เด็กๆในสังคม “เกมออนไลน์” หยาบคายจนเป็นนิสัย โตไปสังคมไทยจะเป็นอย่างไร?
กระแส e-sport หรือกีฬาที่แข่งโดยใช้เกมเป็นเครื่องมือหลักนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ ที่วงการเกมต่างๆ คึกครื้นกว่าที่เคยเป็นมา มีเกมใหม่ๆ เปิดตัวขึ้นราวกับดอกเห็ด และปฏิเสธไม่ได้เลยว่านี่คือวงการที่มีเม็ดเงินสะพัดมหาศาลอีกวงการหนึ่ง
การเติบโตอย่างรวดเร็วและการทำการตลาดอย่างต่อเนื่องทำให้การเล่นเกม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนสมาร์ทโฟนแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว และกลุ่มเป้าหมายก็ยิ่งขยายฐานกว้างขึ้นเรื่อยๆ
แต่ภายในความสนุกสนานกลับมาพร้อม “สังคมเกม” ที่ชวนหงุดหงิดใจ
ยกตัวอย่างชาว “ตีป้อม” ทั้งหลาย (ที่คุ้นชินกับอาการหัวร้อนเสมอเวลาฐานจะแตก หรือตัว “ฟาร์ม” มัวแต่ฟาร์มไม่ยอมออกจากป่า) ที่ต้องพบเจอกับคำพูดคำจาที่ต้องตกใจว่า “หยาบ” ได้เพียงนี้เชียวหรือ
คำด่าสารพัดสัตว์ ไปจนถึงการด่าว่าเป็นลูกโสเภณี (เชื่อเถอะ เวลาพิมพ์ด่ากันในเกมจะเป็นคำอื่นที่แรงกว่านี้) ไม่น่าเชื่อว่านี่คือคำพูดคำจาที่พ่นใส่กันเป็นปกติยาม “หัวร้อน” เกินจะห้ามตัวเองไหว
และยิ่งหลังๆ มานี้ ดูราวกับว่าสังคมเกมในไทยจะเจอแต่คำรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆ กับการเติบโตอย่างรุดหน้าของวงการ e-sport ไทย
ที่ไม่น่าเชื่อคือบางครั้งคนที่แสดงออกถึงความก้าวร้าวหยาบายแบบนี้กลับเป็นเด็กอายุไม่ถึงสิบขวบ
หลายคนอาจจะมองว่านี่ไม่ใช่ “เรื่องอันตราย” หรือ “แปลกใหม่” แต่เราอย่าลืมว่า เมื่อเด็กได้ทำสิ่งใดซ้ำๆ นั่นจะกลายเป็นการบ่มเพาะนิสัยเสียนี้โดยไม่รู้ตัว
การพิมพ์ด่ากันในเกมนั้นง่าย ง่ายเพราะไม่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ทำ ง่ายเพราะไม่มีใครรู้ว่าเราเป็นใคร ง่ายเพราะเราได้ระบายด้านหยาบในใจออกไปผ่านตัวหนังสือ
ไม่ต่างอะไรกับการด่าคนอื่นในโลกโซเชี่ยลมีเดียโดยที่เราไม่ต้องรับผิดชอบแบบที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ นั่นแล
ทีนี้… เกมคือแหล่งบ่มเพาะความหยาบคายของเด็กหรือไม่?
เราคงต้องยอมรับ โดยไม่เข้าข้าง “เกม” อย่างเดียวว่า “ใช่” การที่เราไม่ต้องแสดงตัวตนไปมากกว่าชื่อที่สร้างขึ้นมาเองทำให้การด่าอีกฝ่ายด้วยถ้อยคำต่างๆ นั้นง่ายกว่าปอกกล้วยเข้าปาก
แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร?
