ทั่วไป

ด่วน! ราชทัณฑ์ไทย​ ประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาด คดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณ ในรอบเกือบ 9 ปี

THE STANDARD
อัพเดต 18 มิ.ย. 2561 เวลา 13.07 น. • เผยแพร่ 18 มิ.ย. 2561 เวลา 13.07 น. • thestandard.co
ด่วน! ราชทัณฑ์ไทย​ ประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาด คดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณ ในรอบเกือบ 9 ปี

พ.ต.อ. ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 15.00-18.00 น.  กรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการบังคับโทษตามคำพิพากษาของศาลด้วยการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดชายธีรศักดิ์ หลงจิ อายุ 26 ปี ผู้ต้องขังในคดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณโหดร้ายเพื่อชิงทรัพย์ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 เหตุเกิดที่จังหวัดตรัง นักโทษเด็ดขาดดังกล่าวได้ทำร้ายและบังคับให้เอาทรัพย์สิน คือโทรศัพท์มือถือและกระเป๋าสตางค์ รวมทั้งใช้มีดแทงผู้ตายรวม 24 แผล เป็นเหตุให้เหยื่อถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนเป็นผลให้คดีถึงที่สุด

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวอีกว่า การบังคับโทษประหารชีวิตดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 ประกอบมาตรา 19 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประหารชีวิตนักโทษ พ.ศ. 2546 ซึ่งกำหนดให้ดำเนินการด้วยวิธีการฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย นับเป็นผู้ต้องขังรายที่ 7 นับแต่มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2546 ซึ่งเปลี่ยนวิธีการบังคับโทษประหารชีวิตจากการยิงเสียให้ตายเป็นการฉีดสารพิษ

 

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยังเปิดเผยต่อไปว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 ถึงปัจจุบัน มีการบังคับโทษประหารชีวิตมาแล้วจำนวน 325 ราย โดยแยกเป็น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

1. การใช้อาวุธปืนยิงจำนวน 319 ราย ยิงรายสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2546

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

2. การฉีดยาสารพิษ จำนวน 6 ราย ฉีดสารพิษครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2546 และครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2552

 

การประหารชีวิต ถือเป็นบทลงโทษทางอาญาที่หนักที่สุดตามกฎหมายไทย ซึ่งมีโทษ 5 อย่างคือ ปรับ ริบทรัพย์สิน กักขัง จำคุก และประหารชีวิต แม้หลายประเทศได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้วก็ตาม แต่ก็มีอีกหลายประเทศที่ยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่เช่นเดียวกับประเทศไทย เช่น สหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งเน้นการปกป้องสังคมและพลเมืองส่วนใหญ่ให้พ้นจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมมากกว่าเน้นสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคลที่กระทำผิดกฎหมาย กรมราชทัณฑ์หวังว่าการประหารชีวิตในครั้งนี้ จะเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้ที่คิดจะก่ออาชญากรรมร้ายแรงหรือกระทำผิดกฎหมายได้ยั้งคิดถึงบทลงโทษนี้

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 152
  • sitanan
    ดีค่ะ​ น่าจะพิจารณาโทษของเปรี้ยวฆ่าหั่นศพและคดีนักศึกษา​ มศว​ โดนชิงทรัพย์ด้วยนะคะ
    19 มิ.ย. 2561 เวลา 02.08 น.
  • Boy
    กฏหมายประหารชีวิต ควรมีใช้ และประหารให้มากกว่านี้ การละเว้น หรือ คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ทรัพยากรบุคคลดีๆ ของประเทศต้องตายไปเท่าไร อยู่ด้วยความหวาดระแวงต่อเท่าไร ทรัพยากรบุคคลเลวๆ กลับย่ามใจ ก่อเหตุ อาชญากรรมมากขึ้น สิ้นเปลืองงบประมาณขบวนการยุติธรรม และเลี้ยงดูพวกนี้อีกมากมายเท่าไรต่อปีๆนึง เงินของคนดี หามาเสียภาษีไปเลี้ยงคนพวกนี้ทั้งนั้น ประหารคือการตัดเนื้อร้าย ของสังคมส่วนใหญ่ทิ้งไปครับ
    19 มิ.ย. 2561 เวลา 01.03 น.
  • ช่างเล็กครับ
    สมควรแล้วที่ต้องประหารขยะสังคมและหวังว่าคดีน้องแก้มบนรถไฟก้อต้องประหารนะยังมีคดีที่เห็นๆอีกหลายคดีรวมถึงลูกตำรวจที่รุมฆ่าคนพิการด้วยนะประหารครัย
    19 มิ.ย. 2561 เวลา 00.13 น.
  • ya
    เชือดไก่ให้ลิงดู
    19 มิ.ย. 2561 เวลา 00.08 น.
  • ฟ้า บ่กั้น
    มันต้องอย่างนี้
    19 มิ.ย. 2561 เวลา 00.02 น.
ดูทั้งหมด