ไอที ธุรกิจ

'ต่างชาติ' มั่นใจเศรษฐกิจไทย เหตุใด 'คนไทย' กลับไม่เชื่อมั่น

กรุงเทพธุรกิจ
เผยแพร่ 16 ธ.ค. 2562 เวลา 00.00 น.

ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจหลายๆ ตัว บ่งชี้ว่า "คนไทย" ขาดความเชื่อมั่นอย่างหนักในเศรษฐกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น "ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค" หรือ "ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ" โดยในส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ล่าสุดของเดือน พ.ย.2562 ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 มาอยู่ที่ระดับ 69.1 เป็นระดับต่ำสุดรอบ 67 เดือน นับตั้งแต่ปี 2559 แม้ว่าในเดือนดังกล่าวจะเริ่มได้อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่น มาตรการชิมช้อปใช้ โดยสาเหตุที่ดัชนีดังกล่าวปรับลดลง เนื่องจากผู้บริโภคกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้าและเสถียรภาพการเมืองในอนาคต

ด้านดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน พ.ย.2562 ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 47.4 ผลจากความเชื่อมั่นที่ลดลงในภาคการผลิต โดยดัชนีภาคการผลิตปรับลดลงในเกือบทุกองค์ประกอบและอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 เป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน สะท้อนถึงภาวะการผลิตโดยรวมที่ยังแย่ลงต่อเนื่อง มองไปในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีดังกล่าว ยังคงลดลงมาอยู่ที่ 52.7 จากมุมมองเชิงบวกที่ลดลงทั้งในภาคการผลิตและภาคที่ไม่ใช่การผลิต ซึ่งดัชนีย่อยปรับลดลงในเกือบทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะด้านปริมาณการผลิตและผลประกอบการ นำโดยกลุ่มก่อสร้างและกลุ่มผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ สอดคล้องกับการลงทุนในธุรกิจดังกล่าวที่ยังไม่ฟื้นตัว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นด้านอื่นๆ เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นด้านคำสั่งซื้อของลูกค้าในประเทศเดือน พ.ย. ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 โดย "อุปสงค์ในประเทศ" ยังคงเป็นข้อจำกัดสำคัญในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมาก ส่วนหนึ่งสะท้อนจากความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการที่มีแนวโน้มลดลง เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นด้านการจ้างงานที่ปรับลดลงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะในภาคการผลิต

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางดัชนีความเชื่อมั่นต่างๆ ที่ลดลง แต่กลับมีข่าวว่า "เอสแอนด์พี" บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำระดับโลก "ปรับมุมมอง" ความน่าเชื่อถือของเศรษฐกิจไทย "เพิ่ม" จากระดับ "มีเสถียรภาพ" เป็น "เชิงบวก"ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มครั้งแรกรอบ 9 ปี โดย "เอสแอนด์พี" ให้เหตุผลหลัก คือ ฐานการคลังและการเงินของประเทศเข้มแข็ง ทำให้รัฐบาลยังสามารถขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ที่สำคัญได้อีกมาก รวมทั้งในช่วงที่ผ่านมายังดำเนินนโยบายได้อย่างเหมาะสมด้วย ขณะเดียวกันไทยยังมียุทธศาสตร์การลงทุนเพื่อยกระดับประเทศที่สำคัญ โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐาน และ เอสแอนด์พี ก็ยังมองภาพการเมืองไทยมีเสถียรภาพดี

นอกจาก "เอสแอนด์พี" ที่ปรับมุมมองเศรษฐกิจไทยสู่เชิงบวกแล้ว ก่อนหน้านี้ไม่นาน ทั้ง "ฟิทช์ เรทติ้ง" และ "มูดี้ส์" ซึ่งเป็นบริษัทเครดิตเรทติ้งระดับโลก ก็ได้ปรับมุมมองเศรษฐกิจไทยสู่เชิงบวกด้วยเช่นกัน ไม่เพียงเท่านี้ยังมีบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือบางแห่ง คือ "อาร์แอนด์ไอ" ได้ปรับอันดับความน่าเชื่อถือของไทยดีขึ้นจากระดับ BBB- เป็น A-

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทั้งหมดนี้สะท้อนถึง "ความเชื่อมั่น" ของ "ต่างชาติ" ที่มีต่อเศรษฐกิจไทย แล้วอย่างนี้ทำไมคนไทยถึงยังไม่เชื่อมั่นในเศรษฐกิจของตัวเอง …ประเด็นนี้จึงถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลต้องคิดและทบทวนวิธีการที่จะฟื้นความเชื่อมั่นให้กลับคืนมา หากปล่อยไว้นานจะยิ่งดึงเศรษฐกิจไทยดิ่งลงเหวมากขึ้น

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 52
  • PTD
    มั่นใจห่าอะไร หรั่งมันขายหุ้นทิ้งทุกวันๆ
    16 ธ.ค. 2562 เวลา 23.59 น.
  • NIK
    แก้รธน.และรบ.ลาออก...คนอาจเชื่อมั่นมากกว่าเรตติ้งต่างชาติ
    16 ธ.ค. 2562 เวลา 16.00 น.
  • believer
    คนต่างชาติเขาเชื่อมั่นหรอ กูอยากดูหลักฐาน สำนักไหน บอกมากูจะไปอ่าน เขาไม่เชื่อตั้งแต่พวกทรราชมันลากตั้งแล้วถุยยย มึงไปถามเมกา อียู เยอรมันเลย ฟายเอ้ย มึงคิดว่าคนรุ่นใหม่โง่อยุ่อีกหรอ
    16 ธ.ค. 2562 เวลา 13.09 น.
  • โกหม่อง 64126 🦟
    แดกกระจุกกินกระจายไง นี่คือภาพรวมประเทศตอนนี้
    16 ธ.ค. 2562 เวลา 12.37 น.
  • 🎯ตันหยง
    คนไทยเชื่อแต่ fake news กับ ตลาดนัด 555 ต่างชาติเค้าดูจากฐานการคลังและการเงินของประเทศ
    16 ธ.ค. 2562 เวลา 09.28 น.
ดูทั้งหมด