ง่ายสุดคือการเล่นอย่างเหมาะสม อย่าว่าแต่เด็กเลย แม้แต่ผู้ใหญ่เองก็เช่นกัน การเล่นเกมในปริมาณที่เหมาะสมทำให้สุขภาพจิตไม่ถูกบั่นทอนมากเกินจำเป็น
ผู้ปกครองเองก็เป็นคนสำคัญ การที่เด็กคนหนึ่งไปแสดงออกในเกมเช่นนั้นย่อมสะท้อนถึงอะไรบางอย่าง พ่อแม่ได้สั่งสอนหรือดูแลลูกอย่างไร สิ่งนั้นย่อมสะท้อนออกมาในทางใดทางหนึ่ง
ผู้เล่นด้วยกันเองก็เช่นกัน ถ้าอยากให้สังคมเกมบ้านเราน่าอยู่ ก็จงเริ่มที่ตัวเองก่อน คอเกมรู้อยู่แล้วว่าถ้าวงการเกมคึกคัก และ e-sport ได้รับการสนับสนุนมากกว่านี้ ก็เหมือนกับการเห็นสิ่งที่ตัวเองรักและชอบ ได้มีพัฒนาการไปอีกขั้น แล้วเราอยากให้การเติบโตนั้นสวนทางกับสังคมผู้เล่นที่ฟอนเฟะหรือ
ในเมื่อคนในสังคมบางส่วนมอง “เกม” ว่าเป็นสิ่ง “มัวเมา” อยู่แล้ว ก็จงช่วยกันอย่าให้เกมที่เราชอบ กลายเป็น “สังคมบ่มเพาะความหยาบคาย” เพิ่มไปกว่านี้อีกเลย
ถ้ารักมัน จงช่วยกันทำมันให้ดีและน่าอยู่กันเถิด
ขอบคุณภาพประกอบจาก
https://www.tcijthai.com/news/2013/09/scoop/2503
https://thaitechnewsfeed.com/tag/dtac/page/12/
https://realtimesubscriber.com/video/2-isuzu-vs-toyota/FfDrfYZ9PdQ
kai นักโทษที่อยู่ในคุก ในปัจจุบันนี้
เล่นเกมส์ออนไลน์ ก่อนติดคุก กี่เปอร์เซ็นต์?
26 พ.ย. 2561 เวลา 16.48 น.
Jom_BP🐗 มันก็หยาบกันมานานแล้ว ยิ่งเด็กต่อหน้าพ่อแม่ทำเรียบร้อย แต่รับหลังก้าวร้าวไม่ใช่แค่ในเกม ต่อให้ไม่เล่นเกมมันก็หยาบ เด็กมันเสพทุกทาง แค่เกมมันน้อยไปดูโดยรวมด้วย อย่าลืมทุกวันนี้สืบจนถึงบ้านได้ พรบ. คอมก็ฟ้องหมินได้แม้ในเกม ถ้าจะเอาจนิงๆ
20 พ.ย. 2561 เวลา 00.21 น.
ณัฐพงษ์ จิตต์เจริญ ทั้งๆ ที่เกิดจากพฤติกรรมลอกเลียนแบบที่ต่างคนต่างแสดงออกมา ความหยาบช้าเป็นกลุ่มก้อนไม่ได้เกิดจากโซเชียลหรือเกมส์ แต่เกิดจากการบกพร่องในการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ผู้ปกครองครูอาจารย์ที่ปล่อยสัตว์ป่าจำนวนมากเข้าสู่สังคม อย่าโทษอย่างอื่นครับ โทษที่สอนลูกไม่ดีขาดความเข้มงวด กลัวลูกจะไม่รัก สุดท้ายก็เชิญที่บ้านพักคนชรานะครับ สอนไม่ดีจะหวังผลดีๆ หวังว่าลูกจะดีคงเป็นไปไม่ได้ครับ คนสอนไร้คุณภาพเอง
16 พ.ย. 2561 เวลา 01.51 น.
KRS true2 กระทืบดิ นิสัยแบบรี้
14 พ.ย. 2561 เวลา 10.01 น.
ao ภาพยนต์ไทยอ่ะตัวดี แต่งตัวดีพูดมึงกูเชี้ย ปี้กันเอง ในหมู่เพื่อน รู้ว่าเรื่องจริงแต่ต้องนำเสนอมั้ย.
14 พ.ย. 2561 เวลา 08.14 น.
ดูทั้งหมด