ไลฟ์สไตล์

ปริมาณวิตามินสำหรับเด็ก ที่ควรได้รับต่อวัน ควรอยู่ที่เท่าไหร่ดี?

GedGoodLife
อัพเดต 02 มิ.ย. 2566 เวลา 13.27 น. • เผยแพร่ 02 ส.ค. 2563 เวลา 04.52 น. • GED good life ชีวิตดีดี

ในทุก ๆ วัน พ่อแม่อาจจะเห็นลูกกินข้าว กินขนม ได้เป็นปกติ แต่เราอาจจะไม่รู้เลยว่า อาหารที่ลูก ๆ กินในแต่ละวัน มีสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการไหม? เด็ก ๆ หลายคนน้ำหนักเพิ่มตามเกณฑ์ แต่ไม่ได้แปลว่าได้รับสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ครบถ้วน ปริมาณวิตามินสำหรับเด็ก ในแต่ละวัน ควรมีปริมาณเท่าไหร่ มาลองเช็กกันดู เพื่อไม่ให้ลูกน้อยขาดวิตามิน

เด็กได้รับสารอาหาร วิตามินมากไป น้อยไป จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เด็กไม่สูง ภาวะเตี้ย ขาดพลังงาน และโปรตีน ส่งผลให้เด็กไทยไม่สูงเท่าที่ควรจะเป็น

โรคอ้วน กินของหวาน น้ำตาล ได้รับไขมัน และคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป และไม่ออกกำลังกาย

ภาวะโลหิตจาง ส่งผลต่อความฉลาดของเด็ก เพราะขาดธาตุเหล็ก สมองได้รับออกซิเจนน้อยลง การเจริญเติบโต ความกระตือรือล้นลดลง มีปัญหาสมาธิ ผลการเรียนตกต่ำ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การเจ็บป่วย หากเด็กขาดวิตามินบางชนิด อาจส่งผลให้ร่างกายผิดปกติได้ เช่น เลือดออกตามไรฟัน เหน็บชา อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เลือดกำเดาไหล ผิวแห้งกร้าน ฯลฯ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปริมาณวิตามินสำหรับเด็ก ที่ควรได้รับในแต่ละวัน

วิตามินเอ

วิตามินเอ ช่วยเกี่ยวกับการมองเห็น มีผลต่อการเจริญเติบโต และทำให้เซลล์ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ อยู่ในสภาวะปกติ หากขาดวิตามินเอ อาจเกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และทางเดินอาหารในทารก และเด็กเล็ก

ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการวิตามินเอ ในแต่ละวัน

  • เด็กอายุ 1-3 ปี : 300 ไมโครกรัมของ retinol / วัน
  • เด็กอายุ 4-5 ปี : 350 ไมโครกรัมของ retinol / วัน
  • เด็กอายุ 6-8 ปี : 350 ไมโครกรัมของ retinol / วัน

อาหารที่มีวิตามินเอสูง ได้แก่ น้ำมันตับปลา ตับสัตว์ เนื้อสัตว์ ไข่ น้ำนม ผลิตภัณฑ์จากน้ำนม ผักใบสีเขียวเข้ม ผักและผลไม้ สีเหลือง ส้ม เช่น ตำลึง ผักบุ้ง แครอท ฟักทอง มันเทศเหลือง มะละกอสุก เป็นต้น

วิตามินบี 1

วิตามินบี 1 หรือ ไธอะมิน (Thiamin) ร่างกายคนไม่สามารถสังเคราะห์ไธอะมินได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร หากขาดวิตามินบี 1 จะทำให้เกิดโรคเหน็บชา ชาปลายมือปลายเท้า

ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการวิตามินบี 1 ในแต่ละวัน

  • เด็กอายุ 1-3 ปี : 0.5 มิลลิกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 4-5 ปี : 0.6 มิลลิกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 6-8 ปี : 0.6 มิลลิกรัม / วัน

อาหารที่มีวิตามินบี 1 สูง ได้แก่ เนื้อหมู ข้าวซ้อมมือ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วดำ และงา

วิตามิน บี 2

วิตามินบี 2 หรือ ไรโบฟลาวิน เป็นวิตามินที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งในกลุ่มวิตามินบีรวมช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างเหมาะสม ช่วยส่งเสริมระบบประสาทผิวหนัง และตา ช่วยป้องกันเซลล์ถูกทำลาย

ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการวิตามินบี 2 ในแต่ละวัน

  • เด็กอายุ 1-3 ปี : 0.5 มิลลิกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 4-5 ปี : 0.6 มิลลิกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 6-8 ปี : 0.6 มิลลิกรัม / วัน

อาหารที่มีวิตามินบี 2 สูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ ไข่ น้ำนม

วิตามิน บี 6

วิตามิน บี 6 มีบทบาทสำคัญโดยทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ของเอนไซม์ในปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์และการเผาผลาญกรดอะมิโน ถ้าขาดวิตามินบี 6 อาจทำให้มีอาการโลหิตจางแบบ microcytic ทำให้ผิวหนังอักเสบใน ภูมิต้านทานของร่างกายต่ำ ทำให้มีการตอบสนองของระบบประสาทช้าลง มีอาการซึมเศร้า สับสน

ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการวิตามินบี 6 ในแต่ละวัน

  • เด็กอายุ 1-3 ปี : 0.5 มิลลิกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 4-5 ปี : 0.6 มิลลิกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 6-8 ปี : 0.6 มิลลิกรัม / วัน

อาหารที่มีวิตามินบี 6 สูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ และไข่แดง

ปริมาณวิตามินสำหรับเด็ก

วิตามิน บี 12

วิตามินบี 12 ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง ช่วยในการกระตุ้นการเจริญเติบโต โดยการกระตุ้นความอยากอาหาร ทำให้กินอาหารได้มากขึ้น

ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการวิตามินบี 12 ในแต่ละวัน

  • เด็กอายุ 1-3 ปี : 0.9 ไมโครกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 4-5 ปี : 1.2 ไมโครกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 6-8 ปี : 1.2 ไมโครกรัม / วัน

อาหารที่มีวิตามินบี 12 สูง ได้แก่ เนื้อหมู สัตว์ปีก เป็ด ไก่ ปลา รวมทั้ง กุ้ง หอย ปู ไข่ น้ำนม และผลิตภัณฑ์จากน้ำนม

โฟเลต

เมื่อขาดโฟเลต ส่งผลให้การเจริญเติบโตของเซลล์ชะงัก โดยเฉพาะเซลล์ที่เจริญเติบโตเร็ว เช่น เซลล์สร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ และเกิดภาวะโลหิตจางได้

ปริมาณโฟเลตที่ร่างกายเด็กต้องการ ในแต่ละวัน

  • เด็กอายุ 1-3 ปี : 120 ไมโครกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 4-5 ปี : 140 ไมโครกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 6-8 ปี : 180 ไมโครกรัม / วัน

อาหารที่มีโฟเลต สูง ได้แก่ ผัก และผลไม้เป็นแหล่งอาหารที่ดีของโฟเลต เช่น ดอกกะหล่ำ ดอกและใบกุยช่าย มะเขือเทศ แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง แครอท ถั่วฝักยาว ผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผลไม้สีส้ม องุ่นเขียว สตรอว์เบอร์รี ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วแดงหลวง ถั่วเหลือง

โคลีน

โคลีนเป็นสารอาหารที่มีคุณสมบัติคล้ายวิตามินที่ละลายน้ำได้ โคลีนเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นสำหรับโครงสร้างของผนังเซลล์ การส่งสัญญาณประสาท

ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการโคลีน ในแต่ละวัน

  • เด็กอายุ 1-3 ปี : 200 มิลลิกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 4-5 ปี : 250 มิลลิกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 6-8 ปี : 250 มิลลิกรัม / วัน

อาหารที่มีโคลีนสูง ได้แก่ ไข่แดง เนื้อสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น เมล็ดทานตะวัน อัลมอนด์

วิตามินซี

วิตามินซี มีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์คอลลาเจน ช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก รวมถึงการเพิ่มภูมิต้านทาน ถ้ามีการขาดวิตามินซี อย่างรุนแรงจะเกิดโรคลักปิดลักเปิด

ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการวิตามินซี ในแต่ละวัน

  • เด็กอายุ 1-3 ปี : 20-25 มิลลิกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 4-5 ปี : 25-30 มิลลิกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 6-8 ปี : 30-40 มิลลิกรัม / วัน

อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ผักและผลไม้รสเปรี้ยว เช่น พริกหวาน ผักคะน้า บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ ถั่วลันเตา มะเขือเทศ มันฝรั่ง ฝรั่ง มะขามป้อม ฯลฯ

แคลเซียม

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่หลัก คือ รักษาความแข็งแรง และรูปร่างของกระดูก ถ้าได้รับแคลเซียมไม่พอ เสี่ยงที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนได้

ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการแคลเซียมในแต่ละวัน

  • เด็กอายุ 1-3 ปี : 500 มิลลิกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 4-10 ปี : 800 มิลลิกรัม / วัน

อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม ผลิตภัณฑ์จากนม พืชเมล็ด ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง และงา

ปริมาณวิตามินสำหรับเด็ก

ธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็ก มีบทบาทในการทำงานของสมอง การขาดธาตุเหล็กเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลหิตจาง การขาดธาตุเหล็กในทารกและเด็กเล็ก (0-2 ปี) มีผลต่อพัฒนาการด้านจิตใจ และร่างกาย มีปัญหาการใช้อวัยวะ เช่น มือ ตา ให้สัมพันธ์กัน ลดโอกาสการเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว การขาดธาตุเหล็กมีผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ได้ตลอดช่วงวัยเด็ก การเสริมธาตุเหล็กแก้ปัญหาได้ในเด็กโต

ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการธาตุเหล็ก ในแต่ละวัน

  • เด็กอายุ 1-3 ปี : 5.0 มิลลิกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 4-5 ปี : 6.0 มิลลิกรัม / วัน
  • เด็กอายุ 6-8 ปี : 6.6 มิลลิกรัม / วัน

อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องใน เป็ด ไก่ และปลา อาหารเหล่านี้นอกจากมีธาตุเหล็กสูงแล้วยังช่วย การดูดซึมของเหล็กพวก non-heme iron ได้ดีอีกด้วย

เส้นใยอาหาร

เส้นใยอาหารเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน แต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ของเส้นใยอาหารต่อสุขภาพ คือ เป็นพรีไบโอติก (prebiotic) เส้นใยอาหารประเภท soluble fiber ซึ่งไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหาร แต่จะเป็นอาหารให้กับ แบคทีเรียกลุ่ม probiotic ที่พบได้ในลำไส้ใหญ่ เช่น Lactobacillus

ปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน

  • Thai Recommended Daily Intake (Thai RDI) ได้กำหนด ปริมาณเส้นใยอาหารที่ร่างกายควรรับเท่ากับ 25-30 กรัมต่อวัน

อาหารที่มีใยอาหารสูง ได้แก่ ธัญพืช ผัก ผลไม้ ถั่วเมล็ดแห้ง

หากลูกเป็นเด็กกินอาหารได้น้อย เลือกกิน ควรเสริมด้วย วิตามินเด็ก เช่น Nutroplex ซึ่งนอกจากมีใยอาหาร Oligofructose จากธรรมชาติ ที่ช่วยในการปรับสมดุล ด้านระบบทางเดินอาหารแล้ว ยังเป็นวิตามินรวมที่มีธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นกับพัฒนาการ การเรียนรู้ของเด็กอีกด้วย

NUTROPLEX OLIGO PLUS ( นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส )

วิตามินรวมสำหรับเด็กกินยาก ไม่กินข้าว เบื่ออาหาร ปริมาณวิตามินสำหรับเด็ก ที่ควรได้รับในแต่ละวันควรได้รับอย่างเพียงพอ นูโทรเพล็ก โอลิโก พลัส มีส่วนผสมของมัลติวิตามิน ใยอาหารธรรมชาติและธาตุเหล็กสูง กระตุ้นการขับถ่าย เสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

NUTROPLEX OLIGO PLUS มีส่วนประกอบสำคัญ คือ Oligofructose ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Prebiotic และใยอาหารจากธรรมชาติ ที่ช่วยในการปรับสมดุลย์ด้านระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มกากใยให้กับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันท้องผูกได้ดี

สั่งซื้อ NUTROPLEX OLIGO PLUS ได้แล้วที่นี่

แอดไลน์ ID : @nutroplexclub
Inbox Facebook https://www.facebook.com/nutroplexclub

ที่มา : (1) (2)

ดูข่าวต้นฉบับ