ทั่วไป

13 มีนาคม ของทุกปี เป็นวัน"ช้างไทย"

สวพ.FM91
อัพเดต 12 มี.ค. 2560 เวลา 18.03 น. • เผยแพร่ 12 มี.ค. 2560 เวลา 18.03 น.

"ช้างควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องสร้างแหล่งอาหารให้กับช้างให้เพียงพอ การปฏิบัติต้องเข้าไปสร้างแหล่งอาหารและภายในป่าเป็นแปลงเล็กๆ และกระจาย กรณีที่ช้างออกมาชายป่าต้องให้ความปลอดภัยแก่เขา"
(พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 ณ ป่ากุยบุรี)
ประวัติวันช้างไทย
ไทย เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญ และการดำรงอยู่ของช้างไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบที่ ให้วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันช้างไทย "ช้างไทย" เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน แต่ปัจจุบันประชากรช้าง ในประเทศไทยมีจำนวนลดน้อยลงมาก หากไม่มีการอนุรักษ์และกระตุ้น เตือนจิตสำนึกของประชาชนให้ระลึกถึงความสำคัญของช้างไทยแล้ว  ช้างไทยอาจสูญพันธุ์ไปในที่สุด ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ หากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น ก็จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น วันช้างไทยเกิดจากการริเริ่มของคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ในปี พ.ศ.25o6 ได้มี มติเป็นเอกฉันท์ให้กำหนดเอา "ช้างเผือก" เป็นสัตว์ประจำชาติไทย  และในปี พ.ศ.2541 มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทยได้มีดำริจัดตั้งวัน "ช้างไทย" ขึ้น โดยเลือกเอาวันที่มีมติของกรมป่าไม้ให้ "ช้างเผือก" เป็นสัตว์ ประจำชาติ คือ 13 มีนาคม พ.ศ.25o6 แล้วนำเสนอรัฐบาลในขณะนั้น จัดตั้งวัน "ช้างไทย" ขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีได้มติให้วันที่ 13มีนาคม ของทุกปีเป็น "วันช้างไทย"
สิ่งที่ไม่ควรทำกับช้าง
เพราะช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง ช้าง" เป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์และผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยโบราณ ช้างเป็นพระราชพาหนะเคียงคู่พระบารมีพระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบัน คนไทยกลับเห็นคุณค่าและความสำคัญของช้างไทยลดลงไป จนช้างถูกนำไปเร่ร่อนหาผลประโยชน์โดยควาญช้าง และมีล้มตายเป็นจำนวนมากขึ้นทุกที สิ่งที่ไม่ควรทำกับช้าง มีอะไรบ้าง 1.กักขังหน่วงเหนี่ยว สถานการณ์การทารุณสัตว์ในประเทศไทยได้กลายเป็นเรื่องระดับโลกและนำความเสื่อมเสียชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทยและเคยมีการคว่ำบาตรจากประเทศคู่ค้า ซึ่งการกักขังไว้ในที่เลี้ยงที่คับแคบ การทรมานในการเลี้ยงดู การฝึกสัตว์อย่างทรมานเพื่อนำไปแสดง การปล่อยปละละเลยโดยขาดอาหารและที่อยู่อาศัยซึ่งสัตว์ที่ถูกทารุณรวมทั้งช้าง และสัตว์อื่นๆ มีให้เห็นอยู่ทั่วไป 2.การแสดงเพื่อความบันเทิงแต่ช้างเจ็บปวด สัตว์โดยทั่วไปย่อมมีเลือดเนื้อและความรู้สึก กล่าวคือ ความรัก ความโดดเดี่ยว ความพลัดพราก ความกลัว ความเจ็บปวด ความรู้สึกไม่สะดวกสบาย ตลอดถึงความหิวกระหาย เช่นเดียวกับมนุษย์เราโดยทั่วไป ซึ่งช้างจำนวนมากได้สูญพันธุ์ไปอันเนื่องจากการกระทำของมนุษย์ เพื่อการค้า หรือเพื่อการแสดง ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการทารุณ 3.การเพิกเฉย บาดแผลที่เกิดจากการฝึกช้างให้เชื่อฟังคำสั่งมนุษย์ บาดแผลที่จะฝังแน่นไปทั้งร่างกายและจิตใจไปจนวันตาย การฝึกแบบนี้ใช้เวลาไม่เกิน7วัน อดข้าวอดน้ำ เจอสับตะขอ ล่ามโซ่กระชากขา บาดเจ็บหวาดกลัวจนอุจระราด จนยอมจำนน เพราะความหวาดกลัวทางร่างกาย และจิตใจ ซึ่งประเทศไทยได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่มีการกระทำทารุณกรรมสัตว์และเพิกเฉยต่อความสำคัญ 4.