ไลฟ์สไตล์

จริงหรือมั่ว! เมื่อ 'โอลิมปิก 2020' ห้ามนักกีฬา 'จู๋จี๋' กัน

LINE TODAY ORIGINAL
เผยแพร่ 28 ก.ค. 2564 เวลา 17.18 น. • AJ.

ผ่านมาหนึ่งสัปดาห์แล้ว สำหรับ 'โตเกียวโอลิมปิกเกมส์ 2020' ที่แม้จะเจอด่านหินตั้งแต่เริ่มอย่าง 'โควิด-19' ที่ทำให้งานเกือบล่ม แต่รัฐบาลญี่ปุ่นก็ไม่ท้อถอย ทำให้โอลิมปิกครั้งนี้กลายเป็นอีกหนึ่งมหกรรมสำคัญที่เต็มไปด้วยช่วงเวลาน่าจดจำมากมาย ทั้งช่วงเวลาน่าประทับใจ รวมถึงดรามาสุดเข้มข้น หนึ่งในนั้นคือ 'เตียงห้ามจู๋จี๋' !

โอลิมปิกปีนี้ เสนอตอน 'เตียงห้ามจู๋จี๋'!

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หลังพิธีเปิดไม่นาน ก็มีข่าวลือสะพัดในโซเชียลมีเดียว่า 'เตียง' ในหอพักนักกีฬาโอลิมปิกจะทำขึ้นจากกระดาษแข็ง เพื่อป้องกันไม่ให้เหล่านักกีฬามีกิจกรรมทางเพศกัน ข้อความนี้มาจากทวิตเตอร์ของนักกีฬาวิ่งระยะไกลจากสหรัฐอเมริกา 'พอล เชลิโม' (Paul Chelimo) โดยหนุ่มพอลยังเสริมอีกว่า เตียงเหล่านี้สามารถ รับน้ำหนักมนุษย์ได้แค่คนเดียวเท่านั้น แต่เจ้าตัวได้ทดลองขึ้นไปนั่งกับเพื่อน 4 คน ก็พบว่าเตียงยังสามารถรับน้ำหนักได้ดีอยู่

หลังทวิตดังกล่าว สื่อและโซเชียลมีเดียต่างก็พูดถึงประเด็นนี้อย่างเผ็ดร้อน หลายสื่อนำเรื่องเตียงกระดาษแข็งไปโยงกับกฎเกณฑ์ของโอลิมปิกปีนี้ที่เข้มงวดขึ้นเพราะโควิด-19 เป็นเหตุให้คณะกรรมการต้องสรรหาเตียงที่ไม่เหมาะกับการประกอบกิจกรรมอื่นใด นอกจากนอนพักผ่อนอย่างสงบ

ในขณะที่ชาวเน็ตทั่วโลกต่างออกมาวิจารณ์คุณสมบัติของ 'เตียงกระดาษแข็ง' ว่าสมควรแล้วหรือ ที่ให้นักกีฬาที่ต้องฝึกหนักในทุกวันนอนหลับบนเตียงกระดาษ พร้อมแสดงความเป็นห่วงเป็นใยว่าแล้วพวกเขาจะได้พักผ่อนอย่างเพียงพอจริงๆ หรือ!

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เตียงกระดาษ แต่แข็งแกร่งเกินคาด!

หลังข่าวลือเรื่องเตียงห้ามจู๋จี๋ว่อนเน็ต ไรส์ แมคเคิลแนแกน (Rhys Mcclenaghan) นักยิมนาสติกทีมไอร์แลนด์ก็ทวีตคลิปรีวิวคุณสมบัติเตียงสั้นๆ ด้วยการขึ้นไปกระโดดบนเตียงจนตัวลอยสามสี่ที พร้อมกล่าวว่า "นั่นมันเฟกนิวส์คร้าบบบ"

ก่อนหน้านี้ บริษัท 'Airweave' ผู้ผลิตเตียงกระดาษแข็งให้หมู่บ้านนักกีฬา เปิดเผยกับ AFP ว่าเตียงสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม และผ่านการทดสอบแรงกดทับมาแล้ว ความแข็งแกร่งของเตียงกระดาษแข็งนี้อาจเทียบเท่าเตียงไม้หรือเตียงเหล็กด้วยซ้ำ ที่สำคัญยังอาจก่อให้เกิดเสียงน้อยกว่าด้วย เมื่อถูกกระทบหรือดันแรงๆ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากนี้ ทาคาชิ คิตาจิมะ (Takashi Kitajima) ผู้ดูแลหมู่บ้านโอลิมปิก (Olympic Village) หรือโซนที่พักสำหรับนักกีฬาโอลิมปิก ยังเสริมอีกว่าเหตุผลที่เลือกใช้กระดาษแข็งมาผลิตเป็นเตียงก็เพื่อความยั่งยืน โดยเตียงพวกนี้จะถูกนำไปรีไซเคิลอีกครั้งเมื่อโอลิมปิกครั้งนี้จบลง

ดังนั้นข้อกล่าวหาที่บอกว่าเตียงกระดาษจะอ่อนยวบและรับน้ำหนักได้ไม่ดีเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้นักกีฬามีเซ็กส์ ก็เป็นอันสรุปว่า'มั่วนิ่ม'

โอลิมปิก = มหกรรมความหวิว!

