ทั่วไป

ระบบการศึกษา-ทักษะแรงงาน ท้าทายดิจิทัลไทยแลนด์

ประชาชาติธุรกิจ
เผยแพร่ 18 ส.ค. 2561 เวลา 15.40 น.

นโยบายไทยแลนด์ 4.0 คือสิ่งที่รัฐบาลปักธงผลักดันอย่างจริงจัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมกับสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย (TFIT) จัดงานสัมมนา TFIT Forum 2018 ภายใต้แนวคิด “Embracing Digitalization to Empower Thailand’s Future” ฉายภาพการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

“ศุภชัย เจียรวนนท์” ประธาน TFIT กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลจะเกิดขึ้นกับทุกอุตสาหกรรมและทุกภาคส่วน ถ้ามองว่าเป็นวิกฤตก็คือวิกฤต จากการถูกดิสรัปต์หากปรับตัวไม่ทัน แต่อีกมุมคือโอกาสที่ยิ่งใหญ่ของไทยและทุกธุรกิจ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ขณะที่ TFIT กำลังปรับบทบาทสู่สภาดิจิทัลช่วยผลักดันการเปลี่ยนผ่านประเทศและอุตสาหกรรม ที่ลดความเหลื่อมล้ำและเสริมสร้างความแข็งแกร่ง โดยใช้ความสามารถของเทคโนโลยีดิจิทัล อาทิ ศักยภาพในการบริหารข้อมูล การสร้างงานใหม่ ๆ

โดยเม็ดเงินที่เกิดขึ้นในแต่ละอุตสาหกรรมยังเติบโตได้อีกมาก หากก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล อาทิ อุตสาหกรรมสมาร์ทดีไวซ์ที่จะเติบโตก้าวกระโดดด้วย IOT (อินเทอร์เน็ตออฟทิงส์) ไปถึง 1.1 แสนล้านบาท จากปัจจุบัน 1,560 ล้านบาท ขณะที่อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์จะโตถึง 2.1 แสนล้านบาท จาก 7.61 หมื่นล้านบาทในปัจจุบัน อุตสาหกรรมการบริการดิจิทัลจะขยับไปถึงกว่า 2.81 ล้านล้านบาท อุตสาหกรรมโทรคมนาคม 5.97 แสนล้านบาท อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ 5.01 หมื่นล้านบาท และอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ 2.19 หมื่นล้านบาท

ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายของประเทศไทยในการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งไทยมีจุดแข็งในหลายด้าน ในการจัดอันดับ IMD World Competitiveness Rank 2018 ไทยขยับมาอยู่ในอันดับที่ 39 จากทั้งหมด 63 ประเทศที่มีการสำรวจ แม้จะถือว่าสอบผ่าน แต่จำเป็นต้องตั้งเป้าเพื่อการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นผู้นำ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยเมื่อเจาะลึกลงไปพบว่า ขนาดของเศรษฐกิจหรือมูลค่า GDP ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 26 ความพร้อมด้านเทคโนโลยีอยู่ในอันดับ 28 ความใฝ่รู้ขององค์กรภาคเอกชน-พนักงานอยู่ในอันดับที่ 12 ถือว่าค่อนข้างดี แต่ที่น่าวิตกคือความพร้อมในการปรับตัวสู่อนาคต อยู่ในอันดับที่ 49 ทั้งยังมีจุดอ่อนด้านการทักษะดิจิทัลของแรงงานที่ค่อนข้างต่ำอยู่ในอันดับที่ 52 รวมไปถึงการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทยจะมีค่อนข้างสูง

“ถ้าระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอุดมศึกษาและอาชีวะ สามารถเริ่มสร้างศักยภาพทางด้านการบริหารข้อมูล การเชื่อมโยง การวิเคราะห์ข้อมูล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะด้านออโตเมชั่น นี่จะเป็นพื้นฐานใหม่ ถ้าสามารถรีสกิลทักษะแรงงานใหม่ที่กำลังจะเข้ามาสู่ตลาดได้ ประเทศไทยจะมีศักยภาพแบบก้าวกระโดดด้านทรัพยากรมนุษย์ นี่คือสิ่งที่ต้องทุ่มเท ควบคู่ไปกับการเตรียมองค์กรเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล”

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 17
  • tham 78 . 5 . (1)
    รัดสาด เสดสาด บริหาน นิติ คุรุ สึกสา เรียนไปตกงาน ยุคนี้ต้องสายวิด อาชีวะ ดิจิตอล หุ่นยน ระบบอัตโนมัติ ไม่เรียนรู้สึกสาสิ่งใหม่ๆ มหาลัยเฮงซวย สอนให้เด็กเต้นเชียลีดเดอ เด้าหน้าเด้าหลัง แต่งตัวกะโปงสั้น เสื้อรัดติ้วบาง รพหว่างเรียนก็โพสขายหอย
    19 ส.ค. 2561 เวลา 01.32 น.
  • ซากาฯ
    การศึกษาไทยลองผิดลองถูกมาตลอด สอนตามหลักสูตรฯล้าหลังไปเปิดดูสิในหนังสือสอนเรียน.ดู วดป.ที่พิมพ์ครั้งแรก สอนรุ่นสู่รุน ครูคนเดียวกันสอนหลักสูตรฯเนื้อหาเดิมๆ ตลอดชีวิตการสอน แล้วจะเกิดการพัฒนาได้ยังไง.
    19 ส.ค. 2561 เวลา 02.28 น.
  • Sirichat
    ลดegoอย่าเอาชนะกันคุยด้วยเหตุปลหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกหลานเพื่อความมั่นคงของชาติอย่าลืมว่าเราเป็นคนกำหนดทุกอย่างอย่าทำร้ายตัวเองด้วยกฏเกณฑ์ที่สามารถปรับได้ทุกปัญหามีทางออกด้วยสติปัญญาหากมีการเรียนรู้
    19 ส.ค. 2561 เวลา 03.15 น.
  • ยิ่งเรียน ยิ่งโง่ ฉลาดแต่ใน หนังสือ โลกไปถึงไหนแล้ว ชีวิตอยู่แต่ใน โทรศัพย์ ทำอะไรไม่เป็น ขี่เกียต หัวสูง เขียน ภาษาไทย ผิดๆ ภาษาอังกฤษ พูดก็ไม่ได้ สู้ คนเรียนจบ ป.4 สมัยก่อน ไม่ได้เลย ห่วยแตก
    19 ส.ค. 2561 เวลา 04.00 น.
  • yui
    ไม่เคยคิดนอกกรอบให้มันพัฒนาเลยจริงๆ สิ้นหวังกับการศึกษาไทยไปตั้งนานแล้ว
    19 ส.ค. 2561 เวลา 03.18 น.
ดูทั้งหมด