ทนายรัชพล ศิริสาคร ให้ความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับ สิทธิ 13 ข้อสำหรับ ภรรยาที่จดทะเบียนสมรส หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน
"ทนายรัชพล ศิริสาคร" ได้ออกมาให้ความรู้ด้านกฎหมาย สำหรับภรรยาที่จดทะเบียนสมรส โดยระบุว่า
ภริยา ที่จดทะเบียนสมรส ย่อมเป็นภริยาตามกฎหมาย เพราะมีเอกสารจากราชการยืนยันถึงความเป็นสามีภริยา ซึ่งจะก่อให้เกิดสิทธิตามกฎหมาย โดยเบื้องต้น ภริยาที่จดทะเบียน จะมีสิทธิ เช่น
1 มีสิทธิในการรับมรดกของสามี และลูกๆ
2 มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย (ค่าทดแทน) จากเมียน้อยได้โดยไม่ต้องหย่า หรือจะหย่าก็ได้
3 มีสิทธิยึดถือความเป็นเมียหลวง แปลว่า หากผู้ชายมันเลว เราจะไม่หย่าก็ได้ ถือทะเบียนสมรสเล่นๆ ไว้แบบนั้น หรือเรียกค่าหย่าก็ทำได้
4 ความผิดบางประเภทที่สามีภรรยาทำต่อกัน ไม่ต้องรับโทษนะ เช่น ลักทรัพย์
5 มีสิทธิในการเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรจากสามี
6 มีสิทธิในการเรียกค่าเลี้ยงดูจากสามี เพราะสามีภรรยาต้องเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน หากไม่เลี้ยงดู ภรรยามีสิทธิเรียกร้องตรงนี้ได้
7 มีสิทธิในการจัดการสินสมรส เช่น การกู้ยืมเงิน เป็นต้น สามีจะไปกู้เงินมั่วๆ ไม่ได้นะ ต้องให้ภรรยายินยอมก่อน
8 มีสิทธิใช้นามสกุลสามี ถ้าสามีเป็นคนตระกูลดัง การใช้นามสกุลสามี ถือว่าเป็นเกียรติมาก
9 หากเป็นหญิงต่างชาติ มีสิทธิขอสัญชาติไทยได้
10 หากสามีรับราชการ ภริยามีสิทธิรับเงินที่ได้รับจากราชการ เช่น เงินสงเคราะห์บุตร เป็นต้น แต่ต้องดูว่าเค้าให้สิทธิอะไรบ้าง
11 สิทธิในการเรียกร้องตามกฎหมาย ในฐานะผู้เสียหายในคดีอาญา
12 มีสิทธิในความหึงหวง ข้อนี้อาจนำไปใช้ในคดีอาญาได้ เช่น การป้องกันตัวจากพวกชู้ หรือทำร้ายผู้อื่นเพราะบันดาลโทสะ ซึ่งต้องดูรายละเอียดคดี
13 เมื่อมีการหย่า บางเคสจะมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพด้วย
ทั้งหมดนี้ เป็นสิทธิในเบื้องต้น ซึ่งจะได้สิทธิดังกล่าวหรือไม่ คงต้องดูรายละเอียดประกอบด้วย
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 71 ความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 334 ถึง มาตรา 336 วรรคแรก และ มาตรา 341 ถึง มาตรา 364 นั้นถ้าเป็นการ กระทำที่สามีกระทำต่อภริยา หรือภริยากระทำต่อสามี ผู้กระทำไม่ต้อง รับโทษ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและ ฐานะของตน
มาตรา 1476 สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความ ยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
( นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตาม มาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามี มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น
สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้และ ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตน มีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้
มาตรา 1526 ในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนล เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่าง สมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่า เลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ ให้และฐานะของผู้รับและให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1598/39 มาตรา 1598/40 และ มาตรา 1598/41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการ รับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่ง เสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(2) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) แต่มี ทายาทตาม มาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
(3) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (4) หรือ (6) และทายาทนั้น ยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตาม มาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม
(4) ถ้าไม่มีทายาทดั่งที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมี ชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด.
ขอบคุณเจ้าของภาพ ภาพประกอบเท่านั้นไม่เกี่ยวกับเนื้อหา
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่ tnews
Natalie ณัฐณาฬี6392 กฎหมายกับการปฎิบัติจริงๆหลายอย่างมันมักจะตรงข้ามกัน (เสียหายไม่ถึงขนาด) ต้องดูเป็นเคสๆไป!
21 ต.ค. 2565 เวลา 07.57 น.
เติมวัน ชอบข้อ12สุดหล่ะ
21 ต.ค. 2565 เวลา 09.39 น.
🧸-Myz:oMi-🧸 ข้อ 4 เสร็จกุละทีนี้
21 ต.ค. 2565 เวลา 08.01 น.
ดูทั้งหมด