สุขภาพ

บริจาคเลือด กี่ครั้ง?? ถึงได้เข็มที่ระลึก และ รับสิทธิรักษาพยาบาลฟรี

MThai.com
เผยแพร่ 19 มี.ค. 2562 เวลา 00.54 น.
การให้ความช่วยเหลือค่าพยาบาลสำหรับผู้บริจาคโลหิต ต้องเข้ารับสิทธิการรักษาเป็นผู้ป่วยในเท่านั้น ในกรณีที่ผู้บริจาคโลหิตที่มีสิทธิพื้นฐาน เช่น บัตรทอง บัตรข้าราชการ และ ประกันสังคม ต้องใช้สิทธิ์นั้นก่อน

การให้ความช่วยเหลือค่าพยาบาลสำหรับผู้ บริจาคเลือด ต้องเข้ารับสิทธิการรักษาเป็นผู้ป่วยในเท่านั้น ในกรณีที่ผู้บริจาคเลือดที่มีสิทธิพื้นฐาน เช่น บัตรทอง บัตรข้าราชการ และ ประกันสังคม ต้องใช้สิทธิ์นั้นก่อน ซึ่งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติได้ชี้แจงข้อมูลต่างๆไว้ดีงนี้

โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การใช้สิทธิรักษาพยาบาลของผู้บริจาคโลหิต เป็นไปตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2558

บริจาคเลือด 1 ครั้ง ขึ้นไป

  • ได้รับการช่วยเหลือค่าห้องและค่าอาหารพิเศษ ตามสิทธิที่สามารถเบิกได้จากหน่วยงานต้นสังกัดก่อน
  • ส่วนที่เกินสิทธิให้เรียกเก็บ 50 %

*บริจาคเลือด 18 ครั้ง ขึ้นไป *

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
  • ได้รับการช่วยเหลือค่าห้องและค่าอาหารพิเศษ 50 % ตามอัตราที่กำหนดไว้

สอบถามรายละเอียด ได้ที่ฝ่ายปรับปรุง และพัฒนากฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โทร. 0 2590 1435

โรงพยาบาลในสังกัดสภากาชาดไทย

กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสังกัดสภากาชาดไทย ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ผู้บริจาคเลือด 7 ครั้งขึ้นไป

  • เสียค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ ไม่รวมค่ายาและเวชภัณฑ์
  • ถ้าอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด ผ่าตัดคลอดบุตร เสียค่าใช้จ่าย 50 % กรณีผ่าตัดโดยใช้อุปกรณ์พิเศษ ไม่ได้รับการยกเว้น

ผู้บริจาคเลือด 24 ครั้งขึ้นไป

  • ได้รับการยกเว้นค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ ไม่รวมค่ายาและเวชภัณฑ์
  • ถ้าอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด ผ่าตัดคลอดบุตร เสียค่าใช้จ่าย 50 % กรณีผ่าตัดโดยใช้อุปกรณ์พิเศษ ไม่ได้รับการยกเว้น

*สามารถสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โทร. 0 2256 4300 ,0 2263 9600-99 ต่อ 1760,1761 *

เงื่อนไขการขอรับความช่วยเหลือ

  • สิทธิเฉพาะตัวผู้บริจาคโลหิตไม่สามารถโดนสิทธิให้ผู้อื่นได้
  • นำบัตรประจำตัวของผู้บริจาคโลหิต มาขอหนังสือรับรอง ได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยถนนอังรีดูนังต์ ส่วนภูมิภาคขอหนังสือรับรองได้ที่ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ เหล่ากาชาดจังหวัด โรงพยาบาลประจำจังหวัด
  • หนังสือรับรองใช้ลดหย่อนการรักษาพยาบาลดังกล่าว เป็นครั้งๆไป สามารถสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

การแต่งกายรับเข็ม บริจาคเลือด

การแต่งกายของผู้เข้าเฝ้าฯ พิธีพระราชทานเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิต 36 ครั้ง และ 108 ครั้ง

  • ข้าราชการพลเรือน แต่งเครื่องแบบปกติขาว
  • ข้าราชการทหาร ตำรวจ ชั้นสัญญาบัตร รวมถึงนายดาบตำรวจ และจ่าสิบตำรวจ แต่งเครื่องแบบปกติขาว (ใช้กระบี่ และถุงมือ)
  • ข้าราชการทหาร ตำรวจ ชั้นประทวน แต่งเครื่องแบบปกติแขนยาว
  • สุภาพบุรษ แต่งชุดสากลนิยม ชุดซาฟารี เสื้อพระราชทาน เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีพื้น กางเกงขายาว สวมรองเท้าหุ้มส้นและสวมถุงเท้า ห้ามสวมชุดสีดำ ชุดขาว-ดำ เนคไท สีดำ เสื้อยืด กางเกงยีนส์ เสื้อแจ็คเก็ต เสื้อโปโล เนคไทดำ รองเท้ากีฬา รองเท้าผ้าใบ รองเท้าแตะ เป็นต้น
  • สุภาพสตรี แต่งกายชุดสุภาพ กระโปรงสุภาพ สวมรองเท้าคัดชู ห้ามสวม ชุดสีดำ ขาว-ดำ ชุดดำ ชุดกางเกง เสื้อกระโปรงที่เป็นผ้ายืด ผ้ายีนส์ รองเท้าสานที่เห็นนิ้วเท้า รองเท้าแตะ เป็นต้น
  • การเข้าภายในห้องพิธี ห้ามนำกระเป๋าถือ กล้องถ่ายรูป โทรศัพท์มือถือ เข้าห้องพิธีฯ

อ้างอิงจาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • กุเกลียดมึงคนไม่ดี
    นานละได้2เหรียญเนี่ยช่วงมีนาไปกันทุกปีแค่บริจาคเลือดเพิ่งจะมีนี่ละส่วนลดจนสามีลิกทำละรถมาหน้าบิ้กซีนางยังไม่ทำเลย
    20 มี.ค. 2562 เวลา 07.15 น.
ดูทั้งหมด