ไอที ธุรกิจ

ฟังเสียงผู้ใช้แอป “ไทยชนะ” เมื่อต้องสแกน “เข้า-ออก” วันละหลายรอบเป็นปัญหาหรือไม่

Brandbuffet
อัพเดต 05 มิ.ย. 2563 เวลา 16.26 น. • เผยแพร่ 05 มิ.ย. 2563 เวลา 10.36 น. • Insight

สถานการณ์ Covid-19 ในประเทศไทย ดีขึ้นต่อเนื่อง แม้ยังมีผู้ติดเชื้อใหม่ที่กลับจากต่างประเทศ แต่ในประเทศเป็น 0 รายมาหลายวัน แต่การดูแลป้องกันยังต้องทำต่อไป  มาตรการคลาย Lockdown มาถึงระยะ 3 ยังต้องเฝ้าระวังการใช้บริการในสถานที่ต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชั่น “ไทยชนะ” (Thaichana) ขอความร่วมมือ สแกน “เข้า-ออก” ทุกสถานที่ เพื่อสะดวกในการติดตาม หากพบเหตุการณ์การแพร่เชื้อภายหลัง

จากการเก็บข้อมูลของ โดย ZOCIAL EYE  ของ Wisesight  ระหว่างวันที่ 17-30 พฤษภาคม 2563 เพื่อดูว่า คนพูดถึงไทยชนะ อย่างไรบ้าง  จากจำนวนข้อความทั้งหมดที่เกิดขึ้น 91,807 ข้อความ  แบ่งสัดส่วนจากโซเชียลมีเดีย Facebook 64%  Twitter 33% YouTube 1%  โดยมี 5 หัวข้อดังนี้  การออกจากบ้าน  60%  ระบบของไทยชนะ 28%  ข้อความขยะ 6%  ความสามารถของระบบ 4%  อื่นๆ 2%

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“ไทยชนะ” ไม่ใช่ปัญหา  94% อยากออกจากบ้าน  

หลังปลดล็อกดาวน์ธุรกิจ การออกจากบ้านไปสถานที่ต่างๆของประชาชนต้องขอความร่วมมือให้ สแกน “เข้า-ออก” แอปไทยชนะ พบว่าสัดส่วน 94% บอกอยากออกจากบ้าน มีเพียง 6% เท่านั้นที่ไม่อยากออกจากบ้าน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การกลับมาเปิดห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าต่างๆ หลังมีมาตรการผ่อนปรน ทำให้ชาวโซเชียลหลายๆคน คิดถึงการไปเดินช้อปปิ้ง ซึ่งบรรดาร้านค้าต่างๆ ก็ได้จัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นให้คนกลับมา จึงทำให้หลายคนอยากจะไปห้าง ถึงแม้ว่าจะต้องอยู่ในการควบคุมความปลอดภัย มีการสแกน บันทึกการเข้า-ออก ด้วยแอป ”ไทยชนะ” เกือบทั้งหมดบอกไม่เป็นอุปสรรค เพื่ออยากออกจากบ้านแล้ว หลังต้องกักตัวมานานกว่า 2 เดือน

แต่ก็มีความคิดเห็นอีกฝั่งที่เห็นว่า การไปสแกน หรือไปบันทึกให้ข้อมูลส่วนตัวกับแอปไทยชนะ สร้างความไม่ปลอดภัยกับข้อมูลส่วนบุคคล และสร้างความยุ่งยากในการเข้าไปใช้งาน เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น แค่เข้าไปซื้อของแป๊บเดียวแต่ต้องมาสแกนแอป หรือ จดบันทึก ให้ยุ่งยาก ดังนั้นจึงเลือกที่จะไม่ไป และอยู่บ้านดีกว่า

ดังนั้นแม้ว่าชาวโซเชียลส่วนใหญ่มองว่าการสแกนแอปไทยชนะเป็นเรื่องยุ่งยากน่ารำคาญ แต่ก็ยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจไปห้างของคนส่วนใหญ่มากนัก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ห่วงความปลอดภัยข้อมูล   

