทษได้พูดความจริงได้ก็ต่อเมื่ิอมันสายไปแล้ว
    02 ต.ค. 2563 เวลา 10.19 น.
  • SUPADON
    กลัวผลของความผิดไง เพราะถ้าผิดแล้วไม่มีอะไร แล้วจะกลัวอะไรหล่ะ
    02 ต.ค. 2563 เวลา 16.26 น.
ดูทั้งหมด