ทั่วไป

นักวิจัยค้นพบ ‘ยาต้านไวรัส’ ตัวใหม่แนวโน้มให้ผลดีกว่าเดิม

SpringNews
เผยแพร่ 09 เม.ย. 2563 เวลา 03.31 น.

เมื่อวันจันทร์ (6 เม.ย.) วารสารรายสัปดาห์ไซแอนซ์ ทรานสเลชันนัล เมดิซิน (Science Translational Medicine) เผยแพร่ผลการศึกษาที่พบว่ายาต้านไวรัสแบบกว้างขวาง (broad-spectrum antiviral drug) ชนิดรับประทานรายการหนึ่งสามารถต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ระหว่างการทดสอบระยะแรกในเซลล์ปอดและเซลล์ทางเดินหายใจของมนุษย์ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ยาต้านไวรัสรายการดังกล่าวชื่ออีไอดีดี-2801 (EIDD-2801) แสดงแนวโน้มดีในการต้านไวรัสโคโรนาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงไวรัสโคโรนาก่อโรคเมอร์ส (MERS) และไวรัสโคโรนาก่อโรคซาร์ส (SARS) ขณะทดสอบในหนูและเซลล์มนุษย์ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง โดยยาอีไอดีดี-2801 คล้ายคลึงกับยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ที่มีศักยภาพต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

 

ยาอีไอดีดี-2801 และยาเรมเดซิเวียร์ ทำงานด้วยการเลียนแบบไรโบนิวคลีโอไทด์ (Ribonucleotide) อันเป็นองค์ประกอบหลักของโมเลกุลอาร์เอ็นเอ (RNA) และทำให้อาร์เอ็นเอของไวรัสเกิดข้อผิดพลาดที่นำไปสู่ภาวะอ่อนแอระหว่างจำลองตัวเอง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

คณะนักวิจัยนำโดยทิโมธี ชีฮัน (Timothy Sheahan) ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา (UNC) พบหลักฐานเบื้องต้นที่ชี้ว่ายาอีไอดีดี-2801 มีแนวโน้มออกฤทธิ์ต้านไวรัสตระกูลโคโรนาหลายตัวได้ดี และอาจมีจุดเด่นมากกว่ายาเรมเดซิเวียร์ในบางกรณี

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นักวิจัยให้หนูทดลองกินยาอีไอดีดี-2801 โดยเป็นหนูที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาก่อโรคซาร์สและโรคเมอร์ส และกินยาทั้งก่อนและหลังติดเชื้อครบ 48 ชั่วโมง ผลปรากฏว่ายาดังกล่าวช่วยฟื้นฟูการทำงานของปอด ลดปริมาณไวรัส และรักษาน้ำหนักร่างกายของหนูทดลองที่ติดเชื้อ

 

ชีฮันกล่าวว่ายาอีไอดีดี-2801 เป็นยาชนิดรับประทานที่สามารถใช้เองที่บ้านหลังได้รับการวินิจฉัยโรค ซึ่งแตกต่างจากยาเรมเดซิเวียร์ที่เข้าสู่ร่างกายด้วยการฉีดเข้าเส้นเลือดดำ

 

“ยานี้จะมีศักยภาพหลากหลายเทียบเท่ายาทามิฟลู (Tamiflu) ตราบเท่าที่ได้รับการพิสูจน์ว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในมนุษย์” ชีฮันกล่าว พร้อมเสริมว่าปกติจะต้องมีการทดสอบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ไม่ใช่มนุษย์ก่อนนำไปทดสอบในมนุษย์

 

“เนื่องจากตอนนี้ไม่ใช่เวลาปกติจึงอาจข้ามขั้นตอนดังกล่าวไป และมีการประเมินผลภายใต้การใช้อย่างการุณย์ (compassionate use) และเริ่มทดลองทางคลินิกในมนุษย์” เขากล่าว

 

ทั้งนี้ ยาเพื่อการใช้อย่างการุณย์ (compassionate medicine) หมายถึงการใช้ยาที่ยังไม่ได้รับการรับรองสำหรับโรคนั้นๆ ในการรักษาผู้ป่วยทั่วไป เนื่องจากยังไม่มีแนวทางรักษาอื่นที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

 

Cr : ซินหัว

 

ติดตามข่าว ล่าสุด “COVID-19”

กดที่ลิ้งค์นี้ —> https://bit.ly/2UxjSwR

#โควิด19 #Covid_19 #COVID19 #ข่าวจริง #สปริงนิวส์ #Springnews #COVID2019 #coronavirus #ไวรัสโคโรนา #โควิท19

 

เรื่องน่ารู้จาก COVID-19

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> แพทย์แนะ มาตรการต้องมีในที่ชุมนุมชน รับมือไวรัสโควิด-19

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/623982

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> 4 ทริค รับมือ COVID-19 มฤตยูร้ายสายพันธุ์ใหม่ ให้อยู่หมัด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/627250

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธี กักกันตัวเอง ที่บ้าน ทำอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/630786

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> Social Distancing ระยะห่างทางสังคม ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/631471

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธีรับมือ ความวิตกกังวลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/634538

ความเห็น 7
  • xxx
    จน อด ตาย
    09 เม.ย. 2563 เวลา 06.51 น.
  • nok
    สุดยอด ดีมากกก ขอให้ใช้ได้ผลจริงๆ จะได้เริ่มต้นชีวิตอนาคตใหม่ที่ต่างประเทสสักที
    09 เม.ย. 2563 เวลา 05.49 น.
  • 54@ฝันดี@45
    อย่าเชื่อ...อีกตั้งมากกว่าหนึ่งปีนะถึงจะค้นพบยารักษาได้จริง#ขณะนี้อยู่ช่วงรอผลทดลองในมนุษย์อยู่
    09 เม.ย. 2563 เวลา 05.01 น.
  • yimyam
    ใช้ชื่ออย่างการุณ แต่เวลาขายราคาอย่างทารุณ ยาตัวใหม่ๆออกมาราคาแพงเว่อร์มาก
    09 เม.ย. 2563 เวลา 04.54 น.
  • Tany
    ไทยเรา เคยมียา ... .... ชื่อ ยา ซ่อมป่อยไหม่ (ป่อย=ปอด) แล้วหายไปไหน ซะล่ะ
    09 เม.ย. 2563 เวลา 04.35 น.
ดูทั้งหมด