หลังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ลดค่าไฟฟ้าลงอีก 3% ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท ตั้งแต่ เม.ย. – มิ.ย. 63 รวม 3 เดือน เพื่อบรรเทาค่าครองชีพให้กับประชาชน และ ลดต้นทุนให้กับภาคธุรกิจ ในช่วงวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
หลายคนพากันเบาใจลงบ้างเมื่อเห็นมาตรการนี้ เพราะเกรงว่าการกักตัวและทำงานจากบ้านตามคำขอของรัฐบาล จะทำให้ค่าไฟพุ่ง เพราะช่วงนี้ตรงกับหน้าร้อนพอดี
แต่สุดท้าย สิ่งที่กลัวก็เกิดขึ้นจริงๆ
หลายคนเปิดใบแจ้งค่าใช้ไฟฟ้ารอบเดือนนี้แล้วถึงกับหนาวจนต้องรีบไปปิดแอร์ และ ต้องเข้าไปเช็กในโลกออนไลน์ว่าใครเจอ “ค่าไฟแพง” เหมือนกันบ้าง ถึงขั้นทำให้แฮชแท็ก #ค่าไฟแพง ติดเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 ไป เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา
ชาวเน็ตจำนวนมากต่างพากันมาโอดครวญเรื่อง “ค่าไฟแพง” บางคนยืนยันว่าใช้ไฟน้อยลง แต่ค่าไฟเดือนนี้กลับพุ่งขึ้นเป็นเท่าตัว
นอกจากประชาชนทั่วไป ยังมีนักแสดงบางคนที่ออกมาพูดเรื่อง “ค่าไฟแพง” ผ่านทางออนไลน์เช่นกัน ได้แก่ “ตอง ภัครมัย” และ “มิค บรมวุฒิ”
ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก“โธ่ ชีวิตพนักงานไฟฟ้า” มีคำตอบเกี่ยวกับเรื่องค่าไฟแพง ดังนี้
สนับสนุนให้คนไทยอ่านเกิน 8 บรรทัด
ทำไมค่าไฟฟ้าถึงแพงขึ้น ❓❓
มาดูคำตอบแบบเปิดใจกันหน่อย‼️
1. การไฟฟ้า คิดเงินแบบอัตราก้าวหน้ามาตลอด ใช้เยอะจ่ายเยอะ ประโยคนี้คือ ความจริง
(จะอ้างไม่รู้ไม่ได้นะคะ หรือจะบอกว่าสุดท้ายไฟฟ้าก็เอาเปรียบอยู่ดีไม่ได้ ไฟฟ้าไม่ได้ไปใช้ไฟกับคุณ )
2. ตัวแปรของค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น คือ หน่วยการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น พูดง่าย ๆ ก็ คือ คุณใช้ไฟฟ้ามากขึ้นเลยทำให้ราคามันก้าวกระโดด
3. หลายคนคงสงสัย ทำไมหน่วยการใช้ไฟฟ้าถึงขึ้นได้มากขนาดนี้ ?
ไฟฟ้ามาทำอะไรกับมิเตอร์รึเปล่า ?
คำตอบ คือ ไฟฟ้าไม่มีใครไปทำอะไรกับมิเตอร์ลูกค้าหรอกค่ะ เอาจริง ๆ นะ พนักงานแผนกมิเตอร์จำนวน 7 คน ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าหลักแสนราย
ทีนี้เราต้องมาดูพฤติกรรมของตัวเองและคนในบ้าน
ที่บอกว่าฉันใช้ไฟเท่าเดิม
ลองคิดนะ
เปิดแอร์ เวลาเดิมทุกวัน 8.00 – 12.00 คุณเย็นเท่าเดิมจริง แต่ตัวที่ทำให้มิเตอร์ขึ้นหน่วยไวแค่ไหน อยู่ที่คอมเพลสเซอร์ข้างนอก ถ้าอากาศข้างนอกร้อนแค่ไหน หน่วยการใช้ไฟก็ขึ้นไวเท่านั้นเพราะคอมเพลสเซอร์คุณทำงานหนัก ยิ่งถ้าเปิดแอร์พร้อมกันนะ เสียงคอมดังนานแค่ไหนนั่นแหละคือ ทำใจไว้เลย มิเตอร์กำลังหมุนอย่างแรง และ นั่นคือ เงินที่คุณต้องจ่ายไป
เครื่องฟอกอากาศอีก แทบทุกยี่ห่อกินไฟ ลองดูนะที่บอกประหยัดไฟคือไม่ประหยัดเลย ยิ่งเปิดพร้อมแอร์ คูณกำลัง 2 ไปเลย
ตู้เย็น เห็นตั้งนิ่ง ๆ แบบนั้น กินไฟเราแบบเงียบ ๆ นะค่ะ หน้าที่ของตู้เย็นคือต้องทำความเย็นในช่องแช่อาหาร ตามอุณภูมิที่เรากำหนด เช่น เราตั้งไว้ที่ 1 องศา หลักการทำงานของมันคือ ต้องทำยังไงก็ได้ให้ 1 องศาตลอดเวลา นั่นก็ คอมเพลสเซอร์หลังตู้เย็นไงที่เป็นตัวทำงาน
– เปิดตู้เย็นบ่อย ๆ เปลืองไฟจริง เพราะตู้เย็นสูญเสียอุณภูมิตอนเปิด
– แช่ของแบบไม่คิด ยัด ๆ เข้าไปก็เปลืองไฟจริง ต้องจัดระเบียบตู้เย็นกันบ้าง
