เมื่อวันก่อน เราได้เข้าร่วมสัมมนาเรื่องเกี่ยวกับ Sex Trafficking หรือการค้าประเวณีที่มีกันให้เห็นอยู่ทั่วโลก การสัมมนานี้จัดโดยองค์กรชื่อ ECPAT ดำเนินรายการโดยคุณ Kristen Haines
ทำให้เรามีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นเยอะเลย
การค้าประเวณีอย่างผิดกฎหมาย
หลายคนอาจนึกถึงกระบวนการเหล่านี้ ด้วยภาพที่เริ่มจากความรุนแรง
ไม่ว่าจะเป็นการลักพาตัว ลอบทำร้าย ข่มขู่เหยื่อให้ไม่มีทางสู้ จนต้องยอมร่วมเข้ากระบวนการ
แต่ในความเป็นจริงแล้ว
วิธีอันเป็นที่นิยม ที่ผู้ค้าใช้หลอกล่อเหยื่อให้มาร่วมกระบวนการ
ส่วนใหญ่เกิดจากความ ‘โรแมนติคที่จอมปลอม’
กล่าวคือ เดี๋ยวนี้การมีโซเชียลมีเดีย ทำให้ชีวิตสะดวกขึ้นก็จริง แต่ก็เปิดโอกาสให้คนที่หลอกล่อ ได้ศึกษาเหยื่อให้ละเอียดมากขึ้น จากการ ‘บ่น/ระบาย’ ของเหยื่อผ่านสเตตัสในสื่อของเจ้าตัว เมื่อคนที่พร้อมจะหลอกล่อ พอจับประเด็นได้แล้วว่า ผู้หญิงคนนี้ มีการโพสต์ก่นด่าแม่ของตัวเองบ่อยครั้ง แม่ไม่ตามใจบ้าง แม่ไม่เคยเข้าใจบ้าง ผู้เริ่มกระบวนการก็จะพยายามเข้าไปตีสนิทด้วยบทบาท ‘เพื่อนใหม่ที่เข้าใจ’ และยิ่งจับไต๋ได้ว่า เหยื่อคนไหนมักโพสต์ที่ให้ความรู้สึกเรียกร้องความสนใจ การตีสนิทจากผู้เริ่มกระบวนการก็จะออกไปในทางหว่านล้อม โปรยคำหวานให้เหยื่อหลงดีใจ ว่าในที่สุดก็มีใครเห็นตัวเองมีตัวตน มีคนเห็นค่า มีคนชมชอบและรู้สึกได้รับการดูแลอย่างดี
ซึ่งระหว่างการหว่านล้อมเพื่อนำไปสู่การหลอกล่อนี้ แน่นอนว่า ไม่มีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองที่ไหนมาอยู่ในสายตาแน่ๆ เพราะจุดนี้ เด็กกำลังเห็นผู้ปกครองเป็นศัตรูอยู่ จึงไม่มีทางที่จะนำเรื่องนี้ไปบอกพ่อแม่ –การนัดเจอกับผู้ร่วมกระบวนการก็จะเกิดขึ้น และหลังจากนั้น เหยื่อก็ยากที่จะถอยหนีซะแล้ว
สิ่งที่ทำให้การหลอกล่อด้วยวิธีนี้ง่ายขึ้นไปอีก
คือเหยื่อที่พวกเขาหมายปองนั้น มักมีอายุน้อยลงทุกวัน เด็กยังไม่มีวุฒิภาวะมากพอเกี่ยวกับเรื่องราวที่สมเหตุสมผลตามกรอบของสังคมผู้ใหญ่
‘เป็นแฟนกันนะ’ –การวาดภาพความผูกพันธ์เพื่อเพิ่มคุณค่าทางใจระหว่างผู้หลอกล่อและเหยื่อ สามารถทำได้แบบเนียนๆ โดยให้เหยื่อตายใจและคิดว่าตัวเองนั้นเป็นคนสำคัญที่พิเศษ
‘นี่คือสิ่งที่แฟนทำให้กัน นี่คือสิ่งที่คนรักกันต้องทำเพื่อกันและกัน’ มักเป็นคำพูดที่ต้อนให้เหยื่อจนมุม เมื่อถูกบังคับให้ค้าประเวณี เหยื่อเกิดความสับสน โกรธแค้น แต่ในขณะเดียวกันก็หมดทางสู้และหาทางออกไม่ได้จนต้องยอมจำนน
เด็กรุ่นนี้ เปิดรับโซเชียลมีเดียเร็วกว่ารุ่นก่อนๆ มาก
เพราะเกิดมา ก็เจอกับสื่อต่างๆ ที่อยู่รอบตัวตลอดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้ปกครอง คอยจ่อกล้องมือถือไปที่ลูกตลอดเพื่อรุมถ่ายด้วยความเอ็นดู หรือจะเป็นการเล่นโซเชียลมีเดียเพื่อ ‘ฆ่าเวลา’ เบื่อ
เด็กยุคนี้ ไม่ได้รู้สึกว่า โซเชียลมีเดีย เป็นของไกลตัวหรือของแปลกหน้าแล้ว เด็กรู้สึกคุ้นชิน ไม่เขินอายกับมัน และพร้อมจะผจญภัยไปกับโลกโซเชียลมีเดียนี้เต็มที่
หนึ่งแอพพลิเคชั่นที่ทั้งเด็กและวัยรุ่นติดกันมากมายจนกลายเป็นแอพที่มีคนโหลดมากเป็นอันดับหนึ่งในปีนี้ และมีผู้ใช้กว่า 150 คนทั่วโลกก็คือ TikTok นั่นเอง!
