ไลฟ์สไตล์

น่ารู้แต่ไม่น่าทำตาม! 5 เหตุผลที่ “คนร้าย” กลายมาเป็น “ต้นแบบ” ของคนบางคน - จุดประเด็น

LINE TODAY
เผยแพร่ 12 ก.พ. 2563 เวลา 17.44 น. • AJ.

หลังเหตุการณ์กราดยิงที่โคราช ดูเหมือนชาวเน็ตยังต้องรับมือกับ “นักเลียนแบบ” ที่พากันโพสต์ข้อความข่มขู่เข้าข่ายก่อการร้าย ซึ่งเจตนาก็แน่นอนว่าไม่น่าจะดี โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สังคมเพิ่งผ่านพ้นเรื่องราวสุดหดหู่และน่าเศร้ามาแบบแผลยังไม่ทันแห้ง ทำไมคนบางกลุ่มจึงเลือกเอาน้ำมันไปราดลงบนกองไฟ สร้างความกังวลให้ผู้คนไม่เลิกรา?

ผลวิจัยที่ตีพิมพ์ใน USA Today บอกเราว่าเหตุการณ์การกราดยิงนั้น เปรียบได้กับไข้หวัด แต่แทนที่จะจามหรือไอใส่คนอื่นเพื่อส่งต่อเชื้อหวัด สื่อและอิทธิพลของคนร้ายต่างหาก ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้คนบางคนเลียนแบบพฤติกรรมของคนร้ายแทน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ส่วนหนึ่งของผลวิจัยบอกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของเหตุการณ์กราดยิงในโรงเรียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะกรณีที่มีเหยื่อเสียชีวิตมากกว่า 3 - 4 คน มักเกิดหลังจากเหตุการณ์กราดยิงก่อนหน้า โดยอาจกินระยะเวลาประมาณ 13 วันหรือน้อยกว่านั้น

เมื่อเสพข่าวสารเยอะเข้า เป็นธรรมดาที่หลายคนจะรู้สึกกลัว หดหู่ หรือเศร้าใจ แต่ก็มีคนอีกจำนวนหนึ่งที่รู้สึกเหมือนได้รับแรงบันดาลใจ คนพวกนี้จะไม่รู้สึกตกใจ แต่กลับรู้สึกเหมือนถูกกระตุ้นแทน

นักวิชาการได้แยกคนที่รู้สึก “ดี” กับเหตุการณ์กราดยิงเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มนักค้นคว้า (สนใจเหตุการณ์ ชอบสืบ ชอบค้นคว้าข้อมูลของผู้ก่อเหตุโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็น Resouce หลัก) กลุ่มแฟนคลับ (ชื่นชอบในตัวผู้ก่อเหตุ อาจหลงรัก และอยากมีสัมพันธ์กับผู้ก่อเหตุ) และกลุ่มสุดท้าย ที่มีแนวโน้มจะก่อเหตุตามคนร้ายจริง ๆ ก็คือ “นักลอกเลียนแบบ" นั่นเอง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
*ภาพประกอบจาก unsplash.com ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์จริงใด ๆ ทั้งสิ้น

1. เรียกร้องความสนใจ

แฟรงค์ ฟาร์ลีย์ (Frank Farley) นักจิตวิทยา บอกกับ Business Insider ว่า

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“ชีวิตคนส่วนมากไม่ได้เร้าใจเหมือนในหนัง ถึงมีกล้องมาถ่าย ชีวิตหลาย ๆ คนก็ไม่ใช่เรื่องน่าสนใจอะไร ดังนั้นการสร้างข่าวให้ผู้คนตื่นตูม จึงเป็นอีกหนทางในการอิมแพ็กสังคมให้เกิดความกลัว และเพ่งจุดสนใจมาที่ตัวเองได้”

2. กลัวไม่มีส่วนร่วม

แฟรงค์ยังบอกเพิ่มว่ามนุษย์หลาย ๆ คนมักจินตนาการถึงการทำเรื่องโหดร้ายอยู่แล้ว แม้จะไม่ได้ลงมือทำจริงก็ตาม คนจำพวกมนุษย์เลียนแบบนี้ จะมีความคิดว่า “เพราะฉันไม่ได้ลงมือทำไง คนอื่นถึงทำไปก่อน” ดังนั้นคนเหล่านี้จึงเลือกโพสต์ข้อความข่มขู่ ทำพฤติกรรมเลียนแบบ เพื่อจะได้รู้สึกไม่พลาด รู้สึกมีส่วนร่วม และอย่างน้อยก็ได้ลงมือทำอะไรจริงจังเสียที

3. อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต

จุดร่วมที่คนร้ายและนักเลียนแบบมี อาจเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมรุนแรงคือการเปลี่ยนแปลง เช่น ตกงาน เลิกรากับคนรัก ที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมแบบกะทันหัน ซึ่งรวมถึงการทำร้ายตัวเองและการสร้างความรุนแรง ซึ่งนักเลียนแบบบางคนอาจศึกษาวิธีการของคนร้าย เพื่อนำมาต่อยอดในแผนการของตัวเองด้วย

4. มี “เครื่องมือ”

นอกจากเจตนาร้ายแล้ว อีกสิ่งที่นักเลียนแบบและคนร้ายมักจะมีเหมือนกันคือ “โอกาส” โดยนักวิชาการของ The Violence Project (เว็บไซต์ที่รวบรวมสถิติการกราดยิง) เคยเขียนไว้ใน Los Angeles Time ว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของมือปืนกราดยิงในอเมริกา ได้รับอาวุธก่อเหตุมาจากคนใกล้ตัว

5. หลงใหลใน “ฉายา”

