ทั่วไป

ไม่ต้องกลัวสิ้นเดือนจะสิ้นใจ SCB ออก ‘มีตังค์’ ให้เบิกเงินเดือนล่วงหน้า หวังอุดปัญหาหนี้นอกระบบ

THE STANDARD
อัพเดต 16 ต.ค. 2562 เวลา 09.21 น. • เผยแพร่ 16 ต.ค. 2562 เวลา 09.21 น. • thestandard.co
ไม่ต้องกลัวสิ้นเดือนจะสิ้นใจ SCB ออก ‘มีตังค์’ ให้เบิกเงินเดือนล่วงหน้า หวังอุดปัญหาหนี้นอกระบบ

หากนับเฉพาะในเอเชียด้วยกัน ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้ระบุว่า ไทยมีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงถึง 78.6% เป็นอันดับสองรองจากเกาหลีใต้ ที่มีสัดส่วน 97.7% อันดับสามเป็นฮ่องกง 72.2% แม้ไทยกับฮ่องกงจะมีสัดส่วนที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่ความต่างสำคัญคือชาวฮ่องกงมีรายได้ที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น เงินที่เหลือหลังจากชำระหนี้จึงมีมากพอที่จะใช้ไปทั้งเดือน

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ต่างจากเมืองไทยที่เงินเดือนไม่ได้สูงมาก เมื่อต้องนำเงินส่วนใหญ่ไปชำระหนี้เงินที่เหลือจึงไม่เพียงพอที่จะใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทางออกจึงออกไปกู้เงินนอกระบบมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 

 

เรื่องนี้สอดคล้องกับผลวิจัยของ SCB ที่ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาท จำนวน 3,000 ตัวอย่าง พบว่ามนุษย์เงินเดือนราว 80% ของกลุ่มตัวอย่างเคยกู้เงินนอกระบบ และ 88% มียอดเงินกู้น้อยกว่า 15,000 บาท ขณะที่ 57% ของกลุ่มตัวอย่างระบุว่าปัญหาหนี้สินทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

เรื่องดังกล่าวกลายเป็นที่มาของ SCB ในการการออก ‘มีตังค์’ หนึ่งในบริการพิเศษของ SCB Payroll Solution โดยเป็นบริการ ‘เบิกเงินเดือนล่วงหน้า’ (On-Demand Access Wages) เป็นธนาคารแรกในไทย โดยสามารถเบิกเงินเดือนได้เท่ากับจำนวนวันที่ได้ทำงานจริงมาแล้วในเดือนนั้นๆ สูงสุดไม่เกิน 50% ของเงินเดือน หรือไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน (หรือตามที่นายจ้างกำหนด)

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สามารถเบิกเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านฟังก์ชัน มีตังค์ ในแอปพลิเคชัน SCB Easy ซึ่ง SCB จะเป็นผู้สำรองเงินที่ออกไปก่อน และจะหักเงินคืนในการจ่ายเงินเดือนครั้งถัดไป โดยมีค่าธรรมเนียมการเบิกเงินล่วงหน้า 1,000 ละ 20 บาท แต่องค์กรที่จะเข้าร่วมได้ต้องใช้ระบบ Payroll ของ SCB ก่อน 

 

SCB เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อองค์กร เพราะผลวิจัยของสหรัฐอเมริกา ที่สำรวจผลจากการมอบสวัสดิการนี้ให้กับพนักงานพบว่า สวัสดิการเบิกเงินเดือนล่วงหน้าช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน สร้างความผูกพันกับองค์กร ช่วยให้อัตราการลาออกของพนักงานลดลง 28% และลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาบุคลากร ซึ่งในต่างประเทศมีการมอบสวัสดิการเช่นนี้อย่างแพร่หลาย ขณะเดียวกันจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นหนี้นอกระบบของพนักงานด้วย

 

เบื้องต้นได้ทดลองให้บริการกับ วิลล่า มาร์เก็ต และ อำพลฟูดส์ เป็น 2 แห่งแรก อรพงศ์ เทียนเงิน ผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า หลังจากนี้จะนำข้อมูลที่เกิดขึ้นมาประเมิน ค่อยวางแผนขยายให้บริการต่อไป ซึ่งบริการนี้สามารถต่อยอดไปยังกลุ่มสินเชื่อได้ด้วย

 

“ไม่ใช่ว่า SCB ไม่อยากขยายบริการ แต่ที่ผ่านมาเราไม่เคยมีข้อมูลและพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือนมาก่อน ดังนั้น ข้อมูลที่เกิดขึ้นจะถูกนำมาประมวลผลค่อยขยายซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก ทุกอย่างทำในช่องทางดิจิทัลไม่ต้องเสียเวลาไปตรวจสอบเอกสาร”

 

อย่างไรก็ตามในปีนี้ SCB คาดว่าจะสามารถขยายบัญชีเงินเดือนเพิ่มได้กว่า 20% จากปัจจุบันที่มีฐานบัญชีเงินเดือนอยู่ที่ 2 ล้านบัญชี

 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 2
  • เทพรักษ์ รักษ์แก้ว
    100 ละ 2 บาท
    16 ต.ค. 2562 เวลา 12.38 น.
  • 1000ละ20 แพงไปหน่อยนะ ลดลงสักครึ่งนึงกำลังสวย
    16 ต.ค. 2562 เวลา 10.38 น.
ดูทั้งหมด