ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ การพูดประชดประชัน, ล้อเลียนเสียดสี ,เหน็บแนมคนอื่นก็มีเรื่องน่าทึ่งอยู่เหมือนกัน!
ปกติการพูดจากระแนะกระแหน แขวะ หรือจิกกัด มักถูกมองว่าเป็นการสนทนาที่ไม่น่ารักเท่าไหร่ เพราะมีแนวโน้มจะทำร้ายความรู้สึกระหว่างกัน แต่ในต่างประเทศก็มีการพิสูจน์ทางจิตวิทยาว่า จริง ๆ แล้วการพูดจาเสียดสีกันมันคือจุดสร้างสรรค์ของสติปัญญาเลยนะ!
การเสียดสี, ล้อเลียน, ถากถาง มันคือศิลปะในการสื่อสารแบบมีนัย ภายใต้คำพูดที่ออกมานั้น มีความหมายแฝง เฉพาะคนที่ตามทันเท่านั้นที่จะเข้าใจมันค่ะ ท่ามกลางความหมายแสบ ๆ คัน ๆ นั้นมีด้านบวกที่เราก็ไม่เคยคิดถึงซ่อนอยู่เหมือนกันนะ
ได้ประโยชน์ทั้งคนพูดเหน็บและคนถูกเหน็บ
ประโยชน์ที่ว่าก็คือ เราต้องพยายามคิดค้นคำที่จะใช้แขวะ, เสียดสี, เหน็บ, ล้อเลียนกันขึ้นมาเพื่อเอาชนะอีกฝ่ายให้ได้ หมายถึงว่าเราไม่สามารถใช้ประโยคที่คุยกันธรรมดา ๆ เพื่อแซะกันได้ เพราะมันไม่สะใจ ต้องคิดสองชั้นหรือคิดไปอีกขั้นเพื่อให้อีกฝ่ายนึงรู้สึกงงไปด้วย เช่นพูดว่า 'เรื่องมารยาทมันสอนกันไม่ได้ทุกคนนะคะ' ความหมายก็คือ คุณน่ะ ไม่มีมารยาท แต่จะให้พูดว่าไม่มีมารยาทตรง ๆ เลยก็ดูรุนแรงพร้อมปะทะไปหน่อยนึง จึงต้องสร้างประโยคอ้อมค้อมอ้อมโลกแต่เจ็บไม่แพ้กันขึ้นมาพูดแทน ทีนี้คนโดนด่าเมื่อรับสารมาแล้วก็ต้องแปลใจความให้ได้ว่าเขากำลังด่าเราอยู่นี่หว่า หากจะแซะกลับก็ต้องประดิดประดอยคำเสียดสีขึ้นมาให้อ้อม ๆ แต่เจ็บเหมือนกัน เห็นไหมล่ะคะว่าจะแขวะใครก็ต้องใช้สมองและความครีเอทีฟสุด ๆ ไปเลย
เอาความขบขันมาเป็นส่วนผสม
คำแซะธรรมดา ๆ มันครีเอทีฟไม่พอ ต้องใช้อารมณ์ขันเข้ามาช่วยด้วยถึงจะเพอร์เฟ็กต์ ว่ากันว่าคำพูดเหน็บที่พูดไปแล้วคนพูดรู้สึกชนะ คนฟังจะต้องสะดุ้ง ก็คือคำแซะที่เจือปนไปด้วยความตลกที่ไม่ตลก ซึ่งคำเสียดสีลักษณะนี้จะต้องใช้ความรู้ที่มีมาพัฒนาให้แอดวานซ์ไปอีกขั้นนึงอีก เช่น 'แก อย่าทำงานหนักมากนะ!' ฟังเผิน ๆ อาจจะคิดว่าคนฟังเป็นห่วง แต่หากเป็นหัวหน้าเราเองที่พูดประโยคนั้นในเวลางานและดันเป็นจังหวะที่เราไม่ได้ทำงานอยู่ ก็คงไม่ใช่ความเป็นห่วงแล้วล่ะค่ะ แต่เขากำลังกระแนะกระแหนเราอยู่แหละ ความหมายก็คือ ตั้งใจทำงานบ้างสิ! แบบนี้คนฟังก็เจ๊บเจ็บนะคะ เอาความตลกมาเป็นลูกเล่น แต่ได้ยินแล้วตลกไม่ออกเลยทีเดียว
ยิ่งอยากเอาชนะ ยิ่งต้องใช้สมอง
