ทั่วไป

ฮ่องกงพบ “สุนัข” ของผู้ป่วยโควิด-19 มีผลบวกอ่อนๆ ส่งตรวจซ้ำหาความจริง

TNN ช่อง16
อัพเดต 28 ก.พ. 2563 เวลา 06.13 น. • เผยแพร่ 28 ก.พ. 2563 เวลา 06.13 น. • TNN Thailand
สื่อฮ่องกงตีข่าวสุนัขของผู้ติดโควิด-19 ผลตรวจเป็น “บวก” เตรียมส่งตัวไปตรวจสอบว่าป่วยจริง หรือ แค่เคยสัมผัสกับสารปนเปื้อนไวรัส

วันนี้( 28 ก.พ. 63 ) สื่อsouth morning china รายงานว่าสุนัขของผู้ที่ติดไวรัสโควิด-19ในฮ่องกงได้ทำการทดสอบว่าติดเชื้อหรือไม่ปรากฏผลที่ออกมาเป็นบวกอ่อนๆ 

กรมวิชาการเกษตรประมงและการอนุรักษ์ของฮ่องกงออกแถลงการณ์ว่าสุนัขไม่ได้แสดงอาการป่วยใดๆและไม่มีหลักฐานแสดงว่าสัตว์เลี้ยงสามารถติดเชื้อจากมนุษย์หรือเป็นแหล่งแพร่เชื้อให้มนุษย์ได้ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าสุนัขตัวนี้ติดเชื้อโควิด-19 จริงๆหรือเป็นผลจากสารปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในปากของสุนัขและจมูก 

อย่างไรก็ตามองค์การอนามัยโลกระบุว่าไม่มีหลักฐานยืนยันว่าสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขหรือแมวสามารถติดเชื้อโควิด-19ได้แต่เจ้าของควรจะล้างมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง 

ข้อมูลจาก อ่านข้อมูลต้นฉบับ คลิก  south morning china และ The Government of the Hong Kong Special Administrative Region/ Press Releases

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 13
  • Fa 🎐
    ให้ข่าวที่ขัดเจน และยืนยันดีๆนะ มีกรณีที่เอาไปปล่อยและโยนทิ้งให้ตายบ้างล่ะ มาแล้ว สงสารมัน
    28 ก.พ. 2563 เวลา 05.06 น.
  • Wie geht es dir🥰
    ข่าวไม่ชัดเจนเดี๋ยวก็ฆ่าหมาตายอีก หรือ ไม่ก็ทิ้งหมาอีก
    28 ก.พ. 2563 เวลา 05.31 น.
  • มะเหมี่ยว ♌กรองขวัญ
    เขียนข่าวควรรอบคอบกว่านี้นะคะ ทั้งภาษาและข้อความที่เขียน พอมนุษย์บางคนเกิดการกลัวขึ้นมา คงได้มีการสังหารหมู่หมาแมว หรือทิ้งขว้างกันอย่างมากมายตามมาได้นะคะ
    28 ก.พ. 2563 เวลา 06.07 น.
  • Mommo😃
    เอาเข้าไป...ไวรัสนี้มันเก่งจริงๆ.ไปได้ทุกที่...เฮ้อ!
    28 ก.พ. 2563 เวลา 04.14 น.
  • Praneet. T. 87 💕
    จะให้ข่าวก็ค้นคว้าให้แน่ใจก่อนนะเดี๋ยวสุนัขจรจัดเต็มประเทศ สงสารหมา แมวใช้สมองคิดยาวๆหน่อย
    28 ก.พ. 2563 เวลา 06.27 น.
ดูทั้งหมด