การทารุณกรรม การทารุณกรรมจะไม่มีการลดลง ตราบใดที่คนทำงานเกี่ยวกับสัตว์ ช้างจะต้องเผชิญชะตากรรมเช่นนี้อีกต่อไป คนที่ทำงานเกี่ยวกับช้างยังไม่ยอมรับและพูดความจริง ช้างบ้านยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองอย่างแท้จริง ถูกเอาเปรียบชีวิตทุกสิ่งอย่าง การทารุณกรรมช้างไม่ใช่แค่บังคับหรือทุบตี หรือแค่การลากไม้เถื่อน แต่ช้างเร่ร่อนกลับมีจำนวนมาก การทารุณกรรมเป็นเพรชฆาตเงียบ ที่มีผลต่อ ร่างกาย จิตใจ ชีวิตช้างมากที่สุด ตอนนี้มีช้างอีกหลาๆยตัวที่ตกเป็นทาสที่ถูกย่ำยี เพียงเพื่อผลประโยชน์แต่เพียงอย่างเดียว
แนวทางการส่งเสริมวันช้างไทย
ช้างเป็นสัตว์สัญลักษณ์ ของประเทศไทย การจัดงาน "วันช้างไทย" ขึ้นเพื่อให้ประชาชนและเยาวชนได้เข้าใจและช่วยกันส่งเสริม และอนุรักษ์ช้างที่เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน   โดยจะให้เยาวชนได้มีกิจกรรมร่วมกับปางช้าง ต่างๆ จะได้ตระหนักว่าเราควรจะอนุรักษ์และให้ความรักเขามากๆ จงช่วยกันอย่าให้เลือนหายไปจากความทรงจำของประเทศไทยเรา…" 1.เก็บรวบรวมตำราและความรู้เกี่ยวกับช้างเผือก การทำโครงการช้างในราชสำนัก เพื่อเก็บรวบรวมตำราและความรู้เกี่ยวกับช้างเผือก ช้างสำคัญ ช้างกับพระราชพิธี ช้างศึก การทำทะเบียนประวัติช้าง เพื่อเก็บข้อมูลที่มีรายละเอียดและมีความแม่นยำสูง นำมาใช้ในการวางแผนงานและจัดกิจกรรม รวมถึง การออกแบบสอบถาม เพื่อเก็บรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้เลี้ยงช้าง เจ้าของช้าง ประชาชนทั่วไป และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง 2.โครงการตามช้างจากห้องสมุด โครงการตามช้างจากห้องสมุด เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีการบันทึกเกี่ยวกับช้าง ทั้งช้างป่า และช้างบ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนติดตามไปยังแหล่งที่หนังสืออ้างถึง ทั้งนี้การค้นหาจะครอบคลุมถึงช้างในวัฒนธรรมด้วย การแสวงหาความร่วมมือ เกี่ยวกับข้อมูลช้างในระดับภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับ ตลอดจนประเทศที่มีการบันทึกเรื่องราวครั้งที่เข้ามาติดต่อกับไทยแต่โบราณ 3.โครงการสำรวจช้างป่าทั่วประเทศ โครงการสำรวจช้างป่าทั่วประเทศโดยละเอียดเช่น ศึกษาความหนาแน่นและโครงสร้างประชากรของช้างในพื้นที่นั้นๆ ตลอดจนติดตามการเปลี่ยนแปลงและ พฤติกรรม การประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ เพื่อออกเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโดยตรงต่อนิสิต นักศึกษา นักเรียน ตลอดจนประชาชนทั่วไป การข่าวแจก เพื่อเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อมวลชนทุกชนิด 4.การทัศนะศึกษาหมู่บ้านช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เยี่ยมชมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสช่วยช้างโดยตรงได้ โครงการอาหารสำเร็จรูป เพื่อช่วยช้างที่มีความจำเป็นต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมให้มีโอกาสได้รับเอกสารครบถ้วนเหมือนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ 5.โครงการสัตวแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อช่วยช้างที่ได้รับบาดเจ็บหรือล้มป่วยในถิ่นที่ขาด แคลนวัคซีนและสัตวแพทย์ ได้มีโอกาสรักษารักษาโดยทั่วถึง บัตรสุขภาพ เพื่อเปิดโอกาสให้ช้างทุกเชือกมีโอกาสรับวัคซีนได้ครบถ้วน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือเสียเพียงเล็กน้อย และเพื่อเปิดโอกาสให้ช้างได้มีชีวิตหรือทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติปรับปรุงกฎหมายช้าง เพื่อแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายเกี่ยวกับช้างที่ล้าสมัยหรือมีข้อบกพร่อง ฯลฯ

ดูข่าวต้นฉบับ