รายงานของ news.com.au สำนักข่าวออนไลน์จากออสเตรเลียเผยว่า ระหว่างการขุดสำรวจทางโบราณคดีที่เขตเชิงหยาง (Chengyang) ใกล้กับเมืองซินหยาง (Xinyang) มณฑลเหอหนานตอนกลางของประเทศจีน เมื่อ 12 ธันวาคม 2559 ได้มีการค้นพบซากภาชนะโบราณซึ่งภายในยังพบซากอาหารที่คาดว่าน่าจะเป็น “เกาหลาเนื้อ” เนื่องจากมีการพบกระดูกวัว และวัตถุดิบอื่นๆ
ขณะนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบโบราณวัตถุทั้งหมดที่เพิ่งค้นพบในครั้งนี้ และแม้ว่าจะยังไม่ได้ระบุอายุของมันเป็นที่แน่ชัด แต่การที่มันถูกพบในสุสานซึ่งอยู่ในยุคของรัฐโบราณแห่งแคว้นฉู่ซึ่งตั้งอยู่ในช่วง 700-200 ปี ก่อนคริสตกาล ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่ โบราณวัตถุรวมถึงซากเกาเหลาดังกล่าวจะมีอายุอย่างน้อยราว 2,000 ปี
ทั้งนี้ สำนักข่าวจากออสเตรเลียระบุว่า ข้อมูลทั้งหมดมาจากสถาบันด้านโบราณคดีประจำภูมิภาคของจีน ซึ่งได้เผยแพร่ภาพของเกาเหลาหน้าตาประหลาด (ในสายตาสื่อออสซี่) ผ่านทาง Weibo โซเชียลยอดนิยมของจีน
*หมายเหตุ เนื้อข่าวต้นทางที่เป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า “meat soup” ซึ่งคำว่า soup เป็นภาษาอังกฤษหมายถึงอาหารที่อยู่ในรูปของเหลว คาดว่าจะมีรากศัพท์จากภาษาฝรั่งเศสว่า soupe หรือละตินที่เรียกว่า suppa การแปลเป็นภาษาไทยจะใช้ทับศัพท์ว่า “ซุปเนื้อ” แทนก็สามารถทำได้ แต่การใช้คำว่า “เกาเหลาเนื้อ” ที่เป็นคำเรียก “อาหารจีน” ที่อยู่ในรูปของเหลวเช่นกัน [พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ฉบับของ เปลื้อง ณ นคร แปลว่า “แกงจีนเป็นลักษณะที่เรียกว่า แกงจืด”] น่าจะมีความเหมาะสมกับบริบทมากกว่า
เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์เมื่อ:16 ธันวาคม 2559
T🟡N จั่วหัวข่าวกับสรุปข่าวช่างต่างกันโดยสิ้นเชิง
20 ต.ค. 2562 เวลา 11.58 น.
นายสมชาย เดี๋ยวต่อไปหมดมุขคงค้นหาขี้แน่ สมัยก่อนเขาเอาเนื้อมาทำให้แห้ง ตำให้แหลก อัดเป็นก้อนเอาไว้ตอนเดินทางไกลหรือสงคราม เวลากินก็เอามาต้ม เหมือนสมัยก่อนเราทำข้าวตากเป็นสะเบียงกรังตอนเดินทางหรือไปสงคราม
20 ต.ค. 2562 เวลา 13.13 น.
หาญพล จิรภาสอารี มั่วซั่ว
20 ต.ค. 2562 เวลา 14.07 น.
โจโจ้ ช่วง 2,700 ถึง 2,200 ปีก่อน
ชาวฉู่ ประเทศจีน นิยมรับประทานเกาเหลาเนื้อแล้ว นับเป็นอารยธรรมด้านสุขภาพจริงๆ อาหารปรุงสุข รสชาติอร่อย
วัตถุโบราณ ที่เก็บรักษาโดยธรรมชาติ แห่งโลกโบราณ ของจีน
20 ต.ค. 2562 เวลา 10.26 น.
อาหารสมัยนั้น รสชาติเป็นจะเป็นอย่างไรนะ ย้อนเวลากลับไปกินได้ไหม
20 ต.ค. 2562 เวลา 10.23 น.
ดูทั้งหมด