ทั่วไป

คนจนเฮ! รัฐบาลอัดฉีด “1 แสนล้านบาท” ให้ใช้ฟรีๆ โดยไม่หวังผลตอบแทน!

Another View
เผยแพร่ 24 พ.ย. 2561 เวลา 01.00 น.

คนจนเฮ! รัฐบาลอัดฉีด“1 แสนล้านบาทให้ใช้ฟรีๆโดยไม่หวังผลตอบแทน!

กลายเป็นประเด็นที่มีคนพูดถึงกันอย่างหนาหู เมื่อมีข่าวออกมาว่ารัฐบาลใจดี! กำลังจะอัดฉีดทุ่มงบประมาณกว่า “1 แสนล้านบาท” เพื่อช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายการเพิ่มสิทธิพิเศษให้กับ “บัตรคนจน”  เป็น “ของขวัญ” ให้กับประชาชนกลุ่มที่มีรายได้น้อย (ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปี ไม่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านหรือพื้นที่ทำกินเพื่อการเกษตรที่มีขนาดไม่เกินกว่าที่รัฐกำหนด) รวมทั้งคนชรา และผู้ป่วยติดเตียง 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยพื้นฐานแล้ว นโยบาย  “บัตรคนจน”  นี้จะให้การสนับสนุน ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพเช่น การซื้อสินค้าเพื่อการอุปโภค บริโภค สินค้าเพื่อการศึกษา วัตถุดิบทางการเกษตร มีส่วนลดสำหรับค่าก๊าซหุงต้ม ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางทั้ง รถเมล์ รถไฟฟ้า รถ บขส. และรถไฟอยู่แล้ว…แต่ในปลายปีนี้ รัฐบาลได้มีมติให้ เพิ่มสิทธิพิเศษสำหรับบัตรคนจนอีก ไม่ว่าจะเป็น

1.) สนับสนุนค่าใช้จ่ายปลายปี คนละ 500 บาท

2.) ช่วยเหลือค่าน้ำค่าไฟนาน 10 เดือน 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

3.) ช่วยเหลือค่าเช่าบ้านเดือนละ 400 บาท 

4.) ช่วยเหลือค่าเดินทางในการไปรักษาพยาบาล 1,000 บาท 

ที่สำคัญ เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมเหล่านี้สามารถถอนออกมาเป็นเงินสดได้อีกด้วย! เรียกว่าใครที่มีคุณสมบัติสามารถรับสิทธิ “บัตรคนจนได้” ก็เฮกันไปเลย เพราะสามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายไปได้มากทีเดียว 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอย่างมากในกลุ่มชนชั้นกลางผู้เสียภาษี เพราะในขณะที่รัฐบาลมีการเคลื่อนไหวอย่างเด่นชัดในเรื่องของสวัสดิการสำหรับกลุ่มคนที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี กลับไม่มีการพูดถึงสวัสดิการสำหรับกลุ่มคนที่มีรายได้เกิน 100,000 บาทต่อปีขึ้นไปซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชนชั้นกลางผู้เสียภาษี จึงทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจ และบางฝ่ายก็มองว่ารัฐบาลกำลังพยายาม “ซื้อเสียง” เมื่อเข้าใกล้ช่วงเลือกตั้ง เพราะหลายๆฝ่ายก็มองว่าการเพิ่มสิทธิพิเศษเหล่านี้ หมายถึงการทุ่มงบประมาณเกือบแสนล้าน ซึ่งงบประมาณของรัฐบาลก็มาจากภาษีของประชาชนนั่นเอง 

กลุ่มประชาชน​ โดยเฉพาะชนชั้นกลางที่มีรายได้ตั้งแต่ระดับกลางค่อนไปทางสูงและต้องเสียภาษีในทุกๆสิ้นปีจึงเกิดความไม่พอใจ เพราะในขณะที่การลดหย่อนภาษีเป็นไปได้ยากขึ้นในทุกๆปี รัฐบาลกลับทุ่มงบประมาณให้กับคนอีกกลุ่มที่มีสัดส่วนในการเสียภาษีที่น้อยกว่า กลายเป็นว่ายิ่งจน ยิ่งทำงานน้อย กลับได้ประโยชน์จากสวัสดิการของรัฐมากเสียกว่าผู้ที่เสียภาษีในอัตราส่วนที่มากไปเสียอีก 

ในความเป็นจริงแล้ว การที่รัฐเล็งเห็นว่าการพัฒนาสวัสดิการรัฐบาลเป็นเรื่องจำเป็นและมีความสำคัญนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ในการทุ่มงบพัฒนาสวัสดิการสำหรับประชาชนนั้นควรจะต้องเข้าถึงคนทุกชนชั้นในสังคม ไม่ใช่เพียงมุ่งเน้นแต่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่เท่าเทียมขึ้นมาได้ และนอกจากนี้ยังเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืนอีกด้วย เพราะงบประมาณที่รัฐทุ่มเพื่อใช้ “อุ้ม” คนจนนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้เป็นครั้งคราว ในอนาคตแล้วก็ยังไม่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ได้ 

ทางที่ดี รัฐควรทุ่มทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) สวัสดิการพื้นฐาน ที่จะยกระดับชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นมากกว่า เช่น โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง โครงการสวัสดิการสาธารณะสุข หรือประกันสังคมต่างๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถอุ่นใจได้ว่าจะได้รับสวัสดิการการศึกษาที่เข้าถึง บริการสาธารณสุขที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ (เช่น เดินบนฟุตบาทแล้วไม่ต้องระวังหลุมบ่อ) ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นไหนเสียมากกว่า จึงจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนแท้จริง

เพราะงบประมาณของรัฐก็คือ  “เงินภาษี”  ของประชาชน ดังนั้น รัฐบาลควรมีการพิจารณาอย่างระมัดระวังรวมทั้งควรรับฟัง  “เสียง”  ของประชาชน ในการ  “อนุมัติ” งบประมาณในแต่ละครั้งด้วย มิเช่นนั้น เราก็จะมีนโยบายที่ “ผ่านมติ ครม.” แต่ “ไม่ผ่าน” ความเห็นของประชาชนเช่นนี้ออกมาอยู่เรื่อยไป สูญเสียงบประมาณไปเท่าไหร่ ก็ดูเหมือนจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้จริงๆเลย 

ความเห็น 362
  • เฉลิม ลำดับศรี
    สงสัยกุกินหญ้ามั้งเลยอ่านเกมไม่ออก.ยังไงกุก็ไม่เลือก
    24 พ.ย. 2561 เวลา 01.11 น.
  • เติ้ลเขยอุบลคนพิจิตร
    ซื้อเสียง
    24 พ.ย. 2561 เวลา 01.06 น.
  • Karn
    โปรโมชั่น สุดๆ อนาคตเกิดปัญหาใครรับผิดชอบ
    24 พ.ย. 2561 เวลา 01.07 น.
  • ผลตอบแทนก็คะแนนเสียงเลือกตั้งไง #เดี๋ยวก็หาเรื่องรีดภาษีอีก
    24 พ.ย. 2561 เวลา 01.08 น.
  • ถามกลุ่มคนล้มเลือกตั้งครั้งที่แล้ว
    24 พ.ย. 2561 เวลา 01.11 น.
ดูทั้งหมด