ไลฟ์สไตล์

#ชื่อนี้ที่ซุบซิบ - เฟื่องลดา

THINK TODAY
เผยแพร่ 19 ก.ย 2562 เวลา 09.04 น.

เวลามีเรื่องใครให้เม้าท์ เป็นประเด็นมาแรงแซงทางโค้ง

ชื่อคนที่ถูกเม้าท์คงหนีไม่พ้นเป็น Trending # ยอดนิยมใน Twitter  

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มีทั้งมาเดี่ยวๆ หรือมาเป็นคู่

เพราะหลายครั้งอ่านข่าวยังเผือกไม่สะใจพอ ต้องตามต่อมาดูความเห็นที่ใครต่อใครเม้าท์กันใน # 

วันนี้เลยอยากพามาดูกันค่ะ ว่าเรื่องที่เม้าท์กันใน # นั้นมีอะไร 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ว่ากันว่า # เป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้การพิมพ์ของเราคล้ายการพูดมากขึ้นค่ะ 

เวลาพิมพ์ปกติ แม้ใส่น้ำเสียงไปในประโยคไม่ได้ 

ก็มี # นี่แหละ ที่ใส่คำคมๆ สำนวนจ๊าบๆเพื่อเน้นย้ำโทนประโยคที่พิมพ์ว่าเรารู้สึกยังไง 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เช่น #เฉียบ #โสดยืนหนึ่ง #เหนื่อยจนท้อไปเอง และอีกมากมาย

#CelebrityGossip

เมื่อ # ยอดนิยมในช่วงเวลาหนึ่งๆมักมาพร้อมประเด็นที่ร้อนแรง

ความเห็นผ่าน # โดยเฉพาะข่าวซุบซิบดารา

จึงมักมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่แง่บวกมากๆก็แง่ลบสุดๆ 

คนที่ถูกวิจารณ์มักถูกนิยามเป็นตัวละครที่มีสีขาวหรือดำโดยอัตโนมัติ 

#A = ชู้ 

#B = คนดี 

#C = นางเอก 

ไม่มีใครตัดสินได้ว่า จริงๆแล้วสิ่งที่ชาวเน็ตส่วนใหญ่วิจารณ์ถูกหรือผิด 

แต่หากใครเข้าไปส่อง # เหล่านี้ ก็จะพบว่าในหลายครั้ง ความคิดเห็นที่ไปในทางเดียวกันมากๆไม่ว่าจะแง่บวกหรือลบ มักจะรุนแรงขึ้น 

คล้ายว่าเมื่อเราได้เจอคนคิดแบบเดียวกัน มักจะเกิดความรู้สึกว่า #เห็นไหมใครๆก็คิดแบบฉัน 

และเมื่อเสียงเล็กๆของใครต่อใครมารวมกัน # # # # # # # # 

ก็เกิดเป็นมวลอารมณ์ขนาดใหญ่ อาจเรียกสิ่งนี้ว่าเป็น ‘กระแส’ ที่ส่งไปถึงคนที่เป็นเจ้าของ # ที่ทุกคนกำลังพูดถึงกัน 

#HashtagActivism 

Hashtag อีกแบบที่มักจะมีอารมณ์มาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน 

คือ # ที่พูดถึงการรณรงค์เรื่องต่างๆ 

เช่น #MeToo ที่สนับสนุนให้ผู้หญิงที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศออกมาแชร์เรื่องราวของตัวเอง

เพื่อส่งพลังว่าเรื่องแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับผู้หญิงคนอื่นอีก

หรือ #GretaThunberg ชื่อของสาวน้อยที่ออกมารณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม ก็เป็น # ที่มีคนทั่วโลกเข้ามาถกเถียงถึงปัญหาโลกร้อนที่ Greta เป็นคนจุดประเด็นขึ้นมา 

สำหรับต้นตอที่มาของการรณรงค์เหล่านี้ ก็มีประเด็นที่มาจากเรื่องราวแง่ลบเช่นกัน 

ผู้หญิงที่ใช้ #MeToo ย่อมรู้สึกอึดอัดกับเรื่องราวการล่วงละเมิดทางเพศที่เคยโดน

เลยออกมาเล่า แม้จะรู้สึกไม่ดีที่ได้นึกย้อนเหตุการณ์ แต่พวกเธอก็หวังว่า # ที่เล่าออกไปจะขับเคลื่อนกระแสบางอย่างในสังคมได้  

กระแส # พลังที่ส่งออกไป 

เรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกนี้อาจดูเหมือนว่าแบ่งเป็นสองแบบหลักๆคือ แง่บวกกับแง่ลบ 

แต่พลังที่เราส่งออกไป อาจไม่จำเป็นต้องคล้อยตามเรื่องที่เกิดขึ้นทุกครั้ง 

นั่นคือ แม้เป็นเรื่องแง่ลบ เราก็ยังสามารถส่งกระแสพลังบวกให้กันได้

เช่น น้อง Greta ที่ส่งพลังบวกให้ทุกคนออกมาแก้ปัญหาโลกร้อน

จะเห็นได้ว่า พลังบวกที่พูดถึง 

ไม่ใช่การวิจารณ์โดยหยิบแค่ความเห็นแง่บวก หรือ การชื่นชมคนอื่นมาพูดเท่านั้น  

พลังบวกสามารถเป็นการวิจารณ์ที่พูดในแง่ลบ 

แต่เป็นการ ‘ติเพื่อก่อ’ โดยอยู่ในกรอบที่ไม่ล้ำเส้นใคร

เช่น หากวิจารณ์ใครในแง่ลบ ก็ไม่ควรล้ำเส้นไปถึงขั้น Bully หรือ พูดจารุนแรงกับคนๆนั้น   

การแสดงความคิดเห็นย่อมเป็นสิทธิของทุกคน

แล้วทุกวันนี้เราอยากส่งพลังที่สร้างกระแสแบบไหนให้สังคมของเรา 

ที่มา

https://www.hastac.org/blogs/cbthomas/2019/03/11/hashtag-activism-good-or-bad-civic-engagement

https://www.tintup.com/blog/how-hashtags-changed-the-way-we-talk/

About Me

Instagram: http://www.instagram.com/faunglada

Facebook: https://www.facebook.com/LDAWorld/

Youtube: https://www.youtube.com/ldaworld

Twitter: @faunglada

Website: www.ldaworld.com

ความเห็น 4
  • ในการพิจรณาถึงในความเหมาะสมและถูกต้องให้ดีแล้ว ย่อมสามารถที่จะทำให้รู้ได้ว่าควรจะทำเช่นไร.
    19 ก.ย 2562 เวลา 13.26 น.
  • หลงตัวเองค่ะ
    19 ก.ย 2562 เวลา 11.15 น.
  • N_Tansuwannarat
    บทความนี้ประกอบไปด้วยสามเรื่อง 1. ตัวอักษรเป็นสิ่งที่ไร้ "ความนึกคิด" แต่มนุษย์เก่งในการทำให้เคลื่อนไหวทาง "ความรู้สึก" ได้เสมอ 2. กระแส มีหน้าที่ให้เรารู้ "ความเป็นมา" ไม่ใช่ให้เรารู้ "ความเป็นไป" 3. ข้อเสียของการแสดงความคิดเห็นคือ "เราเคารพตัวเองมากกว่าเคารพผู้คน"
    19 ก.ย 2562 เวลา 12.24 น.
  • Ok! Ok..alright..right now.
    19 ก.ย 2562 เวลา 11.32 น.
ดูทั้งหมด