ทั่วไป

"ทนายเดชา"ชี้ปล่อย'กู้เงินเถื่อน' เจอฟัน3ข้อหาหนักแน่!

เดลินิวส์
อัพเดต 19 พ.ย. 2562 เวลา 12.31 น. • เผยแพร่ 19 พ.ย. 2562 เวลา 11.38 น. • Dailynews
“ทนายเดชา” เผยข้อกฎหมาย ขบวนการ “กู้เงินเถื่อน” ผ่านแอพพลิเคชั่น หลอกเหยื่อหลงเชื่อ วงเงินน้อยจ่ายคืนใน 7 วัน แต่กลับเสียค่าสมาชิกสุดแพง จ่อเจอข้อหาหนัก ขอหน่วยงานใหญ่เร่งตรวจสอบ!

จากกรณี น.ส.หนิง(นามสมมุติ) พนักงานบริษัทวัย 31 ปี เข้าร้องเรียนกับ "เดลินิวส์ออนไลน์" ขอความช่วยเหลือ หลังเดือดร้อนจนหลงเชื่อ โหลดแอพพลิเคชั่นกู้เงินด่วน วงเงินน้อยจ่ายคืนใน 7 วัน แต่กลับต้องจ่ายเงินค่าสมาาชิกสุดแพง แถมคืนช้าเจอไล่โทรตามทวงถึงที่ทำงานตามที่ได้นำเสนอไปแล้วนั้น

โดยล่าสุด "นายเดชา กิติวิทยานันท์" ทนายความชื่อดัง ได้เผยกับ "เดลินิวส์ออนไลน์" เพิ่มเติมว่า ตอนนี้หญิงสาวคนดังกล่าวได้มาพบตนเพื่อปรึกษาขอความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย ก็พบว่าการกระทำของผู้ที่เปิดแอพพลิเคชั่นให้กู้เงินดังกล่าวนั้น เข้าข่ายความผิด 3 เรื่องด้วยกัน คือ 1.พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ. 2560 มาตรา 4 บุคคลใดให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินหรือกระทําการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการอําพรางการให้กู้ยืมเงิน โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (1) เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกําหนดไว้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

2.ความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา

และ 3.พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มาตรา 11 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะดังต่อไปนี้ (3) การแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับ การทวงถามหนี้เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา 8 วรรคสอง (2) นอกจากนี้ การประกอบการปล่อยกู้นั้น ต้องมีการขออนุญาตจากทางธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนอีกด้วย นับว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ทางตำรวจและทางธนาคารแห่งประเทศไทยต้องเร่งเข้ามาตรวจสอบ เพราะกลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายของขบวนการให้กู้แบบนี้มักจะมีผู้มีรายได้น้อย ที่จะเกิดความเดือดร้อนมากอีกด้วย..

ข่าวที่เกี่ยวข้อง..

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

-สาววอนช่วยเจอ"กู้เงินเถื่อน"แบบใหม่โผล่แอพฯแนะนำ

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 10
  • kamen rider
    ไม่มีเจ้าพ่อเจ้าแม่เงินกู้ที่ไหน เดินไปเคาะประตูหน้าบ้าน แล้วกราบตีนบุคคลทั่วไปให้กู้ผมเถิดครับ เพราะอะไรคนถึงใช้บริการแบบนี้ เพราะให้กู้กับภาครัฐ ต้องใช้หลักทรัพย์ ทรัพย์สินค้ำประกัน วุ่นวายเยอะแยะ คนหาเช้ากินค่ำหมดสิทธิกู้ เขาก็ต้องเลือกทางนี้ ที่เป็นเงินด่วน ...แล่วยังไง มีบทลงโทษอะไรกับลูกหนี้นอกระบบที่กู้มากินหรูอยู่สบาย ตอนจะจ่ายกลับเฉย ฟ้องศูนย์นั้นศูนย์นี้บ้างไหมครับ
    19 พ.ย. 2562 เวลา 16.07 น.
  • ป๋ายงค์
    แล้วคนที่ไปกู้เขาแล้วบอกจะให้ดอกเบี่ยแพงๆแล้วไม่ให้เขาทั้งต้นและดอกมันไม่เข้าข่ายหลอกลวงต้มตุ๋นหลือครับท่านเผือก
    19 พ.ย. 2562 เวลา 15.50 น.
  • manop
    เผือกไปทุกเรื่อง
    19 พ.ย. 2562 เวลา 14.49 น.
  • sommart
    เขาไม่ได้บังคับให้กู้
    19 พ.ย. 2562 เวลา 15.50 น.
  • SAK@N
    คนกู้น่าจะมีความผิดด้วย พอกู้เอาเงินเขาไปไม่มีปัญญาใช้คืนก็แจ้งความออกสื่อกะจะเบี้ยวว่างั้น รู้ตั้งแต่ต้นยังดันไปกู้อีก
    19 พ.ย. 2562 เวลา 16.23 น.
ดูทั้งหมด