มาที่มุมมองเรื่อง “ระบบของไทยชนะ” ชาวโซเชียล 92% มีการใช้งาน แต่  8% ห่วงความปลอดภัย แต่การใช้งานแอปไทยชนะ มีการคอมเมนต์เกี่ยวกับการใช้งานของระบบที่ค่อนข้างยุ่งยาก จะไปไหน เข้าร้านไหน ก็จะต้องสแกน วันนึงสแกนไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง ซึ่งสร้างความไม่สะดวกอย่างมาก โดยเฉพาะ เวลาจะเข้าร้านสะดวกซื้อ ก็ต้องมาสแกน คนก็ยืนรอกันหน้าร้าน ตอนออกถือของเยอะก็ต้องสแกนอีก

ด้านผู้ประกอบการคิดว่า ไทยชนะมีช่องทางในการกลั่นแกล้งธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการแกล้งส่งประเมินใส่ร้ายธุรกิจให้เสียหาย เช่น ประเมินร้านไม่ใส่หน้ากากอนามัย เช็คอินไว้แต่ไม่ยอมเช็คเอ้าท์ทำให้ร้านเต็มตลอดเวลา ลูกค้าเลยไปร้านอื่นแทน จึงเกิดคำถามถึงแนวทางป้องกันการกระทำเหล่านี้

ส่วนประเด็น ความปลอดภัย  ยังมีความกังวลว่า หากลงทะเบียนการใช้งานแอปไปแล้ว จะถูกเอาข้อมูลส่วนตัวไปใช้ทำอะไร รู้สึกไม่ปลอดภัย รวมถึง การจดบันทึกข้อมูลลงกระดาษที่ต้องให้ชื่อและเบอร์โทร ก็ทำให้หลายๆ คน ไม่อยากที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในที่สาธารณะ

ในมุมของผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการใช้งานของแอป เห็นว่าต้องง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน รวมไปถึง ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาด้วย

ชาวโซเชียลเชื่อสาเหตุข้อความขยะ

จากเหตุการณ์ที่หลายคนใช้มือถือระบบ iOS ได้รับข้อความขยะเกี่ยวกับเว็บพนันออนไลน์ จากการใช้แอปไทยชนะ ทำให้ชาวโซเชียล 76% มองว่านี่เป็นสาเหตุของข้อความขยะ จนทำให้เกิดการแชร์เคสไปในโซเชียล อีกทั้งยังตั้งข้อสังเกตว่าเป็นช่องทางที่ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเบอร์โทรศัพท์ถึงหลุดออกไปได้ โดยมีทั้งฝั่งที่มองว่า มาจากการลงทะเบียนแอปไทยชนะ กับอีกฝั่งที่ไม่ใช่

สาเหตุของข้อความขยะ ฝั่งที่มองว่าเป็นเพราะแอปไทยชนะ หลังจากไปเข้าห้างเช็คอินลงทะเบียนแอปมาก็จะได้รับข้อความขยะเหล่านี้  ส่วนที่เห็นว่าไม่ใช่สาเหตุของข้อความขยะ เพราะถึงแม้จะไม่ได้ไปลงทะเบียนใช้แอปไทยชนะ แต่ก็ได้รับข้อความขยะนเหล่านี้เช่นกัน

ดังนั้นถึงแม้ว่าตอนหลังจะมีการสรุปออกมาว่าน่าจะเกิดจากตัวระบบ iMessage ของ apple แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจของชาวโซเชียล ที่มีต่อแอปของรัฐบาล ว่าพวกเขาไม่ไว้วางใจการจัดการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของรัฐอย่างเห็นได้ชัด

79% มองไม่เป็นประโยชน์ป้องกันโควิด

วัตถุประสงค์ของแอปไทยชนะก็เพื่อติดตามและป้องกันการติดเชื้อโควิด-19  จากการไปใช้บริการในสถานที่ต่างๆจึงเกิดการแสดงความคิดเห็นของชาวโซเชียลเกี่ยวกับ ความสามารถของระบบไทยชนะ ว่าใช้งานและติดตามเพื่อควบคุมโรคได้จริงหรือไหม

พบว่า 79% เชื่อว่าไม่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกัน คนส่วนใหญ่มองว่า ระบบนี้ไม่สามารถเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานได้จริง เนื่องจากการใช้ระบบนี้มีจุดโหว่หลายอย่าง เพราะคนหลายคนมองว่าไม่ไว้วางใจกับการจัดการข้อมูลของรัฐบาลจึงทำให้คนไม่ค่อยอยากสแกน หรือเป็นการสแกนหลอกๆ รวมไปถึงปกปิดข้อมูลตัวเอง ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ รวมไปถึงประเด็นความไม่ปลอดภัยการจดบันทึกลงกระดาษด้วยปากกาที่ก่อนหน้ามีคนจับไปแล้วไม่รู้ตั้งกี่คน และ การไปออกันหน้าร้านเพื่อรอลงทะเบียนก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่คนมองว่า ไม่ได้ช่วยรักษา Social distance  อะไร

