ไลฟ์สไตล์

ใช้ชีวิตอย่างไร..ไม่ให้ “ขาดทุน”

LINE TODAY
เผยแพร่ 05 มี.ค. 2561 เวลา 11.23 น. • Pimpayod

การใช้ชีวิตเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่การลงทุนทางธุรกิจ เพราะธุรกิจวัดกันที่ผลกำไรจากตัวเงิน แต่ชีวิตไม่ได้วัดกำไร-ขาดทุนกันที่เงินหรือรายได้ แต่วัดจากประสบการณ์และบทเรียนต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามา ซึ่งอาจจะเสียดุลไปบ้างแต่สิ่งที่ได้กลับมาก็ไม่อาจเรียกว่าขาดทุนเสียทีเดียว

จริงอยู่ที่คนเราเกิดมาต้นทุนไม่เท่ากัน บางคนเกิดมาบนกองเงินกองทอง ชีวิตก็มีแต่กำไร ในขณะที่บางคนเกิดมาไม่มีอะไรสักอย่าง เรียกว่ายังไม่ทันเริ่มต้น ชีวิตก็ติดลบซะแล้ว ซึ่งแม้สองคนนี้จะมีต้นทุนไม่เท่ากันก็ไม่ได้หมายความว่าจะกำไรหรือติดลบไปชั่วชีวิต เพราะอนาคตจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับปัจจุบันใช้ชีวิตแบบไหน 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

คนที่ต้นทุนติดลบก็มีโอกาสบวกได้ ส่วนคนที่กำไรก็มีโอกาสขาดทุนได้เหมือนกัน เพราะต้นทุนของแต่ละคนไม่ได้ชี้ชะตาไปชั่วชีวิต อนาคตต่อไปข้างหน้าชีวิตจะ "กำไร" หรือ "ขาดทุน" ก็ได้ 

แบบไหนที่เรียกว่ากำไรชีวิต

เรื่องธุรกิจถ้าอยากได้กำไรก็ต้องพยายามขายให้ได้มาก ๆ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น หรือจะลดต้นทุนการผลิต กระตุ้นยอดขาย แต่ถ้าเป็นการใช้ชีวิต ถ้าอยากให้มีกำไรก็ต้องสรรหาสิ่งต่าง ๆ เพิ่มเข้ามาให้ชีวิตดีขึ้นกว่าเดิม 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่ใช่ว่าชีวิตที่กำไรเท่านั้น ถึงจะเป็นชีวิตที่คุณค่า เพราะยังไงการใช้ชีวิตของคนเราก็ไม่มีคำว่าขาดทุน ต่อให้ต้องเจอกับความพ่ายแพ้ ผิดหวัง ล้มเหลวกี่ครั้งกี่หนก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่การขาดทุน หากแต่เป็นกำไรที่มาในรูปของประสบการณ์อันล้ำค่าให้เราได้เรียนรู้เพื่อใช้ชีวิตอย่างมั่นคงและเข้มแข็งต่อไป

ขาดทุนคือกำไร

ขาดทุนไม่ได้หมายความว่าต้องเสียหาย เสียเปรียบ หรือเสียสูญเสมอไป แต่บางทีการขาดทุนก็มีกำไรซ่อนอยู่ ดังเช่นพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ตรัสว่า…

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“ขาดทุนคือกำไร Our Loss is Our Gain การขาดทุนเป็นการได้กำไรของเรา นักเศรษฐศาสตร์คงค้านว่าไม่ใช่ แต่เราอธิบายได้ว่า ถ้าเราทำอะไรที่เราเสีย แต่ในที่สุด ที่เราเสียนั้นเป็นการได้ทางอ้อม ตรงกับงานของรัฐบาลโดยตรง เงินของรัฐบาลหรืออีกนัยหนึ่งคือเงินของประชาชน ถ้าอยากให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ก็ต้องลงทุนสร้างโครงการ ซึ่งต้องใช้เงิน เป็นร้อย พัน หมื่นล้าน ถ้าทำไปเป็นการจ่ายเงินของรัฐบาล แต่ในไม่ช้าประชาชนจะได้รับผล ราษฎรอยู่ดีกินดีขึ้น ราษฎรได้กำไรไป ถ้าราษฎรมีรายได้ รัฐบาลก็เก็บภาษีสะดวก เพื่อให้รัฐบาลได้ทำโครงการต่อไปเพื่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ ถ้ารู้รัก สามัคคี รู้เสียสละคือการได้ ประเทศชาติก็จะก้าวหน้า และการที่คนอยู่ดีมีสุขนั้น เป็นการนับเป็นมูลค่าเงินไม่ได้”

พระราชดำรัสดังกล่าวเป็นหลักการที่พระองค์พระราชทานให้พสกนิกรชาวไทย เพื่อให้ทุกคนตระหนักว่า “การให้” และ “การเสียสละ” เป็นกำไรไม่ใช่ขาดทุน 

เพราะฉะนั้น อย่าคิดว่าต้อง “กำไร” หรือ “ขาดทุน” อย่างเดียว ชีวิตไม่ใช่ธุรกิจ จะขาดทุนบ้างก็ได้ จะเสียเปรียบบ้างก็ดี ถ้าทำให้เราได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น หรือทำให้สังคมยกระดับสูงขึ้น หากเป็นเช่นนั้นชีวิตก็ไม่มีคำว่าขาดทุน

ความเห็น 13
  • Artie Headrock
    สิ่งสำคัญที่สุดคือใส่ใจในรายละเอียดในการทำธุรกิจและ..ใช้ชีวิตอย่างมี "สติ" อย่าขี้เกียจ! อย่าโลภ!
    05 มี.ค. 2561 เวลา 23.16 น.
  • WiTHX
    ชีวิตไม่พอเพียง
    05 มี.ค. 2561 เวลา 22.32 น.
  • Joe
    เยี่ยมมากๆ
    05 มี.ค. 2561 เวลา 22.49 น.
  • Siri Napat
    ให้ข้อคิดที่ดีมากค่ะ.......🙏
    05 มี.ค. 2561 เวลา 22.28 น.
  • ทุนดีๆบางทีก้อมาจากประสบการณ์ 🎗🎗
    23 ก.ค. 2561 เวลา 09.35 น.
ดูทั้งหมด