ทั่วไป

AFMA กับแนวคิดยั่งยืนนิยม พาธุรกิจไทยยืนระดับโลก | O2O

TOJO NEWS
อัพเดต 15 ต.ค. 2566 เวลา 15.32 น. • เผยแพร่ 15 ต.ค. 2566 เวลา 08.32 น. • O2O Forum

นายธิราช รุ่งเรืองกนกกุล ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมการตลาดเพื่อเกษตรและอาหารแห่งเอเชียแปซิฟิก (AFMA) โดยองค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า AFMA ได้ทำงานร่วมกับ UN เพื่อแก้ไขปัญหาความอดอยากยากจนของประชากรโลก ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันแม้จะมีอาหารเพียงพอ แต่ยังมีผู้คนที่อดอยาก และยังมีวัตถุดิบอาหารที่เหลือทิ้ง หรือถูกทิ้งอยู่เป็นจำนวนมาก ดูเนื้อหาบน O2O Forum

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจะเป็นการสูญเปล่าแล้ว ของเหลือทิ้งเหล่านี้ยังทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ส่งผลกระทบกับโลกอีกด้วย คุณค่าของการเกษตรและอาหารจึงเชื่อมโยงไปสู่ด้านอื่นๆมากมาย ความร่วมมือในการทำงานครั้งนี้ จะเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรได้มีตัวตน และผู้บริโภคได้รับทราบแหล่งที่มาของอาหารผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มห่วงโซ่คุณค่าอาหาร FOOD Visibility.org ซึ่งจะนำเสนอองค์ความรู้ และช่วยเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตอาหารยั่งยืนกับผู้บริโภค

AFMA เข้าไปทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ ที่ผู้ซื้อของบริษัทเหล่านั้นต้องใช้มาตรฐานความยั่งยืนในการทำธุรกิจ

โดย AFMA เราทำงานภายใต้วัตถุประสงค์หลัก 3 ข้อ

1. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคนิคในการตลาดอาหารในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

2. เพื่อสร้างกลไกระหว่างสมาชิกให้เป็นระบบสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับด้านต่างๆ ของกิจกรรมการตลาดอาหาร

3. เพื่อเป็นที่สำคัญในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับองค์การอาหารและเกษตรของสหประชาชาติ (FAO) และองค์การระหว่างประเทศและภูมิภาคอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องหรือคล้ายกัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติ ได้สนับสนุนหลักปฏิบัติสำหรับการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบโดยเน้นการนำ ประเด็นด้าน ESG ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ธุรกิจควรเติบโตควบคู่ไปกับการคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ E- Environment , S- Social และ G- Governance ปัจจัยทั้งสามสิ่งนี้ มีความเชื่อมโยงและเกื้อหนุนกัน พร้อมช่วยสนับสนุนธุรกิจให้เติบโต ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ลงทุนมั่นใจได้ว่ามีส่วนร่วมสนับสนุนบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและเพื่อความยั่งยืนอย่างแท้จริง

SDG (Sustainable Development Goals) เป็นแนวทางให้แต่ละประเทศ ดำเนินการร่วมกัน โดยมีปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ ได้แก่ การพัฒนา, การดูแลสิ่งแวดล้อม, การสร้างเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง, การสร้างสันติภาพและความยุติธรรม, ความเป็นหุ้นส่วน การพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาและวิกฤตโลกที่เกิดขึ้น เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถในการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลัง

สำหรับภาครัฐ การสนับสนุนแนวคิด ESG จะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ BCG ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม มีกลยุทธ์ กระบวนการ ตัวชี้วัด ที่เชื่อมโยงกัน ทุกภาคส่วน ได้แก่ B-Bio economy, C-Circular economy และ G-Green economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียวใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี จัดการระบบเศรษฐกิจที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด

เมื่อมองย้อนกลับไปในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้ เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า โลกกำลังเผชิญกับปัญหารอบด้าน ทั้งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการแข่งขันที่สูงมากๆ คำว่า ยั่งยืนจึงเป็นคำตอบที่สามารถคลี่คลายปัญหาได้เป็นอย่างดี

ภาพที่เห็นชัดที่สุด คงหนีไม่พ้นช่วงปี 1900 – 2000 เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ในอเมริกา ในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ มีการนำทรัพยากรมาใช้ในปริมาณที่สูงมากเกินกว่าธรรมชาติจะรับไหว จนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น ในเชิงเศรษฐศาสตร์ มีการผูกขาดตลาด เกิดการกระจายรายได้ไม่เท่าเทียม และเกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจแก่อีกหลายบริษัท

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดแนวคิด การดำเนินธุรกิจอย่าง ‘ยั่งยืน’ หรือการสร้างการเติบโตอย่างสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจของบริษัท ความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม และการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคม โดยไม่ได้หวังผลในระยะสั้น แต่เน้นผลระยะยาวในอนาคต ดังนั้น หากคนไทยต้องการส่งสินค้าออกไปทั่วโลก ธุรกิจจะมีการต้องปรับตัวโดยให้ความสำคัญกับความยั่งยืน โดยปัจจัยสำคัญในการไปสู่ความยั่งยืนคือ ‘นวัตกรรมและเทคโนโลยี’ ซึ่งถือเป็นหัวใจที่บริษัทในยุคใหม่ให้ความสำคัญ ดูเนื้อหาบน O2O Forum

ติดตามบทความอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ O2O เพื่อไม่พลาดข่าวสารเทคโนโลยีดิจิทัลที่น่าติดตาม ทันโลก ทันเวลาไปกับเรา

เข้าร่วมคอมมูนิตี้ของเรา
Website : o2oforum
Facebook : o2oforum
Community : o2oforum
Line : @o2oforum
Subscribe : o2oforum
Tel : 0970344225, 0970347554, 0970343220, 0952156145

ดูข่าวต้นฉบับ