ไลฟ์สไตล์

ก่อนเรียกประเทศ “สหรัฐอเมริกา” คนไทยเรียกว่าอะไรบ้าง? แล้วชื่อนี้ใช้เมื่อใด?

ศิลปวัฒนธรรม
อัพเดต 15 ธ.ค. 2564 เวลา 01.57 น. • เผยแพร่ 15 ธ.ค. 2564 เวลา 01.34 น.
จอร์จ วอชิงตัน ลงนามในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา (ภาพจาก https://www.aoc.gov)

ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นชื่อที่คุ้นหูและใช้กันมาจนเคยชิน แต่นี่คือ 5 ชื่อที่คนไทยแปลจากภาษาอังกฤษที่ว่า The United State of America ซึ่งในบทความเรื่อง “ประธานาธิบดีแห่งกรุงสยาม” ที่เอกลักษณ์ ไชยภูมิ เขียนไว้นั้น มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึงการแปลชื่อของประเทศสหรัฐอเมริกาในอดีตที่ผ่านมาไว้ดังนี้ (จัดย่อหน้าใหม่ และเน้นคำโดยผู้เขียน)

“ผู้ที่พยายามแปลชื่อประเทศอเมริกาขึ้นเป็นคนแรกๆ คือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาท กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ โดยทรงแปลว่า ประเทศรวมแห่งอเมริกา

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เปลี่ยนมาใช้คำว่า ‘สหกรณรัฐอเมริกา’**

แต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระอุปัชฌาย์จารย์ของพระองค์ทรงเห็นว่าน่าจะใช้คำว่า ‘สหการีรัฐอเมริกา’* จะดีกว่า*

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงรับมา แต่ยังเห็นว่า คำว่า ‘การี’ ฟังดูไม่เหมาะสม เนื่องจากไปพ้องกับคำว่า ‘กาลี’ แบบกาลีบ้านกาลีเมือง ประกอบกับการที่คนไทยเรามีนิสัยรักสนุกชอบแผลงและเทียบเคียงคำ ทำนอง “ฉะนี้” ให้กลายเป็น “ชะนี” เช่นนี้มาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

พระองค์จึงเปลี่ยนไปใช้คำว่า สหปาลีรัฐอเมริกา แทน สหการีรัฐอเมริกาโดยคำว่าสหปาลีรัฐอเมริกาที่ว่านี้ ถูกใช้อย่างแพร่หลายเรื่อยมา

จนกระทั่งหลังการปฏิวัติใน พ.ศ. 2475 หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ (พระยศในขณะนั้น) ได้บัญญัติคำๆ ใหม่ขึ้นมาใช้แทน คือคำว่า สหรัฐอเมริกาอันเป็นคำที่ยังคงใช้อยู่ตราบถึงทุกวันนี้”

ส่วนแต่ละชื่อข้างต้น เริ่มใช้ และเลิกใช้ไปเมื่อใด จะค้นหามานำเสนอในโอกาสต่อไป

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

ข้อมูลจาก

เอกลักษณ์ ไชยภูมี.  “ประธานาธิบดีแห่งกรุงสยาม” ใน, ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนตุลาคม 2563

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 19 มกราคม 2564

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • Sukrit R. [42456]
    *The United States of America *เผยแพร่ในระบบออนไลน์
    19 ม.ค. 2564 เวลา 16.57 น.
ดูทั้งหมด