ทั่วไป

โพลชี้ คนส่วนใหญ่เอือมระอา สภาล่มบ่อย ทางแก้ ยุบแล้วเลือกตั้งใหม่

ไทยรัฐออนไลน์ - Politics
อัพเดต 15 ธ.ค. 2562 เวลา 05.38 น. • เผยแพร่ 15 ธ.ค. 2562 เวลา 05.22 น.
ภาพไฮไลต์

นิด้าโพล ชี้ คนส่วนใหญ่เห็นว่าสภาล่มบ่อย ทำให้เบื่อหน่ายและเกิดเสื่อมศรัทธา ชี้ ทางแก้ ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ให้รู้แล้วรู้รอด   

วันที่ 15 ธ.ค. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ปัญหาสภาล่ม” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9 และ 11 - 12 ธันวาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ทุกระดับการศึกษา และทุกอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,260 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ล่มบ่อยครั้ง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ล่มบ่อยครั้งเพราะไม่ครบองค์ประชุม พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.13 ระบุว่า สภาล่มบ่อยจะทำให้ประชาชนเบื่อและเกิดความเสื่อมศรัทธา รองลงมา ร้อยละ 33.02 ระบุว่า ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านเล่นเกมการเมืองมากเกินไป ร้อยละ 23.49 ระบุว่า เป็นเรื่องธรรมดาทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นทุกสมัยอยู่แล้ว ร้อยละ 19.92 ระบุว่า ส.ส.ไม่ค่อยเข้าประชุม ทำงานไม่คุ้มกับเงินเดือน ร้อยละ 7.86 ระบุว่า ประธานวิปพรรคร่วมรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 5.95 ระบุว่า ปัญหาเกิดจากฝ่ายรัฐบาลมีเสียงในสภามากกว่าฝ่ายค้านเพียงนิดเดียว ร้อยละ 4.76 ระบุว่า เป็นความผิดของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลที่โดดประชุมสภา และร้อยละ 3.10 ระบุว่า เป็นความผิดของ ส.ส.ฝ่ายค้านที่สนใจแต่จะเล่นการเมือง

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาสภาล่ม พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.08 ระบุว่า สภาล่มบ่อยๆ ก็ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ไปเลย รองลงมา ร้อยละ 23.25 ระบุว่า ใครไม่อยากประชุมสภาก็ให้ลาออกไป ร้อยละ 20.08 ระบุว่า ควรมีการประกาศชื่อ ส.ส.ที่ไม่เข้าประชุมสภา ร้อยละ 14.76 ระบุว่า ปัญหานี้ไม่ต้องแก้ เพราะเป็นเรื่องธรรมดาทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นทุกสมัยอยู่แล้ว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ร้อยละ 9.13 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีควรรับผิดชอบหากสภาล่มเกิดจาก ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลไม่เข้าประชุมสภา ร้อยละ 5.71 ระบุว่า ควรเปลี่ยนประธานวิปพรรคร่วมรัฐบาล ร้อยละ 4.05 ระบุว่า ผู้นำฝ่ายค้านควรรับผิดชอบหากสภาล่มเกิดจาก ส.ส.ฝ่ายค้านไม่เข้าประชุมสภา ร้อยละ 2.38 ระบุว่า ปัญหานี้แก้ไม่ได้ เพราะเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ส.ส.แต่ละท่านไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มความสามารถ เห็นแก่ตัว เอาประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก

ร้อยละ 1.90 ระบุว่า ฝ่ายรัฐบาลต้องหาทางเพิ่ม ส.ส.งูเห่า (ส.ส.ฝ่ายค้านที่หันไปสนับสนุนรัฐบาล) ร้อยละ 0.48 ระบุว่า อื่นๆ ได้แก่ ควรมีกฎ ระเบียบ ที่ชัดเจนและเด็ดขาดสำหรับบุคคล (ส.ส.) ที่ไม่เข้าร่วมประชุม และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ.

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 27
  • Chompu💋
    ควรจะต้องแก้รัฐธรรมนูญให้โปร่งใสและยุติธรรมก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ ไม่งั้นก็ได้คนเดิมอยู่ดี เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำมาเพื่อเอื้อต่อการสืบทอดอำนาจอยู่แล้ว
    15 ธ.ค. 2562 เวลา 06.11 น.
  • น้ำขุ่น
    กลัวแพ้ มันไม่กล้ายุบหรอก
    15 ธ.ค. 2562 เวลา 06.10 น.
  • สิริกุล เกริกเกียรติ
    อยู่ที่กฏหมายศรีธนญชัยกับการเลือกลงโทษฝ่ายตรงข้ามของผู้มีอำนาจจึงทำให้คนส่วนใหญ่รับไม่ได้ถึงออกมาเรียกร้องให้รัฐลาออกไป
    15 ธ.ค. 2562 เวลา 06.17 น.
  • 🐇👻Tai Tai 👻🐇
    สส.ไม่มีสปิริต​ สื่อก็ควรมีจรรยาบรรณ
    15 ธ.ค. 2562 เวลา 06.16 น.
  • Tonnakub
    เลือกตั้งทีนึงใช้เงินหมื่นล้าน แล้วเพื่อจะแต่งตั้งอะไรเสร็จ ลุงตู่จะรักษาการแบบไม่มีค้าน2ปีกว่าแน่ๆ
    15 ธ.ค. 2562 เวลา 06.43 น.
ดูทั้งหมด