ต่อเนื่องจากการต้อง ‘ประดิดประดอย’ คำพูดแล้วนั้น หากเลเวลความต้องการเอาชนะคู่สนทนามากเท่าไหร่ ยิ่งต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์มากเพิ่มทวีคูณเท่านั้น ในขณะเดียวกันคนฟังเองก็ต้องประมวลผลมากขึ้นกว่าเดิมด้วยว่าประโยคที่แขวะนั้น แท้จริงมันแปลว่าอะไร คือเรียกได้ว่าเป็นการยิมนาสติกสมอง ออกกำลังกายรอยหยักกันเลยทีเดียว เพราะว่ามันช่วยพัฒนาการคิดเชิงลึกให้เราแบบทางอ้อมนั่นเอง
ช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา
ฟังดูแปลกใช่ไหมล่ะค่ะ แต่งานวิจัยของฮาร์วาร์ดช่วยตอกย้ำว่า คนที่ชอบใช้วาจาเสียดสี ล้อเลียน และคนที่เข้าใจการแซะแขวะได้ดีนั้น จะช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น โดยเฉพาะในเชิงของการแก้ปัญหา เพราะอย่างที่เล่าไปแล้วว่าเวลาจะคิดแปลความหมายของคำแขวะนั้น เราต้องใช้สมองหลายส่วนทำงานประสานกันในเวลาเดียวกัน ทำให้เรารู้จักการคิดซับซ้อนหลายชั้น เวลาเผชิญหน้ากับปัญหาจึงทำให้เราคิดหาทางออกหลาย ๆ ทางได้โดยอัตโนมัติ เป็นผลพลอยได้จากความพยายามถอดรหัสมุกตลกเสียดสีที่เคยได้ยินมานั่นเองค่ะ
ถ้าหากสังเกตกันให้ดี ไม่ใช่เพียงบทสนทนาระหว่างกันเท่านั้นที่ใช้การพูดแซะหรือเสียดสี แต่มักถูกนำไปใช้ตามสื่อต่าง ๆ เช่น การ์ตูน, ภาพยนตร์, สื่อ เพื่อแสดงออกอย่างมีนัย โดยเฉพาะกับเรื่องที่พูดกันตรง ๆ อาจไม่สนุกเท่าการแตะประเด็นเพียงอ้อม ๆ แต่เจ็บแสบยิ่งกว่า ทีนี้ก็ต้องมาวัดกันที่กึ๋นของคนสื่อสารกับคนรับสารแล้วว่าจะเข้าใจตรงกันมากแค่ไหน
แม้ว่ามันจะมีข้อดีอยู่หลากหลาย แต่อย่าลืมว่าไม่ใช่ทุกคนจะแฮปปี้กับการถูกพูดจาเสียดสี เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจกับมุกแขวะแบบนี้เสมอไป ไม่ว่าอย่างไรก็ยังมีคนที่อ่อนไหวต่อเรื่องแบบนี้อยู่อีกมากเช่นกัน เพราะฉะนั้นเราก็ต้องระมัดระวังและสังเกตปฏิกิริยาของคู่สนทนาด้วยนะคะ กาลเทศะก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกันค่ะ เตือนแล้วนะ เตือนแล้ว
.
ขอบคุณข้อมูลจาก
.
N 🚥🚦🚥 C โอ๋ย..มันคือปิสุณวาจา หนึ่งในวจีทุจริต 4 หนึ่งในอกุศลกรรมบท10 เป็นทางมาของบาปเวร คนอ่านบทความต้องพิจาณามาก ๆ นะ อย่าเชื่อง่ายนัก
11 มี.ค. 2564 เวลา 19.08 น.
โหน่ง น่าจะเขียนบทความให้สร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นกว่านี้ มากกว่าการหาประโยชน์จากการพูดเหน็บแนม
11 มี.ค. 2564 เวลา 20.32 น.
sawitree เหน็บผิดคนอาจถึงตายได้นะจ้ะ
11 มี.ค. 2564 เวลา 17.38 น.
คืออะไรอยากบอกอะไรหรือ เอาให้มันมีสาระหน่อย
11 มี.ค. 2564 เวลา 18.53 น.
jirachaya M อย่าเลย... กลัวจะเจอสอกเหน็บกลับ
อยู่เงียบๆนะดีแล้ว
11 มี.ค. 2564 เวลา 20.18 น.
ดูทั้งหมด