บ้านที่มีปัญหาเรื่องค่าไฟฟ้าส่วนมาก จะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าดังนี้
- แอร์ พร้อม คอมเพลสเซอร์
- เครื่องฟอกอากาศ
- พัดลมไอน้ำ
- ตู้เย็น ยิ่งอัดของเยอะ คอมเพลสเซอร์ตู้เย็นที่ดังตลอดเวลานั่นแหละคือ กำลังกินไฟคุณ
ตู้เย็นที่ประหยัดไฟคือตู้เย็นที่แช่แค่เครื่องดื่มไม่เกิน 5 ขวดเท่านั้น ถึงจะได้จ่ายราคาต่อปีตามที่ร้านโฆษณา
สรุปคือ ไฟฟ้าไม่ได้ปรับ หรือ ทำอะไรทั้งนั้น ไม่ได้คิดจะทำอะไรด้วย ไม่ฉวยโอกาสอะไรทั้งนั้น
ไฟฟ้าการรันตีราคาให้แบบนี้
– ใช้ไปหน่วยที่ 0- 150 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 3.2484 บาท
– ใช้ไปหน่วยที่ 151 – 400 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 4.2218 บาท
– ใช้ไปหน่วยที่ 400 ขึ้นไป จ่ายราคาหน่วยนะ 4.4217 บาท
ยกตัวอย่างการคิดแบบคร่าว ๆ
ตัวอย่างที่ 1
ใช้ไฟฟ้าไป 200 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
50 หน่วยที่เหลือ × 4.2218 = 211.09 บาท
รวมเป็นเงิน = 698.35 บาท
(ราคายังไม่รวม vat 7 % , ค่าบริการ , หักส่วนลดค่า FT)
ตัวอย่างที่ 2
ใช้ไฟฟ้าไป 400 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
250 หน่วยที่เหลือ × 4.2218 = 1,055.45 บาท
รวมเป็นเงิน = 1,542.41 บาท
(ราคายังไม่รวม vat 7 % , ค่าบริการ , หักส่วนลดค่า FT)
ตัวอย่างที่ 3
ใช้ไฟฟ้าไป 600 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
250 หน่วยถัดมา × 4.2218 = 1,055.45 บาท
200 หน่วยที่เหลือ × 4.4217 = 884.34 บาท
รวมเป็นเงิน = 2,427.05 บาท
(ราคายังไม่รวม vat 7 % , ค่าบริการ , หักส่วนลดค่า FT)
ตัวอย่างที่ 4
ใช้ไฟฟ้าไป 1,000 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
250 หน่วยถัดมา × 4.2218 = 1,055.45 บาท
600 หน่วยที่เหลือ × 4.4217 = 2,653.02 บาท
รวมเป็นเงิน = 4,195.73 บาท
(ราคายังไม่รวม vat 7 % , ค่าบริการ , หักส่วนลดค่า FT)
พอจะเห็นภาพชัดเจนกันขึ้นไหมคะ ว่าทำไมค่าไฟถึงได้สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีชาวทวิตเตอร์บางคนที่ตั้งข้อสงสัยว่า อากาศในเดือนเมษายน ไม่ได้ร้อนมากนัก ถ้าเทียบกับเดือนอื่น ๆ
แต่ก่อนที่ดราม่านี้จะลุกลามบานปลาย นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน ได้ทวิตข้อความว่า พรุ่งนี้จะเชิญคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมหาแนวทางมาตรการเรื่องค่าไฟฟ้า เพิ่มเติมจากที่ได้มีหลายมาตรการออกไปแล้ว เรื่องนี้ไม่ได้นิ่งนอนใจครับ
กระทรวงพลังงานจะมีคำตอบอย่างไรสำหรับเรื่องนี้ และ จะมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมหรือไม่ รอติดตามหลังการประชุมพรุ่งนี้
Un ใช้ปกติเหมือนเดือนทุกเดือนที่เคยใช้มา และลดบางอย่างลงด้วย เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า ลดค่าใช้จ่าย..
แต่ บิลไฟมา เหมือนคูณ 2 เลย งง มากๆ
อย่างงี้มัน เฮงซวยจริงๆ
19 เม.ย. 2563 เวลา 11.16 น.
คืนมา 2000 นึกว่าช่วย ปชช ต้นทุน ก็ลด นำ้มัน ก็ลด แต่ค่าไฟ ขึ้น มันคืออะไร หน้าไหว้หลังหลอก หรือเปล่า แต่เดือนนี้ มึง เอา คืน 6000 สุดยอด
19 เม.ย. 2563 เวลา 11.13 น.
อะนัตตา แม่มันหลอกประชาชนอย่างเนียนๆเลยไอ้สัตว์
19 เม.ย. 2563 เวลา 11.16 น.
โจรชั่วก็ไฟฟ้านี้ละ
19 เม.ย. 2563 เวลา 11.13 น.
โหดดดจัดดด หน้าาเลือดดด
19 เม.ย. 2563 เวลา 11.14 น.
ดูทั้งหมด