ไลฟ์สไตล์

รพ.จุฬาฯ ใช้เครื่องอัตโนมัติตรวจเชื้อโควิดสูงสุด 1,440 เคสต่อวัน-เจ้าหน้าที่ไม่เสี่ยง

TODAY
อัพเดต 04 เม.ย. 2563 เวลา 12.03 น. • เผยแพร่ 04 เม.ย. 2563 เวลา 12.03 น. • Workpoint News

ในสถานการณ์ที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมาก มีกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดและกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเข้ารับการตรวจเชื้อจำนวนมากขึ้นด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

.

สัปดาห์ที่ผ่านมา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้เปิดตัว เครื่องตรวจ COVID -19 อัตโนมัติ ซึ่งข้อเด่นที่สำคัญคือ ตรวจแล้วรู้ผลเร็ว, เจ้าหน้าที่สามารถลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโดยตรงได้มาก และสามารถตรวจได้สูงสุดเกือบ 1,500 ตัวอย่างต่อวัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ หังสสูต หน่วยไวรัสวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงเครื่องตรวจ COVID -19 อัตโนมัติซึ่งเป็นเครื่องแรกในประเทศไทยว่า จุดเด่นของเครื่องมือนี้คือเป็นระบบอัตโนมัติ ไม่ต้องใช้คนเข้าไปเกี่ยวข้องมากนัก จึงมีความปลอดภัย สามารถป้องกันเจ้าหน้าที่ไม่ให้ติดเชื้อ ช่วยลดความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานได้ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังสามารถยืนยันผลการติดเชื้อได้ถึง 99 %
.
เครื่องนี้ได้รับการอนุมัติมาตรฐานจาก องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ทดสอบกับวิธีการตรวจแบบมาตรฐานของประเทศไทยแล้วพบว่าได้ผลสอดคล้องกัน สามารถตรวจได้มากถึง 1,440 ตัวอย่างต่อวัน และรู้ผลได้เร็วภายใน 3 – 5 ชั่วโมงสำหรับการทำงานในช่วงแรก หลังจากนั้นเมื่อพัฒนาต่อไปจะสามารถรู้ผลการตรวจภายในเวลาเพียงแค่ 90 นาที

ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ อธิบายการทำงานของเครื่องตรวจ COVID -19 อัตโนมัติว่า เป็นการตรวจจากน้ำที่ป้ายจากลำคอของคนไข้ที่มารับบริการตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือโรงพยาบาลอื่น โดยเมื่อโรงพยาบาลได้รับตัวอย่างของสารที่จะตรวจแล้ว นักวิทยาศาสตร์จะแบ่งตัวอย่างมาใส่ในหลอดเพื่อนำไปใส่ในเครื่องดังกล่าว จากนั้นเครื่องจะทำงานตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ตั้งแต่การสกัดสารพันธุกรรมของไวรัส นำมาเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม และตรวจสอบว่ามีสารพันธุกรรมนั้นๆ หรือไม่ ผลการตรวจสามารถดูได้จากภายนอกห้องตรวจ ซึ่งเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ ไม่มีคนเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงมีความปลอดภัยสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปัจจุบันเครื่องตรวจเชื้อ COVID -19 ได้ให้บริการแก่คนไข้ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลเอกชนไปแล้ว และเมื่อทีมแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเรียนรู้กับการทำงานของเครื่องมือนี้จนใช้งานได้คล่องตัวจะสามารถให้บริการได้อย่างเต็มที่ซึ่งสามารถรับได้ 1,440 ตัวอย่างต่อวัน โดยผู้ที่จะมารับบริการไม่จำเป็นต้องมาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สามารถไปตรวจที่โรงพยาบาลอื่นๆ แล้วส่งตัวอย่างมาตรวจได้ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้

ทั้งนี้ เครื่องตรวจ COVID -19 อัตโนมัติที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีมูลค่า 15 ล้านบาท ได้รับการบริจาคจาก สราวุฒิ อยู่วิทยา และภรรยา จากกลุ่มธุรกิจ TCP

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 26
  • Vanida
    สาธุ สาธุค่ะ ได้อ่านรายละเอียดตั้งแต่เริ่ม จนได้ของ และติดตั้งเสร็จเรียบร้อย อิ่มใจกับทีมที่ช่วยกันจนได้เครื่องมาใช้งาน ท้ายสุดคงต้องระลึกถึงความดีที่ไม่หวังผลของคุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ซึ่งเป็นผู้บริจาคซื้อเครื่องนี้ ขอบคุณแทนคนไทยค่ะ
    04 เม.ย. 2563 เวลา 13.29 น.
  • ปัญญา นีลภาณุชาติ
    รัฐบาลเห็นทางออกให้คุณหมอแล้วนะครับ งบ100-1000ล้านก็ทุ่มลงไปเลย. แสดงความจริงใจที่จะช่วยบุคลากรของเราเถอะครับ
    04 เม.ย. 2563 เวลา 13.35 น.
  • แอรอน
    สาธุ กลุ่ม TCP
    04 เม.ย. 2563 เวลา 13.14 น.
  • 🌼🌸RuthaiMurakami4289
    สาธุ ขอให้คิดค้นเจออุปกรณ์ดีๆช่วยให้บุคลากรการแพทย์ปลอดภัย เจอโรคง่าย รวดเร็ว และคิดค้นยาและวัคซีนได้ไวๆ ด้วยเถอะ สาธุ🙏🏻🙏🏻🙏🏻 ขอให้โรคภัยนี้และโรคภัยอื่นๆเบาบางจากมนุษย์ด้วยเทอญ
    04 เม.ย. 2563 เวลา 13.35 น.
  • เยาว์
    เริ่มถูกทางการตรวจรักษายังไงมนุษย์คงต้องเก่งกว่าไวรัสขอให้สัมฤทธิ์ผล
    04 เม.ย. 2563 เวลา 13.28 น.
ดูทั้งหมด