ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

สมาคมโรงพยาบาลเอกชนค้านคุมค่ายา-บริการแพทย์

NATIONTV
เผยแพร่ 15 ม.ค. 2562 เวลา 12.04 น. • Nation TV
สมาคมโรงพยาบาลเอกชนค้านคุมค่ายา-บริการแพทย์

สมาคมโรงพยาบาลเอกชน ค้านกระทรวงพาณิชย์นำค่าเวชภัณฑ์และค่าบริการทางการแพทย์เป็นสินค้าควบคุม แจง รพ.เอกชนเป็นบริการทางเลือก แนะประชาชนรักษาตามสิทธิ์ ด้านสนธิรัตน์ขอฟังข้อมูลทุกฝ่ายก่อนสรุปมาตรการบังคับใช้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช กล่าวว่า จากกรณีกรมการค้าภายใน เตรียมประกาศให้ค่ายา เวชภัณฑ์ และค่ารักษาพยาบาล รพ.เอกชน เป็นสินค้าควบคุมว่า เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนในส่วนของค่ายาในโรงพยาบาลเอกชนที่แตกต่างจากร้านขายยา เพราะมีระบบการจัดเก็บที่ต้องอาศัยการควบคุมอุณหภูมิ คุณภาพ มีเภสัขกรดูแล จึงมีต้นทุนที่สูง 

ซึ่งตามกฎหมายได้มีการกำหนดนิยามความหมายของยาและค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลและประกาศของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 และล่าสุดที่ปรับในปี พ.ศ. 2561 โรงพยาบาลเอกชนได้ถือปฏิบัติมาโดยตลอด โดยในพระราชบัญญัติมีการกำหนดมาตรฐานทางบัญชีในรายละเอียดค่ารักษาพยาบาลไว้อย่างชัดเจน ทั้งเรื่องชนิดและประเภทการรักษาพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์ การบริการทางการแพทย์ และการบริการอื่นๆ ของสถานพยาบาล และสิทธิของผู้ป่วย ดังนั้นค่ายาในโรงพยาบาลเอกชนจึงประกอบด้วยรายละเอียดมากมายไม่ใช่เป็นค่ายาเพียงอย่างเดียว ส่วนกรณีค่าแพทย์ที่มีการระบุว่าเป็นอัตราสูงนั้น เป็นการกำหนดโดยแพทยสภาทั้งสิ้น ไม่ได้ตั้งราคากันเอง

(กราฟฟิค) ทั้งนี้ คนไทยทุกคนสามารถรับการรักษาพยาบาลตามสิทธิ์ของตนเอง ทั้งสิทธิ์หลักประกันสุขภาพ สิทธิ์ประกันสังคม และสิทธิ์ข้าราชการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ รวมถึงในภาวะฉุกเฉินวิกฤตก็มีกฎหมายที่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายในไม่เกิน 72 ชั่วโมง ซึ่งการรักษาพยาบาลตามสิทธิ ก็จะไม่มีค่าใช้จ่าย แต่หากมารับการรักษาที่ รพ.ที่ไม่ใช่สิทธิการรักษาก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง  เพราะฉะนั้นอยากให้ประชาชนเลือกรักษาพยาบาลตามกำลังทรัพทย์  เพราะ รพ.เอกชน เป็นหนึ่งในทางเลือกการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า รพ.ของรัฐ ตามต้นทุนที่สูง แต่ในขณะเดียวกันยังมีโรงพยาบาลเอกชนที่ร่วมรับดูแลผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพและระบบประกันสังคม ซึ่งช่วยรับผิดชอบดูแลจนถึงที่สุดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ผลจากการสำรวจพบว่า 64.8% ของโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ เข้าร่วมในโครงการประกันสุขภาพ และอีก 35.2% ไม่ได้เข้าร่วม  สำหรับประเภทประกันสุขภาพ พบว่ามีโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน 62.7% ให้บริการในประเภทกองทุนเงินทดแทน ส่วน 60.4% ให้บริการในประเภทประกันสุขภาพเอกชน  55.5% ให้บริการในประเภทการประกันสังคม  32.9% ให้บริการในประเภทกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และ  29.3% ให้บริการสำหรับโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ทั้งนี้ ด้วยนโยบายของประเทศไทยที่จะให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ทำให้ชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามารับการรักษาในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเหตุผลของชาวต่างชาติที่เข้ามารักษาในไทยคือค่ารักษาพยาบาลไม่แพง บุคลากรทางการแพทย์เป็นมิตรกับผู้ป่วย และความสามารถของแพทย์ไทยที่มีความเชี่ยวชาญหลายด้าน ประกอบกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย หากมีการกำกับค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนจะทำให้ไม่มีการลงทุนในด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ ที่ทันสมัย ทำให้ศักยภาพในการแข่งขันของประเทศลดลง

