ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ท่องเที่ยว”ชะลอตัว” เหตุเงินบาทแข็งค่า หวั่นกระทบส่งออก

Money2Know
เผยแพร่ 16 ก.ค. 2562 เวลา 07.52 น. • money2know - เงินทองต้องรู้

อดีต รมว. ท่องเที่ยวและกีฬา ห่วงภาวะเงินบาทแข็งค่าซึ่งนานกว่าปกติ หวั่นกระทบรายได้ท่องเที่ยว-ส่งออก พร้อมย้ำ ท่องเที่ยวเป็น “เครื่องมือ” ไม่ใช่ “เป้าหมาย” เป้าหมายหลัก คือ ความมีสุขของผู้คน จากรอยยิ้มของเจ้าบ้าน และ รอยยิ้มของผู้มาเยือน และให้คำนึงถึง “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” อยู่เสมอ

นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวใน "Business today thai FB Live" ถึงรายได้ภาพรวมการท่องเที่ยวครึ่งปีแรกที่ออกตัวมาดี แต่ ห่วงครึ่งปีหลัง ที่ภาวะเงินบาทแข็งค่าซึ่งนานกว่าปกติ ถึงแม้เชื่อกันว่าเป็นภาวะชั่วคราว แต่ก็หวังว่าการตอบสนองต่อปัญหาเรื่องนี้จะต้องมีกลไกที่แก้ไข สิ่งหนึ่งที่มองว่าเป็นสาเหตุ คือ อัตราดอกเบี้ยที่แพงอยู่ในขณะนี้ แม้ว่าคนฝากเงินอาจจะมองไม่สูง แต่ในทางตรงกันข้ามนั้นสูงกว่าประเทศอื่นๆ เลยทำให้เงินที่ควรจะไปที่อื่นในโลกนี้ กลับมาพักอยู่ที่ไทยเพราะว่าดอกเบี้ย พอเงินมาอยู่ที่  ไทยมากๆ ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ เลยทำให้สกุลเงินบาทแข็งขึ้นทันที ซึ่งไม่ใช่การแข็งโดยสภาพเศรษฐกิจของตัวมันเอง มองว่าปัญหาแบบนี้ควรแก้ไข ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อการส่งออกในระยะยาว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากนี้ ยังได้เสนอแง่คิดเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยว ที่ได้วางรากฐานและปฏิบัติมาตลอดการดำรงตำแหน่ง โดยกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นอันดับ 10 ของโลก ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาสูงที่สุด ถึงแม้ว่าไทยจะสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้เพิ่มมากกว่านี้ แต่ว่าความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อไม่ให้ไปกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ไปกระทบต่อวัฒนธรรม รวมไปถึงการเป็นเจ้าบ้านที่ดีแล้ว ซึ่งเราต้องปรับปรุงในเรื่องนี้กันอีกเยอะ การดูแลการท่องเที่ยวว่าด้วยเรื่องการรับผิดชอบและทำให้ยั่งยืนนั้น ทั้งด้านการตลาด จำนวนเงิน เพราะเมื่อนับจำนวนเงินที่เข้ามาใช้จ่ายในประเทศไทยจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ไทยได้อันดับ 4 ของโลก ขณะเดียวกันต้องเพิ่มความรับผิดชอบในการเป็นเจ้าบ้านให้กับแขกผู้มาเยือน ทั้งเรื่องความปลอดภัย, ความสะดวก, ความสะอาด และ ความรับผิดชอบต่อในเรื่องเอกลักษณ์ เพื่อให้ไทยคงเอกลักษณ์และเดินต่อไปได้

นอกจากนั้น ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ตนได้ไปเป็นประธานกรรมาธิการแก้ไขกฎหมายนโยบายท่องเที่ยวแห่งชาติที่สภา แก้ไขจนสำเร็จ ประกาศใช้เป็นกฎหมายเป็นที่เรียบร้อย โดยกฎหมายฉบับดังกล่าว จะเป็นเครื่องมือให้กับรัฐบาลถัดไปสามารถนำไปพัฒนากำหนดว่า ใครที่จะเข้ามาในแผ่นดินไทย จะต้องเสียค่าธรรมเนียม เพื่อนำไปซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต, ประกันอุบัติเหตุ, ประกันสุขภาพ ที่ครอบคลุมคนทั้ง 30-40 ล้านคนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในแต่ละปี ซึ่งมองว่าระบบคุ้มครอบแบบนี้ จะสามารถไล่ดูได้ว่าอะไรเป็นเหตุซ้ำซาก อะไรเป็นเหตุที่ควรป้องกันได้ เพื่อให้รัฐ เจ้าของท้องถิ่น ผู้ให้บริการ ผู้ประกอบการ ได้นำกลับไปแก้ไขปรับปรุง อีกทั้งจะเป็นการยกระดับมาตรฐาน เพราะฉะนั้นท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืนมากขึ้น ความรับผิดชอบมากขึ้น นั่นคือเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุด

ท่องเที่ยวเป็น “เครื่องมือ” ไม่ใช่ “เป้าหมาย” เป้าหมายหลัก คือ ความมีสุขของผู้คน จากรอยยิ้มของเจ้าบ้าน และ รอยยิ้มของผู้มาเยือน และให้คำนึงถึง “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” อยู่เสมอ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยก่อนอำลาตำแหน่ง ได้สั่งการให้ท่องเที่ยวกีฬาจังหวัดไปทำการสำรวจแผนที่ความเสี่ยงด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดตัวเอง เช่น อุบัติเหตุตรงไหนเกิดขึ้นบ่อยที่สุด อย่างพื้นที่ชายทะเล พบว่า อุบัติเหตุไม่ได้เกิดขึ้นตอนเดินทาง แต่เกิดตอนอยู่ในน้ำมากที่สุด ส่วนภาคเหนือ-ภาคอีสาน พบว่า อุบัติเหตุเกิดจากทางรถยนต์บ่อยที่สุด ดังนั้นแผนที่ความเสี่ยงกำลังถูกค่อยๆพัฒนาขึ้นมา ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะทำในเรื่องของความปลอดภัย และ เป็นแผนป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุ

นอกจากนี้แล้ว อดีต รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ได้พูดถึงE-sports ว่าคือ "กิจกรรมเชิงธุรกิจ ไม่ใช่กิจกรรมเชิงกีฬา" เรียกว่าเป็นธุรกิจระดับโลกที่มีเงินทุนหมุนเวียน มีนักพัฒนาที่เข้ามาทำ ซึ่งตอนนี้โลกหนีไม่พ้น และคงปฏิเสธไม่ได้ แล้วก็มีคนจำนวนมากโดยสมัครใจที่อยากเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น ไปเป็นผู้พัฒนา ไปเป็นผู้สร้างทีม ไปเป็นผู้เล่น หรืออื่นๆ ส่วนจะได้รับการสถาปนาในเชิงปรัชญาทางกีฬาได้มากน้อยแค่ไหนคงต้องถกกันอีกเยอะ

https://www.facebook.com/BusinesstodayThailand/videos/2305633493024762/

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 16
  • จุฑารัตน์ Firstsystem
    รัฐบาลไม่เก่ง ทำงัยหล่ะ ลำบากทุกภาคส่วน
    16 ก.ค. 2562 เวลา 09.53 น.
  • คนที่ไม่ได้ส่งออก ชอบเงินบาทแข็งเพราะ ซื้อของจากต่างประเทศได้ถูก เงินเพิ่มค่า จะไปต่างประเทศก็ไม่แพง ราคาน้ำมันก็ถูกสมัยเปรมก่อนลอยตัวค่าเงินบาท เงินบาทอยู่ที่ 25 บาท ต่อ ดอลลาร์ ก็เห็นค้าขายกันดี เรื่องของเรื่อง คงจะชินกับเงินบาทอ่อน ผู้ส่งออก ชอบเงินบาทอ่อน เพราะแลกเป็นเงินบาทได้เยอะ ยิ่งอ่อนก็ยิ่งชอบมากขึ้นๆ แต่ผมไม่ได้เป็น ผู้ส่งออกสินค้า ก็ต้องชอบเงินบาทแข็ง เป็นธรรมดาครับ ยังนั่งลุ้นอยู่เลยว่าเมื่อไหร่มันจะกลับไป 25 บาทต่อดอลลาร์เหมือนเดิมสักที ปล.ความชอบเป็น สิทธิส่วนบุคคล ครับ 😇
    16 ก.ค. 2562 เวลา 13.59 น.
  • NZ Peter
    ข้อมูลนักท่องเที่ยวเข้าไทยใน 2 ไตรมาสนี้ สูงกว่าปีที่แล้ว นั่นแสดงว่าแผนงานของอดีต รมต. มีประสิทธิภาพมาส่งผลให้เห็นในตอนนี้
    16 ก.ค. 2562 เวลา 13.28 น.
  • DANG
    บาทอ่อนก้อไม่ช่วย เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก โดยเฉพาะนทท.จากจีน ของเค้าก้อแย่ ควรเน้นบริโภคในประเทศ บาทแข็งก้อมีข้อดีถ้าเราช่วยกันบริโภคของไทยเที่ยวไทยกันเอง บริหารให้ถูกทางไม่ใช่เอื้อนายทุน
    16 ก.ค. 2562 เวลา 12.23 น.
  • กฤษ SNP ครับ
    ไม่น่าใช่
    16 ก.ค. 2562 เวลา 12.08 น.
ดูทั้งหมด