ทั่วไป

E-DUANG : ปรากฎการณ์ ใหม่ ทางการเมือง ปรากฏการณ์ ใน “อนาคตใหม่”

มติชนสุดสัปดาห์
อัพเดต 23 ต.ค. 2562 เวลา 01.04 น. • เผยแพร่ 23 ต.ค. 2562 เวลา 01.04 น.

จากกรณี”ถวายสัตย์ปฏิญาณตน”เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม กระทั่งมาถึงกรณี”พระราชกำหนด” และ”ร่างพรบ.งบประมาณ”เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ได้สะท้อนให้เห็น”พลวัต”อันแหลมคมยิ่งในทางการเมือง

โดยเฉพาะการเมืองใน 7 พรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยเฉพาะการเมืองในพรรคอนาคตใหม่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทั้งเรื่องที่เป็น”นวัตกรรม” ทั้งเรื่องที่รู้สึกว่าเป็น “ปัญหา”

หากนำเอาแต่ละกรณีจาก”ถวายสัตย์ปฏิญาณตน”ในเดือนกรกฎาคม เรื่อยมาจนถึงเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม ก็จะสัมผัสได้ในปัญหาและความขัดแย้งที่ดำรงอยู่

ในที่สุดก็ปะทุผ่าน”พระราชกำหนด” ในที่สุดก็ปะทุผ่านการผ่านวาระแรกของร่างพรบ.งบประมาณ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เกิด”โกลาหล”ด้วย”งูเห่าส้ม”จากชลบุรี

 

น่าสังเกตว่าต่อกรณี”ถวายสัตย์ปฏิญาณตน” นับแต่พรรคอนาคตใหม่ เปิดประเด็นขึ้นในวันที่ 25 กรกฎาคม ภายใน 7 พรรคฝ่ายค้านร่วมก็บังเกิดเอกภาพในทางความคิด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แม้รัฐบาลจะพยายามทำให้กรณี”ถวายสัตย์ปฏิญาณตน”มีความอ่อนไหวมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

เพื่อสยบมิให้ 7 พรรคฝ่ายค้านร่วมเดินหน้าเคลื่อนไหว

กระนั้น 7 พรรคฝ่ายค้านร่วมโดยเฉพาะพรรคอนาคตใหม่กับพรรคเพื่อไทยล้วนร้องเพลงด้วยคีย์เดียวกัน

แต่พลันที่กรณี”พระราชกำหนด”ปรากฏขึ้นในวันที่ 17 ตุลาคม เส้นทางระหว่างพรรคอนาคตใหม่กับ 6 พรรคฝ่ายค้านร่วมก็ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ยิ่งกว่านั้น แม้ภายในพรรคอนาคตใหม่จะเป็นเอกภาพถึง 70 แต่ก็ยังมีบางส่วนที่สวนทางกับมติของพรรคอย่างเด่นชัด

 

มาถึงการพิจารณา”ร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563” 7 พรรคฝ่ายค้านก็มีความเป็นเอกภาพในทาง ความคิดอีกคำรบหนึ่ง

แต่การสวนมติพรรคปรากฏขึ้นที่พรรคอนาคตใหม่อย่างที่เรียกว่าเป็น”กรณีงูเห่าส้ม”อันอื้อฉาว

น่าสนใจก็ตรงที่ ส.ส.คนเดียวกันนี้ก็สวนมติจากกรณี”พระราชกำหนด” กลายเป็นการเดินสวนกับมติพรรค 2 ครั้งภายในห้วงของเดือนตุลาคม

นี่คือปรากฏการณ์อันสะท้อนสภาพ”ภายใน”พรรคอนาคตใหม่

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 7
  • Tosapol
    ประชาธิปไตยคือการยอมรับเสียงส่วนใหญ่ มติพรรคคือเสียงส่วนใหญ่ การโหวตสวนมติพรรคก็จะเป็นเสียงส่วนน้อย การที่จะเอาเสียงส่วนน้อยโดยไม่สนเสียงส่วนใหญ่ก็คือเผด็จการนั่นเอง
    23 ต.ค. 2562 เวลา 02.26 น.
  • Teamchart
    ออกมากันครับ เพื่อชาติ อย่าไปสนับสนุนอัดมการณ์จอมปลอมพรรคนี้เลย มาทำการเมืองใหม่แบบสร้างสรรค์ไม่ทำลายคู่แข่ง ที่สำคัญสำนึกความเป็นคนไทย ไม่คิดชั่วกับประเทศตัวเอง ไม่ชักศึกต่างๆเข้ามา เรายินดีสนับสนุนพวกท่าน ออกจากพรรคนี้
    23 ต.ค. 2562 เวลา 02.28 น.
  • กูณฑ ์เมฆะเทวะ
    เมื่อเป็นศรีตรู อริ คิดล้มล้างแผ่นดินชาติ สถาบัน ก็ย่อมต้องพินาศไปตามแรงอาถรรพ์ ดาวอริหมายเลข 4 แห่งดวงเมือง ให้อ่อนแรง รวนเร แตกแยก และพินาศในที่สุด ดีงเช่นรุ่นก่อน ๆ ที่ผ่านมา ??? อย่าพึงเชื่อ จนกว่าจะพินาศแล้ว ??
    23 ต.ค. 2562 เวลา 01.31 น.
  • @mnatton
    การบัญญัติหลักการไว้ใน รธน.ให้ ส.ส.มีเอกสิทธิ์ในการโหวตเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักประชาธิปไตย แม้อาจทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ แต่ก็ยังดีกว่าที่จะให้ ส.ส.อยู่ในสภาพที่ไม่ต่างไปจากพนักงานบริษัทที่คอยฟังคำสั่งจากมติพรรคหรือผู้บริหารพรรค ไม่มีอิสระในการโหวตหรือแสดงความเห็น ส่วนการจะใหั ส.ส.ใช้เอกสิทธิ์นั้นโดยสุจริตตามความเห็นของตนจริงๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม ไม่ใช่ใช้โดยไม่สุจริต ก็ควรเป็นเรื่องของการคัดเลือกตัวบุคคลของแต่ละพรรค ไม่ใช่ห้ามโหวตสวนมติ ใครฝ่าฝืนมีโทษ อันนี้ไม่น่าจะเรียกว่า ปชต.
    23 ต.ค. 2562 เวลา 03.00 น.
  • Poom🖤
    ประชาธิปไตยสีส้มหวะ 1 2 3 ฮิ้วววววววววววววว พรรคที่แสนดี จริงๆ 5555
    23 ต.ค. 2562 เวลา 03.48 น.
ดูทั้งหมด