ผลสำรวจบอกว่า
อายุผู้ใช้งานมากที่สุด อยู่ในกลุ่ม 18-24 ปี
รองลงมาก็คือผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่มอายุ 13-17 ปี
ซึ่งถือว่าเป็นช่วงวัยที่ละอ่อนมาก
เพื่อนเราในชั้นเรียนจิตวิทยาที่อเมริกานี้ เธอเป็นคุณแม่ของลูกสาววัย 8 ปี
เธอบอกว่า ลูกสาวเธอคือเด็กคนเดียวในห้องเรียน ที่ไม่ได้เล่น TikTok !!
และหากใครเล่น TikTok ก็จะพอรู้ว่า ‘การเต้นในจังหวะที่เซ็กซี่’ ต่างๆ คือแบบฉบับยอดนิยมที่เด็กๆ พากันเต้นอยู่ในทุกคลิป
‘ยิ่งไลค์เยอะ ยิ่งถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่’
ความภูมิใจของเด็ก แปรตรงตัวกับจำนวนของคนที่มามีส่วนร่วมในแต่ละคลิป
และ TikTok ยังเปิดโอกาสให้ ‘คนแปลกหน้า’ มาคอมเม้นต์หรือพูดคุยกับเจ้าของคลิปได้ง่ายๆ
มีผลสำรวจจาก National Society for the Prevention of Cruelty to Children ที่สอมถามเด็กในวัยเรียน 40,000 คน พบว่ามีเด็กถึง 25% ที่ยอมรับว่าเคยพูดคุยทำความรู้จักกันสดๆ หรือไลฟ์กับ ‘คนแปลกหน้า’ ผ่านเส้นทางโซเชียลมีเดียทั้งหลายมาแล้ว
เราได้ประโยชน์และแรงบันดาลใจ ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จรรโลงใจมากมายจากการเปิดกว้างของโซเชียลมีเดีย
ถือเป็นสิ่งแรกที่ง่ายที่สุด ที่ผู้คนเลือกท่องเข้าไปในโลกของมันเพื่อปล่อยใจพักผ่อนอย่างเต็มที่
แต่มันก็เป็นอีกประตูสู่ความลึกลับที่คาดเดาไม่ได้ พาให้จิตตกและเลยไปถึงอันตรายที่อาจสายเกินแก้
ใช้มันอย่างมีสติทุกครั้ง
และพูดคุยอย่างเปิดใจกับคนรักที่อยู่ใกล้ชิดกัน ยิ่งเป็นเด็กอายุน้อยๆ ที่ไม่มีวุฒิภาวะมากพอจะแยกได้ว่าอะไรเป็นอะไร ภัยที่มาในรูปแบบ ‘หอมหวาน’ เหมือนหลุดมาจากฝันที่ทุกคนต้องอิจฉา อาจกลายเป็นฝันร้ายได้ในชั่วพริบตา…
เป็นกำลังใจให้ผู้ปกครองยุค 2020 ทุกคนนะคะ
------------------------------------------------
ติดตามบทความใหม่จาก เพจ Beautiful Madness by Mafuang ได้ทุกวันอังคารบน LINE TODAY
อ้างอิง
- https://inpublicsafety.com/2020/04/human-traffickers-use-social-media-to-target-children/
- https://www.foxbusiness.com/money/tiktok-visa-dirty-dozen-watchdog
- https://www.usatoday.com/story/news/factcheck/2020/05/18/fact-check-tiktok-security-threat-used-hackers-traffickers/3120617001/
- https://blog.hootsuite.com/tiktok-stats/#:~:text=TikTok%20has%20a%20reputation%20for,of%20the%20app's%20user%20base.
วัช มันเป็นวัยที่มีความต้องการทางเพศสูงแต่ยังขาดความฉลาด
14 ก.ค. 2563 เวลา 21.22 น.
"ใช้งานอย่างมีสติทุกครั้ง"เป็นวาทะกรรมไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายนะครับขอตั้งคำถามกลับครับ"แล้วใครมีสติบ้าง"ครับในปัจจุบันไม่มีใครมีสติครับมีแต่เกิดการผิดะลาดถึงคิดได้ หรือคิดได้แล้วก็รู้ว่ามีโทษอย่างไรกลับไม่สนๆในผลประโยชน์เพียงเท่านั้นเอง เงินใครไม่อยากได้หาเงินกันทั้งนั้นแต่แตกต่างในด้านวิธีการ แต่ส่วนมากวิธีการเน้นไปทางเห็นแก่ตัวมากที่สุดไล่ลงมาตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงประชาชนธรรมดา ปัจจุบันคิดอย่างเดียวอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ได้แต่มองดูเหมือนดูหนังดูละคร
14 ก.ค. 2563 เวลา 22.12 น.
Pilot guide บทความนี้ดีมากครับ ยอมรับ
15 ก.ค. 2563 เวลา 11.38 น.
ผมคิดว่าก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรก็ตามกับในสิ่งที่ได้คิดเอาไว้ ก็ควรที่จะคิดถึงในผลที่จะเกิดขึ้นตามมาเอาไว้บ้างก็ดีเหมือนกันนะครับ.
15 ก.ค. 2563 เวลา 02.17 น.
So จะแอพไหนก็ไม่สน
15 ก.ค. 2563 เวลา 12.04 น.
ดูทั้งหมด