ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“สุริยะ” เตรียมนำน้ำจากขุมเหมือง 150 ล้านลูกบาศก์เมตร รับมือภัยแล้งช่วยชาวบ้าน

ประชาชาติธุรกิจ
อัพเดต 05 ส.ค. 2565 เวลา 07.49 น. • เผยแพร่ 22 ก.ค. 2562 เวลา 10.15 น.

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาภัยแล้งในหลายพื้นที่ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงกำหนดมาตรการในการช่วยเหลือประชาชน โดยได้มอบหมายให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) จัดหาแหล่งน้ำจากขุมเหมืองทั่วประเทศ สำหรับช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง

โดยให้ประสานกับผู้ประกอบการเหมืองแร่หาแนวทางนำน้ำจากขุมเหมืองที่คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไปใช้ประโยชน์เพื่อช่วยบรรเทาและแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับประชาชน ส่วนน้ำจากขุมเหมืองที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้วและปิดกิจการไปแล้ว ให้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าของพื้นที่หาแนวทางนำน้ำจากขุมเหมืองไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งด้วยเช่นกัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปัจจุบันมีพื้นที่ประทานบัตรที่มีศักยภาพสามารถนำน้ำมาใช้แก้ปัญหาภัยแล้ง ไม่น้อยกว่า 200 แปลง มีปริมาตรน้ำไม่น้อยกว่า 150 ล้านลูกบาศก์เมตร กระจายอยู่ทั่วประเทศ จึงมอบหมายให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ไปสำรวจและประสานกับผู้ประกอบการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าของพื้นที่หาแนวทางนำน้ำในขุมเหมืองมาใช้แก้ปัญหาภัยแล้งให้เป็นรูปธรรม

ซึ่งที่ผ่านมาในบางพื้นที่มีการนำน้ำจากขุมเหมืองที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้วไปใช้เพื่อการอุปโภค แหล่งประมง และการทำเกษตรกรรมแล้วในหลายพื้นที่ อาทิ ขุมเหมืองของบริษัท ศิลาสานนท์ จำกัด อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ขุมเหมืองของบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ขุมเหมืองของบริษัท ศิลาน้ำยืน จำกัด ที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ขุมเหมืองของห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงโม่หินชุมแพรุ่งเรือง อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น และขุมเหมืองของบริษัท พิพัฒน์กร จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดตาก เป็นต้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การนำน้ำจากขุมเหมืองมาใช้ประโยชน์เพื่อช่วยบรรเทาและแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับประชาชน ถือเป็นการใช้ทรัพยากรด้านพื้นที่ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าสูงสุด รวมทั้งถือเป็นความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการเหมืองแร่กับประชาชนในการรับมือกับภัยแล้ง เพื่อการอยู่ร่วมกันของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และชุมชนได้เป็นอย่างดี” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวทิ้งท้าย

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 6
  • Nickiiiii
    มันปนเปื้อนหรือเปล่าทำเหมืองน่ะ คิดดีๆ
    22 ก.ค. 2562 เวลา 13.01 น.
  • Surapun
    เหมือง​ มักมีสารเคมีสารพิษตกค้างบานตะไท​ .. ศึกษาให้ดีเถิด
    22 ก.ค. 2562 เวลา 12.50 น.
  • mongkon(tiew)
    อือม์​ ได้ไม่หมดทั่วประเทศแต่ได้สัก20%ก็โอนะความคิดแบบนี้เป็นรูปธรรมมาก​ ๆ​ สนับสนุนเอาที่​ ต.ทากาศ​ ติด​ ต.ทาขุมเงินด้วย​ เหมืองร้างของ​ บ.ยูนิเวอร์แซล สมัยจอมพลถนอม​ มีเยอะเลย
    22 ก.ค. 2562 เวลา 12.18 น.
  • muimui
    เป็นความคิดที่ดี ช่วยกันหาทางออก หากฟื้นฟุ บำบัด น้ำให้ใช้ประโยชน์ได้ ดีกว่าไม่ทำอะไร.
    22 ก.ค. 2562 เวลา 23.50 น.
  • chokhd
    ไล่ออกหน่วยงานบริหารจัดการน้ำออกก่อนดีไหม. มันแก้ไขไม่ได้ก็ไล่มันออกเถอะ จะจ้างพวกมันไว้ทำไม นิหน้าฝนนะโว้ย บริหารยังไงขาดน้ำได้
    22 ก.ค. 2562 เวลา 15.20 น.
ดูทั้งหมด