สึนามิ เรียกได้ว่าเป็นภัยพิบัติที่รุนแรงและน่ากลัว สร้างความเสียหายมากที่สุด จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา รวมถึงประเทศไทยเองที่เคยเกิดเหตุการณ์ความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่เมื่อปี 2547 และล่าสุดสึนามิก็ได้ถล่มชายหาดประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผลพวงมาจาก แผ่นดินไหวบนเกาะลอมบอก ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคมที่ผ่านมา ลองไปรู้จักกับ คลื่นยักษ์สึนามิให้มากขึ้น กับ 5 เรื่องน่ารู้ คลื่นยักษ์สึนามิ และวิธีเอาตัวรอด เมื่อเกิดสึนามิ
5 เรื่องน่ารู้ คลื่นยักษ์สึนามิ และวิธีเอาตัวรอด
สึนามิ (Tsunami) แปลว่า “คลื่นชายฝั่ง” (Habour Wave)
หรือ “คลื่นที่ท่าเรือ” มีจุดกำเนิดในเขตทะเลลึก ซึ่งมักเกิดหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินทรุด หรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงในทะเล
สึนามิมี 2 แบบ
– แบบ local เกิดตามชายฝั่งที่มีแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ชึ้นไปและตื้นกว่า 10 กม. เปลือกโลกขยับตัวแบบไหนก็ได้
– แบบ widespread เกิดกระจายไปหลายประเทศแบบปี 47 มาจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 7.0 ตื้นกว่า 10 กม. เปลือกโลกขยับในแนวตั้งเท่านั้น
สึนามิ เมื่อครั้ง 6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช
สึนามิที่เกิดขึ้นในช่วง 6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นคลื่นสึนามิใต้น้ำที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ เกิดจากการเลื่อนตัวของชั้นหินที่เรียกว่า “Storegga Slide” ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินใต้น้ำครั้งใหญ่ติดต่อกันเป็นระลอก ๆ ยาวนานเป็นเวลาหลายหมื่นปี
สึนามิ ที่ชิลี รุนแรงที่สุด
นับเป็นสึนามิครั้งรุนแรงที่สุดในโลก เกิดขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม ปี 2503 เกิดขึ้นจากเหตุแผ่นดินไหวความรุนแรง 9.5 ริกเตอร์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุด และตามด้วยคลื่นยักษ์สึนามิ ถล่มชายฝั่งชิลี ตามด้วยฮาวาย ญี่ปุ่น ซาโมอา และนิวซีแลนด์ ตายทั้งหมดราว 2,700 คน
80% ของสึนามิ มักเกิดบริเวณ วงแหวนไฟ (Ring of Fire)
วงแหวนไฟ หรือบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง เรียกได้ว่าเป็นบริเวณที่เป็นจุดกำเนิดของภัยพิบัติทั้ง แผ่นดินไหว สึนามิ และภูเขาไฟระเบิด เป็นแนวรูปเกือกม้า มีความยาว 40,000 กิโลเมตร ไล่ไปตั้งแต่ ทวีปออสเตรเลีย ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้
การเอาตัวรอด จาก สึนามิ
การเอาตัวรอดจาก สึนามิ มีสิ่งที่ควรรู้ดังนี้
- หากคลื่นสึนามิกำลังคลื่นที่เข้าใกล้ชายฝั่ง ให้รีบออกจากบริเวณชายฝั่งให้เร็วที่สุด และหนีขึ้นที่สูง เช่นภูเขาสูง
- ถ้าหนีจากชายฝั่งไม่ทันจริง ๆ ให้หาที่สูงที่มีความแข็งแรง เช่น อาคาร หรือต้นไม้ใหญ่ แล้วปีนขึ้นไปให้สูงที่สุด เช่น หลังคาบ้าน หลังคาตึก
- ถ้าหนีไม่ทัน และกำลังจะจมน้ำให้มองหาสิ่งที่สามารถลอยน้ำได้แล้วเกาะให้แน่น
- อยู่ในที่ปลอดภัยจนกว่าจะแน่ใจว่าทุกอย่างสงบแล้ว เพราะคลื่นสึนามิอาจมีความยาวของลูกคลื่นห่างกันเป็นชั่วโมง
ขอบคุณที่มาจาก: surfertoday, dpm
Yingyos เอาตัวรอดคือน้ำทะเลลดลงแบบฉับพลัดให้คิดว่ามีเหตุสึนามิแน่ให้รีบขึ้นที่สูง....อันนี้คือวิธีเอาตัวรอด
29 ก.ย 2561 เวลา 18.45 น.
ถุยยย นึกว่าจะมีเทคนิคการเอาตัวรอดที่ดีกว่านี้ จั่วหัวข้อข่าวซะ
29 ก.ย 2561 เวลา 18.22 น.
เหตุเมื่อปี47 แสดงให้เห็นว่าการ ปชส.ของประเทศไทยและของโลกยังไม่ทันธรรมชาติ ปชช.ทั่วไปน้อยคนที่รู้จัก"สึนามิ"ขนาดน้ำทะเลแห้งขอดก็ยังไม่มีการเตือนหรือรู้ตัวว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรตามมาในขณะนั้น...
29 ก.ย 2561 เวลา 22.00 น.
@... การมีสติ ปัญญา และความสามารถก็ทำให้รอดพ้นได้เช่นกัน.
29 ก.ย 2561 เวลา 20.25 น.
ข้อที่ 5 บอกทำไม..ก้อมันปลอดภัยแล้ว..โธ่..เอ๋ย..สมองนักการข่าว...
30 ก.ย 2561 เวลา 01.07 น.
ดูทั้งหมด