ไลฟ์สไตล์

ทำความรู้จัก “โรงเรียนชนชั้นนำ” ที่แท้จริง!

LINE TODAY
เผยแพร่ 20 ส.ค. 2562 เวลา 05.00 น. • Pannaput J.

ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาหลาย ๆ คนคงจะได้ยินคำว่า “อีลีท สคูล” กันมาบ้าง เพราะกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะได้มีข่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ได้มอบนโยบายเกี่ยวกับโรงเรียนอีลีท ให้กับ สพฐ. เพื่อที่จะคัดเด็กเก่งเข้าเรียน ประเด็นนี้จึงกลายเป็นเรื่องถกเถียงกันไปอย่างมากมาย ว่ามีความจำเป็นหรือไม่สำหรับโรงเรียนอีลีท 

แต่อันที่จริงแล้วในโลกนี้มีสิ่งที่เรียกว่า Elite School หรือ โรงเรียนชนชั้นนำมาเป็นเวลานานแล้ว วันนี้ #ลัดเลาะรอบโลก จะพาทุกคนไปรู้จัก ETON COLLEGE ที่ประเทศอังกฤษ และ สถาบัน ENA ที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งสถานศึกษาสองแห่งนี้ถือเป็นสถานที่ที่ผลิตชนชั้นนำในสังคมโลกมายาวนาน  

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ETON COLLEGE โรงเรียนมัธยมประจำชื่อดังของประเทศอังกฤษ ก่อตั้งในปี 1440 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนชายล้วนที่ดีที่สุดในโลก ในแต่ละปีจะมีนักเรียนเพียง 1,300 คน สำหรับวิทยาลัยอีตันนั้นจะนอกจากที่จะเป็นเลิศทางวิชาการแล้ว ยังมีการอบรมเรื่องมารยาท ถือว่าเป็นโรงเรียนผู้ดีที่สุดในโลกเลยทีเดียว เพราะเป็นโรงเรียนที่พระราชวงศ์ และชนชั้นสูงจะส่งลูกหลานเข้ามาเรียนที่นี่  

นอกจากค่าเทอมที่สูงแล้ว การคัดเลือกนักเรียนก็เป็นไปอย่างเข้มข้นอีกด้วย มีการสอบด้วยข้อสอบ สอบสัมภาษณ์เพื่อที่จะดูบุคลิกลักษณะของนักเรียนว่าเหมาะกับโรงเรียนอีกด้วย ด้วยสาเหตุนี้เอง จึงทำให้ที่นี่ได้รับยกย่องงว่าเป็นโรงเรียนที่ดีที่สุด  

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สำหรับศิษย์เก่าของโรงเรียนที่คนไทยรู้จักก็คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ, เดวิด คาเมรอน นักการเมืองชาวอังกฤษ รวมไปถึงคนดังอย่าง ทอม ฮิดเดิลตัน, เอดดี้ เรดเมย์น และเจ้าชายวิลเลียม และเจ้าชายเฮนรี่ก็เช่นเดียวกัน 

ENA หรือย่อมาจาก the elite Ecole Nationale d'Administration หรืออาจจะเรียกได้ว่า วิทยาลัยการปกครอง สถาบันนี้ตั้งอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ก่อตั้งในปี 1945 โดยอดีตประธานาธิบดีของฝรั่งเศส ชาร์ล เดอ โกลล์ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยจุดมุ่งหมายของการมีสถาบันแห่งนี้ก็เพื่อที่จะเป็นศูนย์กลางในการคัดเลือก และอบรมให้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเป็นเลิศให้เป็นผู้บริหารระดับสูงของรัฐ หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นโรงเรียนเทรนประธานาธิบดีของฝรั่งเศสเลยก็ว่าได้ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สถาบันนี้ถูกสร้างด้วยจิตวิญญาณที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงฝรั่งเศส และรัฐ มีความตั้งใจที่จะสร้างกลุ่มคนที่จะรับมือกับผลประโยชน์สาธารณะได้ การเรียนในสถาบันนี้จะทำให้มีคอนเนคชั่นกับชนชั้นนำอย่างแนบแน่น และ ENA หวังว่าจะสามารถนำคนจากหลายๆ เมืองในฝรั่งเศสมาเรียนได้ แต่นอกจากหลักสูตรที่ถูกออกแบบมาเพื่อชนชั้นนำ ก็มีการค้นพบว่าพ่อแม่ของนักเรียน ENA ก็จะเป็นข้าราชการระดับสูง เป็นผู้บริหาร CEO น้อยมากที่จะมาจากชนชั้นแรงงาน นี่จึงถือว่าเป็นโรงเรียนของชนชั้นนำที่แท้จริง 

