ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เลี้ยงปลาผสมผสาน ต้นทุนต่ำ ผลตอบแทนสูง

เทคโนโลยีชาวบ้าน
อัพเดต 29 ธ.ค. 2565 เวลา 04.01 น. • เผยแพร่ 01 ม.ค. 2566 เวลา 21.50 น.

ป้าละมาย วงษเสถียร เจ้าของกระชังปลาในบ่อดิน แห่งตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ซึ่งมีรูปแบบการเลี้ยงปลากระชังในบ่อดินที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากใช้ต้นทุนในการเลี้ยงค่อนข้างน้อย อีกทั้งด้วยเหตุผลสองประการหลักๆ คือ การใช้ขนมคบเขี้ยว อาธิ มาม่า ขนมปัง เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงปลา และในระหว่างเลี้ยงหรือจับปลาขายไม่เคยดูดน้ำทิ้งหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยง ทำให้สามารถเลี้ยงได้ตอลดทั้งปีโดยที่ไม่มีโรคเข้ามารบกวน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ป้าละมาย เริ่มเลี้ยงหันมาเพาะเลี้ยงปลากระชังในบ่อดิน ราวๆ ปี 54 ซึ่งป้าละมายเล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้าที่จะมาเลี้ยงปลา จะประกอบอาชีพรับชื้อเสื้อผ้ามือสองมาขายตามตลาดนัดแถวบ้านซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังทำอยู่ พอในช่วงต้นปี 52 หลานชายได้มาชื้อที่ดินแถวบ้านซึ่งเป็นที่ที่เจ้าของเดิมนั้นขุดเอาทรายไปขายทิ้งไว้แต่พื้นที่ที่เป็นบ่อ มีน้ำที่สะอาด สภาพแวดล้อมโดยรอบมีความอุดมสมบูรณ์ดี ป้าละมายเห็นว่าพื้นมีความเหมาะสมจึงตัดสินใจนำพื้นที่บางส่วนมาเพาะเลี้ยงปลาในกระชัง ควบคู่กับการขายเสื้อผ้ามือสอง โดยขณะนั้นความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลาไม่มี ลองผิดลองถูก สอบถามคนที่เลี้ยง และอาศัยประสบการณ์ในระหว่างเลี้ยงใช้ปรับปรุงระบบการเพาะเลี้ยงจนประสบความสำเร็จได้

“พื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร ปล่อยไว้เฉยๆ ก็เปล่าประโยชน์ จะเลี้ยงในบ่อดินก็ใช้ต้นทุนสูง เนื่องจากระบบการจัดการต้องใช้ทั้งแรงงานและต้องเลี้ยงในปริมาณมากๆ ถึงจะคุ้มทุน ดังนั้นจึงหันมาเปลี่ยนเลี้ยงในกระชังภายในบ่อแทน เนื่องจากใช้ต้นทุนน้อย ดูแลและบริหารจัดการได้ง่ายกว่าการเลี้ยงในบ่อดิน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เริ่มต้นเพียง 3-4 กระชัง นำปลาหลากหลายชนิด เช่น ปลานิล ปลาดุก ปลาสวาย ปลาเทโพ มาเลี้ยงอย่างละ 1 กระชัง โดยกระชังที่ใช้เลี้ยงจะทำจากวัสดุที่มีในธรรมชาติ ซึ่งจะใช้งานได้ประมาณ 2 รอบ เนื่องจากกระชังทำมาจากไม้ไผ่ หรือไม้ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น มาต่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสร้างเป็นกระชังปลา ขนาดประมาณ 3×5 เมตร ส่วนเนื้ออวนใช้ตาขนาดเล็กๆที่หาชื้อตามท้องตลาดมาเย็บตามขนาดความกว้างและยาวกระชัง

หลังจากเตรียมกระชังเสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะนำลูกปลาที่ผ่านการอนุบาลมาจากฟาร์มมาปล่อยลงในกระชัง ประมาณ 400-600 ตัว เดือนแรก ให้อาหารเม็ดสำเร็จรูป (อาหารปลาเล็ก) พอเข้าเดือนที่ 2 ก็จะเปลี่ยนมาเป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูป (อาหารปลาใหญ่) ไปจนถึงจับขาย ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน”

