ไลฟ์สไตล์

กิเลสของนักช็อปออนไลน์ - เฟื่องลดา

THINK TODAY
เผยแพร่ 13 ธ.ค. 2562 เวลา 07.18 น.

9.9 11.11 12.12 

วันเหล่านี้อาจมีเคราะห์เงินไหลออกถ้าไม่ระวัง ! 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยเฉพาะสายช็อปที่แพ้ทางช่วงโปรโมชั่น

เคยกลัวใจตัวเองไหมคะว่าเราอาจเสพติดช็อปปิ้งออนไลน์ที่ง่ายแค่คลิก

เมื่อการช็อปช่วยให้คลายเครียด แต่รู้ตัวอีกทีก็โดนละลายทรัพย์ไปเกินกว่าที่คิดเอาไว้ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อะไรคือสิ่งที่ล่อลวงให้เราช็อปจนลืมตัวขนาดนั้น 

Add to Cart 

กิเลสของการติดช็อปปิ้งเกิดจากการที่เรามีความ ‘อยากได้’ มากมายไม่สิ้นสุด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อันนี้ก็รู้สึกว่าต้องมี อันนั้นก็จำเป็น ของลดราคาก็อยากได้  

ยิ่งถ้า Follow หรือกด Like เพจของร้านค้า

ของที่ไม่เคยนึกอยากได้มาก่อนก็จะโผล่มาให้เตรียม Add to Cart เรื่อยๆ 

เรียกได้ว่า Newsfeed ในโซเชียลมีเดียเป็นสิ่งกระตุ้นกิเลสอย่างหนึ่งเลยทีเดียว 

กิเลสจะล่อหลอกเราด้วยหลากหลายวิธี เช่น 

ใช้เทคนิคตื๊อ ให้เราเห็นสินค้าซ้ำบ่อยๆ จนอยากได้ บางทีก็ไม่ได้ขายตรงแต่ใช้จิตวิทยาในการโฆษณาจูงใจแบบอ้อมๆ  

ให้เหล่า Influencer ใส่เสื้อผ้าสวยๆ ลงไอจีบ้าง ให้ Blogger รีวิวบ้าง 

จูงใจด้วยภาพโปรโมทที่สวยงามในโซเชียลมีเดียบ้าง 

เบื้องหลังของที่เราอยากเสียเงินซื้อทุกอย่าง จึงมีสิ่งที่เราอยากได้มากกว่าของ  

เช่น อยากเข้าสังคม เลยซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมราคาแพง

อยากเป็นคนอินเทรนด์ เลยซื้อเสื้อผ้าใหม่ 

 

ล่าสุด Carlings แบรนด์เสื้อผ้าของสแกนดิเนเวียออกคอลเล็คชั่นขาย ‘เสื้อผ้าดิจิตอล’ 

เมื่อกดซื้อแล้วจะไม่ได้ชุดจริงๆ มาส่งที่บ้าน แต่จะมีทีมตัดต่อภาพเราใส่เสื้อผ้าเหล่านั้นสำหรับลงในโซเชียลมีเดียแทน   

เพราะแบรนด์รู้ว่าหลายคนไม่ได้อยากใส่ชุดจริงๆ 

แค่อยากถ่ายรูปใส่เสื้อผ้าสวยงามอวดลงไอจีเท่านั้น !  

เคล็ดลับง่ายๆในการคุมตัวเองไม่ให้ช็อปจนลืมตัว คือ  

ลองมองลึกลงไปว่าการที่เราอยากได้ของชิ้นนี้ เราอยากได้เพราะอะไรและอยากได้อะไรนอกจากของ  

Check Out  

ศิลปะการช็อปปิ้งแบบมีสติ เป็นเรื่องของ Self-Control การควบคุมตัวเอง 

เวลาช็อปปิ้ง เรามักตัดสินใจด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล 

ถ้าเราสามารถ Check ตัวเองก่อน Check Out กดจ่ายเงิน  

รวมทั้งรู้เท่าทันว่าร้านค้าจะมาไม้ไหน 

กำลังใช้โปรโมชั่นจูงใจเราอยู่ หรือ ยิงโฆษณาใส่เราอยู่หรือเปล่า 

ก็จะช่วยให้ช็อปปิ้งแบบมีสติได้มากขึ้น 

เพียงแค่รู้ตัวว่า ‘กำลังตกเป็นเป้าหมาย’ ที่ถูกจูงใจให้ซื้อ ก็ช่วยให้ระงับใจได้มากขึ้นแล้ว 

เพราะลูกเล่นพวกนี้อาจทำให้เรารู้สึกอยากได้ของที่ความจริงแล้วก็ไม่ได้อยากได้ขนาดนั้น 

สำหรับคนที่รู้สึกว่าช็อปเยอะไป  

อาจลองเริ่มง่ายๆ จากฝึก Delete to Cart แทน Add to Cart 

Check yourself พร้อมๆ ไปกับ Check Out 

ของที่ไม่อยากได้จริงๆ จะได้ไม่รกบ้านมากเกินไปนะคะ  

ที่มา

https://www.cnbc.com/2018/07/25/you-could-be-an-online-shopping-addict-heres-how-to-tell.html

https://www.elle.com/uk/fashion/a28166986/digital-fashion-dressing-virtually/

About Me

Instagram: http://www.instagram.com/faunglada

Facebook: https://www.facebook.com/LDAWorld/

Youtube: https://www.youtube.com/ldaworld

Twitter: @faunglada

Website: www.ldaworld.com

ความเห็น 14
  • N_Tansuwannarat
    การซื้อของย่อมแตกต่างไปตาม "อิทธิพลจูงใจ" บางคนอยากได้ของที่อยู่ "ต่ำตัว" เพราะ "ความจำเป็น" สำคัญเหนือสิ่งใด บางคนอยากได้ของที่อยู่ "เสมอตัว" เพราะ "ความพอดี" เป็นสิ่งยึดมั่น บางคนอยากได้ของที่อยู่ "เหนือตัว" เพราะ "ความทัดเทียม" เท่าคนอื่น เมื่อรู้ว่าเป็นสิ่งของที่เก็บจากหยาดเหงื่อ ใช้เวลาอดออมไปครึ่งชีวิตเพื่อให้ได้มา สิ่งของนี้จะมีคุณค่าและจะรู้ความหมายในการซื้อ เมื่อรู้ว่าเป็นสิ่งของพิเศษ แต่ไม่ให้ราคา สิ่งของพิเศษจะเป็นเพียงสิ่งของธรรมดา "ตัวเราต้องใหญ่กว่าสิ่งของ" นี่คือสิ่งสำคัญ
    13 ธ.ค. 2562 เวลา 08.57 น.
  • ถ้าคนเรามีความพอดีให้กับชีวิตแล้ว เชื่อว่ายังไงปัญหาก็คงจะไม่เกิดขึ้นตามมา.
    13 ธ.ค. 2562 เวลา 09.06 น.
  • MadamNight
    เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ โชคดีที่ตัวเองไม่ได้กดติดตามและไม่ได้เสพติดสิ่งพวกนี้ แต่จะซื้อเท่าที่จำเป็นจริงๆหมดแล้วซื้อ นายๆๆๆทีจะซื้อ และไม่ถึง 500 บาท.
    13 ธ.ค. 2562 เวลา 10.21 น.
  • บังวิด ครับผ่ม
    เห็นด้วยครับ
    13 ธ.ค. 2562 เวลา 18.15 น.
  • 💯
    เห็นด้วย
    13 ธ.ค. 2562 เวลา 14.38 น.
ดูทั้งหมด