สำหรับ ENA นั้น กลายเป็นประเด็น เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ประธานาธิบดี Emmanuel Macron ของฝรั่งเศสมีความคิดที่จะยุบสถาบันดังกล่าว โดยมีกล่าวสปีชว่า “หากพวกเราต้องการที่สร้างความเท่าเทียมในด้านของโอกาส เราก็จะต้องล้างกฎในการคัดเลือกผู้นำ ไม่ควรให้ ENA หรือสถาบันเพียงไม่กี่สถาบันมาเป็นตัวกำหนดว่าผู้นำของประเทศควรจะเป็นใคร และเรื่องนี้ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในฝรั่งเศสเช่นเดียวกัน 

สำหรับสองสถาบันก็ก็อาจจะเปรียบเสมือนโรงเรียนเตรียม สำหรับชนชั้นนำของประเทศนั้น ๆ อาจจะไม่ใช่เพียงแค่หลักสูตรอย่างเดียว แต่รวมไปถึงโอกาส และคอนเนคชั่นที่มากับสถาบันการศึกษานั้น ๆ ด้วย สิ่งนี้ก็อาจจะแสดงให้เห็นว่าแนวคิดเรื่อง “อีลีท สคูล” หรือ “โรงเรียนหัวกะทิ” แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ และอาจมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเด็กไทยไปในเฉพาะด้าน แต่ว่าก่อนจะเกิดโรงเรียนเหล่านี้ได้ ควรต้องมีพื้นฐานทางการศึกษาที่ดีก่อน เพื่อที่จะให้ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำในภายภาคหน้า และพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน 

อ้างอิง

https://www.matichon.co.th/education/news_1627119

https://www.bbc.com/news/world-europe-47991257

https://campus.campus-star.com/variety/115670.html 

#ลัดเลาะรอบโลก จะพาคุณไปพบกับเรื่องราวที่ไม่รู้ก็ได้ แต่รู้ไว้ก็ดีจากทั่วทุกมุมโลก การได้รับรู้เรื่องราวจากที่ต่างบนโลกเดียวกันที่เราอาศัยอยู่ทำให้เราได้รู้ว่ามีเรื่องราวเหล่านี้ซ่อนอยู่ การได้ไปสัมผัสเรื่องราวที่แตกต่าง หลากหลาย อาจทำให้นำกลับไปขบคิด และเป็นแรงผลักดันให้เราอยากเปลี่ยน อยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถึงที่สุดคือการอยากกลายเป็นคนที่ดีขึ้น เพื่อสังคมที่ดีขึ้น. 

ความเห็น 72
  • 😶🌫️ YEAI
    ไม่เห็นจะช่วยคนอื่นได้ เรียนไปก็สร้างแต่ เจ้าคนนายคน ทำโรงเรียนสอน สร้างนำ้ใจให้มนุษย์ด้วยกันดีกว่า ผมว่า!
    20 ส.ค. 2562 เวลา 06.43 น.
  • หากเปิดใจให้กว้าง ยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล ว่ามีแนวการเรียนรู้ที่ต่างกัน ชอบวิธีการเรียนการสอนไม่เหมือนกัน หากรวมคนที่คิด เรียน ตั้งใจเหมือนๆกันมารวมกันคงจะดีกว่า เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถในแบบฉบับของตนเอง เช่น ชอบด้านเทคโนโลยี่ ด้านธุรกิจ การรกีฬา ซึ่งแต่ละคนที่ชื่นชอบในสิ่งที่ตนสนใจคงจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการในเรื่องนั้นๆของตนเองได้เป็นอย่างดี ไม่ใช่อะไรก็อ้างความเหลื่อมลำ้ ลองถามคนเรียนดูว่าเขาต้องการเรียนรู้อะไร หากได้เรียนในสิ่งที่ถูกกับใจมันก็จะการส่งเสริมศักยภาพของเขาค่ะ
    20 ส.ค. 2562 เวลา 09.22 น.
  • สนับสนุนแนว เท่าเทียม ทั่วถึง
    20 ส.ค. 2562 เวลา 06.42 น.
  • Lilly@บ้านหอมนม
    ก็โรงเรียนอย่างจิตรลดา ราชินี วชิราวุธ ล้วนเข้าข่ายอีลิท สคูล เอาเวลาไปปรับหลักสูตร พัฒนาคุณภาพครูและปรับโครงสร้างให้โรงเรียนทั่วประเทศมีคุณภาพเท่เ
    20 ส.ค. 2562 เวลา 14.27 น.
  • คิดว่าตรงนี้ก็น่าจะต้องขึ้นอยู่กับที่บุคคลมากกว่า ว่าเมื่อจบออกมาแล้ว แล้วจะนำวิชาความรู้ไปพัฒนาหรือว่าสานต่อกับในความเป็นจริงในสังคมนั้นๆได้มากน้อยแค่ไหน.
    20 ส.ค. 2562 เวลา 08.33 น.
ดูทั้งหมด