เหตุผลที่เรื่องเตียงและกิจกรรมทางเพศถูกหยิบยกมาพูดถึง เพราะแม้โอลิมปิกจะเป็นมหกรรมกีฬา แต่ 'หมู่บ้านโอลิมปิก' นั้นเปรียบได้กับสถานที่เสรีทางเพศเลยทีเดียว อดีตนักกีฬาหลายๆ คนให้ความเห็นว่าในระหว่างโอลิมปิกเกมส์ เหล่านักกีฬามักมีร่างกายที่สมบูรณ์พร้อมถึงขีดสุด และเมื่อการแข่งขันจบลง ก็เป็นธรรมดาที่พวกเขาต้องปลดปล่อยตัวเองกันบ้าง

ในปี 2012 นักฟุตบอลชาวสหรัฐอเมริกา โฮป โซโล (Hope Solo) เคยให้สัมภาษณ์กับช่อง ESPN ว่า "มีเรื่องเซ็กส์เยอะมากที่นั่น ผมเห็นคนมีอะไรกันทั่วเลย ทั้งบนสนามหญ้า มุมตึก หรือตรงนั้นตรงนี้"

ตั้งแต่ปี 1988 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลจึงมีนโยบายแจกถุงยางอนามัยไม่จำกัด ให้นักกีฬาทุกคนได้เฉลิมฉลองอย่างปลอดภัยที่สุด

ไม่ได้ห้าม แต่ขอความร่วมมือ

แต่เนื่องจาก 'โตเกียวโอลิมปิกเกมส์' ปีนี้ต่างออกไป คณะกรรมการโอลิมปิกสากลถึงกับออกคู่มือนักกีฬา ระบุให้ทุกคนที่เข้าร่วมหลีกเลี่ยง 'การถูกเนื้อต้องตัว' ให้มากที่สุด โดยเฉพาะการกอดและจับมือ รวมถึงการจับกลุ่มกันในที่ปิด

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการจะมีการแจกถุงยางอนามัยกว่า 150,000 ชิ้นแก่นักกีฬาและทีมงานเหมือนเดิม แต่เพื่อเป็น 'ของที่ระลึก' เท่านั้น โดยมีจุดประสงค์ให้นักกีฬานำกลับประเทศ เพื่อรณรงค์ปัญหาโรคเอดส์และ HIV นอกจากนี้ เพื่อป้องกันปัญหาการปาร์ตี้มั่วสุม คณะจัดงานยังแบนการซื้อขายเหล้าบริเวณรอบหมู่บ้านนักกีฬาอย่างเด็ดขาด และหากยังเข้มงวดไม่พอ ยังมีนโยบายให้นักกีฬากลับบ้านทันที ภายใน 48 ชั่วโมงหลังจบการแข่ง เพราะถึงอยู่ต่อ กรุงโตเกียวก็แทบไม่มีอะไรให้ท่องเที่ยวในสถานการณ์โควิดแบบนี้ แต่ถ้ายังฝ่าฝืน คู่มือนักกีฬายังระบุไว้ว่า "ชาวญี่ปุ่นทุกคนจะจับจ้องการกระทำของคุณอย่างใกล้ชิด"

แฟนๆ กีฬาคงต้องติดตามกันต่อไป ว่าการ 'ขอความร่วมมือ' แบบนี้ จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง ทั้งต่อภาพรวมของ 'โตเกียวโอลิมปิกเกมส์ 2020' และสถานการณ์โควิดของญี่ปุ่น เมื่อเกมจบลง

อ้างอิง

factcheck.org

ndtv.com

newindianexpress

thecut.com

ความเห็น 46
  • Jaru 3125🎉
    จะไปเอาเหรียญหรือเอาลูก?
    29 ก.ค. 2564 เวลา 05.11 น.
  • Rojer
    อั้นไว้ก่อนก็ได้ แข็งเสร็จ ค่อยฟ้าเหลือง ก็ยังทัน
    28 ก.ค. 2564 เวลา 18.34 น.
  • รักษ์
    ข่าวแบบนี้ถนัดของสื่อ! ไร้สาระ!
    29 ก.ค. 2564 เวลา 13.09 น.
  • ฐิติพงศ์
    ยืนสอยก็ได้
    29 ก.ค. 2564 เวลา 07.29 น.
  • Tae
    เขาห้าม ทุกการแข่งขัน ถึงสมาคมไม่ห้าม โค้ชก็ต้องห้าม เพราะ แข่งใช้พลังงานเยอะมา
    29 ก.ค. 2564 เวลา 09.06 น.
ดูทั้งหมด