ป้าละมาย เลี้ยงปลามาได้ รุ่นแรก เริ่มจับจำหน่ายได้มาระยะหนึ่ง ซึ่งเมื่อนำรายได้ทั้งหมดจากการจับปลาขายมาหักลบกับต้นทุนที่ใช้โดยเฉพาะอาหารที่มีราคาแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สู้ราคาไม่ไหวจึงหันมาเปลี่ยนอาหารที่ใช้ต้นทุนต่ำแต่ปลาอิ่มและสามารถเจริญเติบโตเหมือนเดิม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“สู้ต้นทุนค่าอาหารไม่ไหว จากอาหารเม็ดสำเร็จรูปอย่างเดียว ก็เปลี่ยนมาให้ขนมปัง มาม่า ขนมคบเคี้ยวที่หาซื้อมาในราคาถูกจากห้างสรรพสินค้าที่ล้างสต๊อกสลับกับอาหารเม็ดสำเร็จรูป ซึ่งจะมีทุกๆเดือน โดยนำมาทำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ให้ปลากินวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น

หลังจากที่เปลี่ยนอาหาร จะคอยสังเกตุปลาตลอดเวลาว่าการเจริญเติบโตช้ากว่าอาหารเดิมหรือไมเพราะเนื่องจากมีปลาหลากหลายชนิดที่เลี้ยง แต่ด้วยระบบการเลี้ยงที่ไม่มีความแตกต่างกัน มีการดูแลและให้อาหารเหมือนกัน ผลที่ออกมาปลาสามารถเจริญเติบโตได้เหมือนกับอาหารเม็ดสำเร็จรูป และที่สำคัญเนื้อปลาแน่น หวาน ไม่คาว น้ำที่เลี้ยงไม่เสีย สามารถเลี้ยงปลาได้ตลอดทั้งปีโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำออก”

ผลการทดสอบสูตรอาหารปลาในช่วงรุ่นที่ 1 ทำให้ป้าละมายมองเห็นแนวทางการเลี้ยงปลาอย่างลดต้นทุนได้ จึงเริ่มขยายกระชังปลาเพิ่มขึ้น พร้อมกับพัฒนาการเลี้ยงตามแบบฉบับป้าละมาย โดยแต่ละปีจะเลี้ยงได้ทั้งหมด 3 รอบ รอบละประมาณ 3 รุ่น และแต่ละรุ่นจะไม่เร่งอาหารในช่วงที่ใกล้จับจำหน่าย แต่จะเน้นมาให้อาหารปลาที่ใช้ระยะเวลาเลี้ยงนานกว่าชนิดอื่น คือ ประมาณ 5 เดือนแทน ทำให้ต้นทุนค่าอาหารไม่สูงมากนัก

“ตอนนี้มีทั้งหมด 20 กระชัง เริ่มนำปลาเสดล ปลากราย เข้ามาเลี้ยงเพิ่มเติม ซึ่งจะได้ราคามากกว่าปลาที่เลี้ยงมา แต่ปลาอื่นๆ ที่เคยเลี้ยงก็ยังเลี้ยงอยู่ โดยเฉพาะปลาทับทิมและปลาดุก เนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาปานกลาง คนในชุมชนมีกำลังชื้อ มีผลผลิตออกไปจำหน่ายเท่าไหรก็ขายหมด ซึ่งแหล่งจำหน่ายและราคา หลักๆ จะขายอยู่ตามตลาดนัดในชุมชุน โดยราคาขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 50 บาท (4-5ตัว) ซึ่ง 1 กระชัง จะได้ปลาประมาณ 60-70 กิโลกรัม (3,000-3,500 บาท/กระชัง)”

สนใจระบบการเลี้ยงที่ใช้ตุ้นทุนต่ำแต่ได้ปลาคุณสภาพและปริมาณ สามารถสอบถามข้อมูลการเลี้ยงได้ที่ บ้านเลขที่ 27 หมู่ที่ 2 ตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

ดูข่าวต้นฉบับ