ส่วนอีก 21% ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการป้องกัน การทำแบบนี้เป็นสิ่งหนี่งที่ช่วยควบคุมโรคได้ เพื่อที่จะได้มีข้อมูลในการติดตามบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ เป็นการทำเพื่อส่วนรวม อาจจะยุ่งยากในช่วงแรก แต่ก็จะได้ทำให้โรคนี้หมดไปได้เร็วๆ  รวมไปถึงมีบางคอมเมนต์เปรียบเทียบกับระบบการติดตามของเกาหลีใต้ ที่ทำไมคนไทยไปชมระบบเขาแต่พอของไทย กลับมองว่าเป็นการคุกความสิทธิส่วนบุคคลเกินไป ซึ่งโดยแท้จริงแล้วคนชอบที่ไอเดีย เพียงแต่ไม่ไว้ใจกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของรัฐบาล

นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ว่า ส่วนใหญ่ชาวโซเชียลจะคอมเมนต์เกี่ยวกับการตั้งชื่อแอป “ไทยชนะ” ที่มักจะมีการล้อเลียนว่า ไทยชนะ ชนะอะไร ไปชนะใคร และเป็นการตั้งคำถาม การตำหนิการจัดการของรัฐบาล ซึ่งข้อความประเภทนี้ส่วนใหญ่มาจากช่องทาง Twitter

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 6
  • ԅ(¯﹃¯ԅ)ԅ( ˘ω˘ ԅ)
    พอมีไทยชนะ ก็ลดการเข้าห้างฯและร้านสะดวกซื้อไป 90% เดินตลาดสดแถวบ้านคนเป็นร้อยไม่เห็นจะมีการป้องกันอะไรเดินชิดกันแทบจะหายใจรดต้นคอละ ร้านสะดวกซื้อทำไมต้องมี? ร้านโชว์ห่วยแถวบ้านยังไม่ต้องแสกนเลย สองมาตรฐานเห็นได้ชัด
    06 มิ.ย. 2563 เวลา 03.18 น.
  • Kroek
    อัพเดทชัยชนะใหม่ ให้ง่ายขึ้น กรอกเบอร์และรอotpไม่ใช่จ่ายเงิน แค่ระบุหมายเลขโทรศัพท์ เช็คอินร่วมกับค่ายโทรศัพท์มือถือ รู้พิกัดรู้ตำแหน่งผู้ใช้หมายเลขโทรศัพท์พอแล้ว ถ้าเกิดเหตุค่อยไปสืบย้อนหลัง ตอนนี้เสียเวลา บอกตรงๆให้ลงชื่อเข้าห้าง มีแต่เขียนชื่อนายกและเบอร์ปลอม “มันไร้ประโยชน์”
    06 มิ.ย. 2563 เวลา 03.08 น.
  • Bnak.
    โทรศัพท์ไม่มีเนต ทำไงดี
    11 มิ.ย. 2563 เวลา 02.36 น.
  • Nut
    เห็นควรให้มีการควบคุม Privacy ให้รัดกุมกว่านี้ และ ถ้าเป็นไปได้ ให้เอาระบบ Face Recognition มาใช้แทนการลงทะเบียนแบบนี้ การที่ใช้ไทยชนะ มีข้อความขยะหลุดมาได้ ถือว่า หละหลวม บกพร่องต่อหน้าที่อย่างมาก ทั้ง กระทรวง DE กสทช.และค่ายมือถือ ต้องถูกลงโทษตาม พรบ.มั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่ปล่อยให้มีข้อความขยะ การพนัน หลุดเข้ามาในระบบได้ ไหนว่ามีระบบป้องกันที่ดี แล้วนี่หลุดมาได้ไง
    07 มิ.ย. 2563 เวลา 02.48 น.
  • Ben8985
    ดูประวัติตัวเอง ทำไมทำไม่ได้
    06 มิ.ย. 2563 เวลา 05.26 น.
ดูทั้งหมด