ไลฟ์สไตล์

เพราะ Wifi ทำให้ใจร้อน - เฟื่องลดา

THINK TODAY
เผยแพร่ 31 ต.ค. 2561 เวลา 04.10 น. • เฟื่องลดา

[ 1 Min read ]

บทความนี้ดูใช้เวลาอ่านไม่นานมากใช่ไหมคะ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่เชื่อไหมคะ ว่ามีคนที่คลิกเข้ามาแล้วอ่านไม่จบ ใจร้อนเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นเสียก่อน

การวิจัยหนึ่งของ Microsoft ซึ่งเป็นที่ฮือฮามากเมื่อหลายปีก่อนได้บอกว่า ระยะเวลาความสนใจ (Attention Span) ที่คนสามารถโฟกัส สั้นกว่าปลาทองเสียอีก 

“9 วินาที” คือ เวลาความสนใจ (Attention Span) ที่ปลาทองสามารถโฟกัส 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“8 วินาที” คือ เวลาความสนใจ (Attention Span) ที่คนสามารถโฟกัส และคาดการณ์ว่าตัวเลขจะลดต่ำลงเรื่อยๆเหลือ “5 วินาที”   

การวิจัยจาก Facebook ก็แทบไม่ต่างกัน ระยะเวลาความสนใจของคนที่มีต่อคอนเทนต์หนึ่งๆ คือ 

“2.5 วินาที” ในเครื่องคอมพิวเตอร์ PC 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“1.7 วินาที” ในสมาร์ทโฟน 

หากใครรู้จัก TED Talk ซึ่งเป็น Talk ชื่อดังทั่วโลก ที่สปีกเกอร์แต่ละคนออกมาพูดในประเด็นที่สนใจเป็นเวลาสั้นๆ 

 “18 นาที” คือ ความยาวมาตรฐานของ TED Talk 1 Talk ในสมัยก่อน 

 “12 นาที” คือ ความยาวของ TED ในปัจจุบันที่ปรับเวลาลดลง ตามคนดูที่มีความจดจ่อสนใจได้น้อยลง 

สาเหตุที่คนเราจดจ่อได้น้อยลงและใจร้อนขึ้น จะเป็นเหตุผลอื่นไปไม่ได้ นอกจากการเข้ามาของโลกอินเทอร์เน็ต 

เมื่อมี “Wifi” ใจก็ “ไวไฟ” คนรุ่นใหม่คิดอะไรต้องพิมพ์ คอมเมนต์เลย เห็นอะไรน่าสนใจต้องแชร์ตอนนั้น เช็คอินต้องเดี๋ยวนี้ คุยแชทจีบกันไม่กี่วันก็คบได้

เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้น พฤติกรรมก็หมุนเร็วตาม แล้วคนยุคใหม่ควรมีวิธีโฟกัส ปรับตัวอย่างไรในยุค “Wifi” 

ในทางวิทยาศาสตร์ จากการวิจัยของ Microsoft นั้น ว่ากันว่าสมองคนเราจะมีความสามารถในการโฟกัส หรือ การใช้สมาธิ 3 โหมด นั่นคือ 

โหมด “โฟกัสนาน เพียงหนึ่งอย่าง” (Sustained Attention)   

โหมด “เลือกโฟกัสท่ามกลางสิ่งรบกวน” (Selective Attention)  

โหมด “โฟกัสสั้นๆ และเปลี่ยนโฟกัสไปมาระหว่างงาน” (Alternating Attention) 

ความสามารถในการ “เลือกโฟกัสท่ามกลางสิ่งรบกวน” และ “เปลี่ยนโฟกัสไปมาระหว่างงาน” กลายเป็นความสามารถสำคัญสำหรับคนยุคใหม่ ที่ต้องการจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า

ยิ่งโลกยุคใหม่มีสิ่งรบกวนมาก ความสามารถในการจดจ่อของเรา อาจยิ่งต้องพัฒนาเพิ่มขึ้นท่ามกลางไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป   

ในโลกที่ทุกคนใจร้อน อย่าลืมว่า “เร็วไม่ว่า ช้าให้เป็น” นะคะ 

ที่มา:

https://www.brandbuffet.in.th/2018/05/brand-communication-strategy-for-attention-span/

https://www.fq.co.nz/culture/whats-on/how-social-media-has-left-us-with-a-lower-attention-span-than-a-goldfish

https://www.telegraph.co.uk/science/2016/03/12/humans-have-shorter-attention-span-than-goldfish-thanks-to-smart/

About Me

Instagram: http://www.instagram.com/faunglada

Facebook: http://www.facebook.com/faunglada

Youtube: http://www.youtube.com/faunglada

Twitter: @faunglada

Website: www.faunglada.com

ความเห็น 7
  • NattapongM
    บทความบางบทความ บรรยายมา 100 บรรทัด แต่เนื้อหาจริงๆ มีแค่บรรทัดครึ่ง เช่นบทความนี้เป็นต้น
    31 ต.ค. 2561 เวลา 11.33 น.
  • J
    ไม่ใช่สนใจน้อยลงหรอกครับแต่คนสมัยนี้เห็นคอนเท้นแวบเดียวก็รู้แล้วว่าเป็นขยะเลยไม่สนใจมากกว่า
    31 ต.ค. 2561 เวลา 04.32 น.
  • @...
    สิ่งที่สำคัญมันก็ขึ้นอยู่กับที่ประเด็นของบทความนั้นๆว่ามีความสำคัญหรือว่ามีจุดที่น่าสนใจมากน้อยเพียงใดมากกว่า.
    31 ต.ค. 2561 เวลา 12.28 น.
  • Pitt👼
    โทษทุกอย่าง ยกเว้นโทษตัวเอง
    31 ต.ค. 2561 เวลา 11.54 น.
  • nonglek
    หัวใจโง่ให้กับไอที. ความพยายามหายไป
    07 พ.ย. 2561 เวลา 02.27 น.
ดูทั้งหมด