สุขภาพ

ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน จากกรรมพันธุ์ ป้องกันรักษาได้หรือไม่?

PPTV HD 36
อัพเดต 03 ก.ค. เวลา 02.39 น. • เผยแพร่ 03 ก.ค. เวลา 02.29 น.
ปัญหาเส้นผมร่วง ผมบาง ส่วนใหญ่ เกิดจากกรรมพันธุ์ โดยกระตุ้นจากสภาพแวดล้อมและฮอร์โมนเพศเป็นตัวการ แนะวิธีการรักษา!

จากสถิติพบว่าร้อยละ 90 ปัญหาผมร่วงเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือ ผมร่วงที่เกิดจากกรรมพันธุ์ androgenetic alopecia (AGA) เกิดขึ้นจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอาจเป็นแบบยีนเด่นบนโครโมโซมร่างกาย คือ มีประวัติครอบครัวที่มีศีรษะล้าน การศึกษาเชื่อว่าสาเหตุทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น ความเครียด และมลภาวะ สามารถเป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดภาวะผมบางได้ โดยมีความสัมพันธ์กับกับฮอร์โมนเพศชายที่ชื่อ แอนโดรเจน เนื่องจากฮอร์โมนนี้เป็นตัวกําหนดวงจรและควบคุมการเติบโตของเส้นผม

ผมบาง ศีรษะล้าน เกิดจากอะไร? ผมร่วงแบบไหนผิดปกติต้องรีบรักษา!

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ความเครียด-โรคจิตเวช กระตุ้นการหลุดร่วงของเส้นผม วิธีชะลอผมบางเพิ่ม

โดยผู้ป่วยจะเกิดอาการรากผมค่อยๆ เปลี่ยนแปลงจากผมเส้นใหญ่ไปเป็นเส้นผมเส้นเล็ก ถ้าเกิดในผู้ชายผมจะบางลงมากในบริเวณกลางศีรษะ ส่วนผู้หญิงผมจะบางลงบริเวณกลางศรีษะเช่นเดียวกัน แต่จะไม่ล้านเตียนโล่งแบบผู้ชาย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สาเหตุของภาวะผมบ้างศีรษะล้านจากพันธุกรรม

  • ฮอร์โมนเพศชายที่เพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ฮอร์โมนเพศชาย หรือ Testosterone จะเร่งให้อายุเส้นผมบริเวณขมับเหนือหน้าผากและกลางกระหม่อมสั้นลง เส้นผมหลุดร่วงเร็วขึ้น ในเพศชายที่มีพันธุกรรมศีรษะล้านพบว่า ต่อมผมจะมีเอนไซม์ 5a-reductase ชนิดที่ 2 ที่สามารถย่อย Testosterone เป็น Dihydrotestosterone (DHT) ซึ่งมีฤทธิฮอร์โมนชายแรงกว่า Testosterone เดิม ทำให้ผมบริเวณนี้ ผลัดก่อนกำหนด โดยเส้นผมจะบางและสั้นลงตามลำดับชุดของเส้นผมและต่อมผมจะฝ่อลงไปในที่สุด
  • พันธุกรรมถ่ายทอดเป็นยีนเด่น พันธุกรรมอาจเป็นตัวกำหนดลักษณะของต่อมผม พบว่าเซลล์รากผมบริเวณขมับและกลางกระหม่อมจะมีจำนวนตัวรับสำหรับฮอร์โมนเพศชาย (Androgen receptor) สูงกว่าบริเวณท้ายทอยถึง 1.5 เท่า ทำให้เส้นผมเกิดการหลุดร่วงและบางลงตามลำดับ
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น ภาวะที่มีการอักเสบของหนังศีรษะอย่างต่อเนื่องอาจทำให้มีผมร่วงมากขึ้นได้ เช่น ภาวะหนังศีรษะอักเสบจากเชื้อยีสต์ภาวะทุพโภชนาการ หรือแม้กระทั่งแสงแดดและความเครียด

ผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากอะไร ทำไมรักษาหายแล้วยังมีอัตราการเกิดซ้ำสูง?

การรักษาภาวะผมบางชนิดนี้มีหลายวิธี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
  • Minoxidil มีทั้งชนิดทาและรับประทาน ไม่เหมาะที่จะให้ผู้หญิงรับประทาน เพราะจะทำให้ขนตามตัว หนวด เครายาวผิดปกติ ในผู้หญิงควรใช้ยานี้ในรูปยาทาเท่านั้น
  • ยา Finasteride 1 mg/day ผู้ป่วยต้องใช้ยาติดต่อกันนานอย่างน้อย 1 ปี และเมื่อได้ผลแล้วต้องใช้ยาต่อไป เพราะถ้าหยุดยา ผมที่งอกขึ้นมาจะกลับบางลงเหมือนเดิม (ยาชนิดนี้ไม่ได้ผล ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว)
  • ยา Spironolactone เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้ลดความดันเลือด มีฤทธิ์ต้านการทำงานของฮอร์โมน Androgen ทำให้เส้นผมไม่เปลี่ยนไปเป็นเส้นผมขนาดเล็ก แต่การใช้ยาชนิดนี้ ต้องติดตามดูความดันเลือดและระดับเกลือแร่ในเลือดเพื่อป้องกันผลข้างเคียงของยา

อาการผมร่วงจะค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่วัยหนุ่มและเด่นชัดมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ในคนไทยมักพบอาการผมบางแบบพันธุกรรมในผู้ชายอายุระหว่าง 18-90 ปี และมีอุบัติการณ์สูงถึงร้อยละ 38.5 และคนเอเชียส่วนใหญ่มักเกิดอาการผมบางบริเวณกระหม่อมศีรษะ

อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้รับประทานยานี้เพื่อกระตุ้นการงอกของเส้นผม เนื่องจากยาชนิดรับประทานมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ดังนั้นการซื้อยามารับประทานเองนอกเหนือการดูแลของบุคลากรทางการแพทย์อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ ผู้ป่วยมักมีอาการวิงเวียน การมองเห็นพร่ามัว หน้ามืด แต่หากรับประทานยาในขนาดสูงเกินไป จะส่งผลให้ระดับความดันโลหิตลดต่ำลงมากจนอาจหมดสติได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 2,โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล

วิตามิน แร่ธาตุ เสริมการทำงานเคราติน บำรุงเส้นผมและเล็บให้แข็งแรงขึ้น

"ลดน้ำหนักผิดวิธี" หนึ่งสาเหตุของผมร่วง เสี่ยงศีรษะล้าน!

ดูข่าวต้นฉบับ