ในด้านผลการดำเนินกิจการปี 2559 พบว่า การดำเนินกิจการในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจของประเทศถึง 99,427 ล้านบาท ซึ่งมาจากมูลค่ารายรับจากการดำเนินกิจการ 234,327.2 ล้านบาท หักด้วยค่าใช้จ่ายขั้นกลางในการดำเนินการ 134,900.2 ล้านบาท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ซึ่งในการประชุมด่วนร่วมกันระหว่าง รมว.พาณิชย์ รพ.เอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(11 ม.ค). ที่ประชุมก็ได้รับฟังข้อมูลจากทางสมาคมมากพอสมควร รวมถึงประเด็นที่ รพ.เอกชนต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.สถานพยาบาล ซึ่งข้อกำหนดนั้นทำให้เกิดต้นทุนค่ารักษา ค่ายาเพิ่มขึ้น ซึ่งที่ประชุมก็จะนำกลับไปพิจารณาถึงรายละเอียดเพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลกระทบมาก 

ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ระบุ กระทรวงฯยังคงยืนยันว่าจะเดินนหน้าดูแลค่ารักษาพยายาบาล ตามที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ หรือ กกร. เห็นชอบให้นำค่าเวชภัณฑ์และค่าบริการรักษาพยาบาล เข้ามาอยู่ในบัญชีสินค้าและบริการควบคุม 

แต่ก่อนจะนำเรื่องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา จะขอรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่าย โดยอยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดเพื่อประเมินผลกระทบทั้งหมด และจะหาข้อสรุปถึงมาตรการในการดูแล ยืนยันว่ามาตรการที่จะบังคับใช้ ทุกฝ่ายจะต้องเห็นพ้องร่วมกัน เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • P'กานต์
    ราคาแพง ก็คือ แพง ครับหมอ .... คนป่วยที่จ่ายเงิน ไปแต่ละโรงบาล ไปคลีนิค เขารู้ดีว่าราคาต่างกันมากครับ
    16 ม.ค. 2562 เวลา 13.24 น.
  • จนแล้วยังงัยวะ... คนจนก้อยากจะรักษาโรงบาลที่ดีๆเหมือนกับพวกมึงนั่นแหละ.. คนจนก้อคน... หายใจเอาอากาสธาตุ​เหมือนพวกมึงนั่นแหละ... ไอ้พวกคนรวยถ้ารวยด้วยความซื่อสัตย์​สุจริต​กุขอให้พวกท่านโคตรๆรวยต่อไป... แต่ไอ้พวกรวยแบบที่ไปโกงกินคนอื่นเขาพวกที่โกงกินภาษีบ้านเมืองก้อขอสาบแช่งให้พวกมึงชิบหายไวๆพวกมึงจะได้รู้บ้างงัยว่า... ที่เค้าว่าจนมันเป็นยังงัย
    16 ม.ค. 2562 เวลา 08.51 น.
  • S.
    แผนคืออยากแบ่งเบาภาระ รพ รัฐ แล้วมันแฟร์ไหม มันคือธุรกิจทางเลือก สำหรับคนที่วางแผนชีวิต ทำงานเก็บเงิน ซื้อประกันสุขภาพดีๆ เพื่อไว้รักษา รพ เอกชน ทุกรัฐบาลก็อยากเอาสวัสดิการไปปรนเปรอ เพื่อสร้างคะแนนเสียง กับคนอีกกลุ่มที่ใช้ชีวิตไปวันๆ กินเหล้า เล่นหวย เล่นพนัน ใช้ชีวิตเป็นขอทาน
    15 ม.ค. 2562 เวลา 15.24 น.
  • ไม่มีศักย​ภาพ​ในการสร้างโรงพยาบาล​รัฐ​ ให้มาก และ คุณภาพ​การรักษาและบริการดีพอ เลยคิดจะมาบีบคั้น รพ เอกชน ซึ่งเป็นโรงพยาบาล​ทางเลือก และเป็นองค์กร​ที่ต้องแสวงหาผลกำไร มันไม่ทุเรศไปหรอครับ ในเมื่อ รพ รัฐก็มีเป็นทางเลือกหลักๆ อยู่แล้ว​ ไม่ยากหรอกครับ ถ้าบีบคั้น​มาก ก็เบนเข็ม​ไปสู่ธุรกิจ​อื่น โรงแรม ที่พัก​ อพาร์ทเม้นท์​หรูๆ ให้เช่า ล้วนแต่ทำกำไรดีไม่แพ้ รพ เอกชน หรืออาจจะ​ทำได้มากกว่า​ด้วยซ้ำ ทยอยกันยกเลิกธุรกิจ​ประเภทนี้ กันจนไม่เหลือ แล้วก็จะเหลือ​แต่ รพ รัฐ พวกที้ลำบาก ก็คือคนจน
    15 ม.ค. 2562 เวลา 14.35 น.
  • Jew1565
    รพ.เอกชน เป็นธุรกิจที่ทำกำไรมหาศาล ขูดรีดผู้ป่วยทุกขั้นตอน ควรมีกฎหมายควบคุมราคาทุกขั้นตอนและบังคับใช้ให้เข้มงวด เพื่อปชช.คนไทยทั้งประเทศ
    15 ม.ค. 2562 เวลา 14.02 น.
ดูทั้งหมด