ฆาตกรต่อเนื่องกี่คนแล้วในโลก ที่ถูกตั้งชื่อ “สุดเท่” ให้ดูน่าเกรงขาม อาทิ แจ็ก เดอะริปเปอร์ หรือ ซันออฟแซม ชื่อเหล่านี้ส่งผลต่อจิตใจวัยรุ่นและคนหัวอ่อนที่ต้องการมีชื่อเสียงในระยะสั้น ๆ โดยไม่คำถึงผลที่ตามมา

การตั้งฉายา หรือแม้กระทั่งการเปิดเผยชื่อจริงของคนร้าย อาจเป็นการให้ความสำคัญกับฝั่งอธรรม แทนที่จะจดจำชื่อและชะตากรรมของเหยื่อ ที่ว่ากันตามหลักศีลธรรมแล้ว ควรได้รับการระลึกถึงมากกว่าหลายเท่า

เลียนแบบ #กราดยิง มีโทษทางกฎหมาย

เลียนแบบ #กราดยิง มีโทษทางกฎหมาย

เลียนแบบ #กราดยิง มีโทษทางกฎหมาย

ขอย้ำเตือนและวิงวอนให้สังคมตระหนักรู้ ว่าการเลียนแบบพฤติกรรมของคนร้ายในเหตุการณ์กราดยิงมีโทษ! โดย พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานแห่งชาติ กล่าวว่า การโพสต์ในลักษณะดังกล่าวมีความผิดทางอาญา ฐานทำให้ผู้อื่นตกใจ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท และมีความผิดฐานนำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงฯ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ไม่โพสต์ความรุนแรง ไม่ปลุกปั่นความเกลียดชัง ไม่ให้ค่ากับฝ่ายอธรรม และระลึกเสมอว่าเพียงกดโพสต์และแชร์ก็สามารถสร้าง “โรคก่อการร้ายระบาด” ได้ แม้จะเล็กน้อย แต่ชาวเน็ตอย่างเราก็เป็นส่วนหนึ่งของการตัดวงจรก่อการร้ายได้นะ เริ่มต้นจากคีย์บอร์ดของคุณนี่แหละ

อ้างอิง

1 / 2 / 3 / 4 /5

ความเห็น 85
  • MUA Inc.
    พระพุทธเจ้าอธิบายเป็นสัจธรรมเข้าถึงเหตุกว่านักวิชาการพวกนี้แบบคนละระดับเลย “ท่านสอนให้รู้ทุกข์ ให้รู้เหตุ ให้รู้วิธีและเครื่องมือดับทุกข์” บอกครบเลย ผู้นำสมัยนี้มันไม่ให้ค่าเหมือน ในหลวง ร.9ที่ท่านพยายามรักษาและเผยแพร่คำสอนพระพุทธเจ้ามาตลอด บ้านเมืองก็เสื่อมตามคนมันเสื่อมนี่แหละมีปัญหาก็แก้ด้วยการก่อปัญหาใหม่ เพราะคนไทยเมืองพุทธยุคนี้ไกลคำสอน มากมายเหลือเกิน ประเทศไทยจะเจริญทางโลกมากขึ้นจริง และจะตามมาด้วยเรื่องร้ายๆสารพัดที่พวกชาติเจริญแล้วพบเจอแต่ไทยยังไม่เคยเจอ
    12 ก.พ. 2563 เวลา 20.50 น.
  • tung tung
    ขาดศรัทธาจากการทำความดี....จึงประชดสังคม...ผู้ปกครองต้องสร้างมาตรฐานและรักษาความยุติธรรม...แสดงให้ประชาชนเห็นให้ความเชื่อมั่น...สังคมจึงจะมีความหวัง...ครอบครัวต้องใส่ใจกันและกัน....
    12 ก.พ. 2563 เวลา 23.38 น.
  • Ant
    ปิดกั้นข่าวบางตอนออกไปเลย เช่น ยอดผู้เสียชีวิต อาวุธที่คนร้่ายใช้ ชื่อคนร้่าย หรือ ขัอมูลอะไรก็แล้วแต่ ที่ไม่ควรเผยออกมา เมื่อสังคมไม่รู้แหล่งที่มา ไม่รู้แล้วจะเลียนแบบใคร
    12 ก.พ. 2563 เวลา 23.06 น.
  • อีกหนึ่งสาเหตุคือสื่อและเกรียนคีย์บอร์ดสร้างความชอบธรรมในการก่อเหตุให้คนร้าย คือขุดคุ้ยนำเสนอต้นเหตุของการก่อเหตุและแสดงความเห็นอกเห็นใจคนร้าย ทำให้คนที่ตกอยู่ในสภาวะเดียวกับคนร้าย รู้สึกเหมือนเป็นพวกเดียวกัน จึงทำให้เกิดความคิดที่ว่า ในเมื่อเราถูกกดดัน เอารัดเอาเปรียบ เหมือนกันกับคนร้าย เราก็ทำแบบนี้ได้ เพราะยังมีคนมาเห็นอกเห็นใจและให้ความสนใจ การนำเสนอสาเหตุของการก่อเหตุไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่ควรอยู่ในความพอดี ไม่แสดงความเห็นอกเห็นใจคนร้าย และควรประนามการกระทำ
    13 ก.พ. 2563 เวลา 02.12 น.
  • Lex
    คดีที่เด็กมัธยมขโมยปืนพ่อยิงเพื่อนที่โรงเรีียนก็เรียนรู้มาจากเกมส์จากการ์ตูนนะคร้บ ทีเมืองนอกเค้าเซ็นเซอร์การ์ตูนกันก็มองว่ารอบคอบดี แต่พอไทยเอามาทำบ้างก็ด่าว่าคร่ำครึ
    13 ก.พ. 2563 เวลา 01.11 น.
ดูทั้งหมด