ไอที ธุรกิจ

STA-STGT ยังมีอะไรน่าสนใจ ทำไมนักวิเคราะห์ยังแนะนำ “ซื้อ”

Wealthy Thai
อัพเดต 09 ส.ค. 2566 เวลา 08.56 น. • เผยแพร่ 29 มิ.ย. 2564 เวลา 15.51 น. • Maratronman

หลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ในประเทศไทยกำลังระบาดหนักขึ้นอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเปรียบได้ว่าอาจจะเข้าสู่ช่วงการระบาดระลอกที่ 3.5 เลยก็ว่าได้ เพราะตัวเลขอัตราการติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยอยู่ที่ 2,000-3,000 รายต่อวัน ซึ่งหากย้อนไปเมื่อวันที่ 28 มิ.ย.64 ตัวเลขการติดเชื้อแตะระดับ 5,000 ราย ซึ่งถือเป็นยอดนิวไฮใหม่ที่ประเทศไทยยังไม่เคยเจอ
ก็ส่งผลให้หุ้น 2 แม่ลูกอย่างบริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA กับ บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT กลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะสองหุ้นแม่ลูกคู่นี้เป็นหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึง 2 บริษัทดังกล่าวยังมีข่าวดีคือการได้รับเข้าคำนวณใน SET 50 รอบครึ่งปีหลังของปี 64
โดยความเคลื่อนไหวของหุ้น STA ในวันนี้ (29 มิ.ย.64) มีมูลค่าการซื้อขายกว่า 1,000 ล้านบาท โดยราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดของวันที่ 42.50 บาท ขณะที่หุ้นบริษัทลูกอย่าง STGT มีมูลค่าการซื้อขายกว่า 800 ล้านบาท โดยระหว่างวันราคาหุ้นขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 42.75 บาทต่อหุ้น

ผลงานอาจจะลงแต่ยังคงแนะนำ “ซื้อ”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” STA แต่ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 58 บาท อิง 65 PER 7.0 เท่าอิงค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมยางในอดีต (จากเดิมที่ 65.00 บาท อิง 2022E PER 7.0 เท่า) จากการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 65 ลง
โดยเรามีมุมมองเป็นลบมากขึ้น จากแนวโน้มราคาขายถุงมือยางที่ลดลงอย่างมากในช่วงปลายไตรมาส 2/64 หลังจากที่เราได้ update กับทาง STA ล่าสุด โดยบริษัทคาดว่าราคาขายถุงมือยางในช่วงไตรมาส 2/64 คาดจะลดลงราว 15-20% เทียบกับที่คาดไว้ว่าจะลดลงประมาณ 10-15% ซึ่งราคาถุงมือยางเริ่มลดลงอย่างชัดเจนในช่วงเดือน มิ.ย. 64 จากปริมาณ supply โลกที่มากขึ้น และจำนวนคนฉีดวัคซีน covid-19 ที่เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วที่
ทั้งนี้ปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 64 เพิ่มขึ้น 30% จากปีก่อน อยู่ที่ 21,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 121% จากปีก่อน และปรับประมาณการกำไรปี 65 ลง 8% มาอยู่ที่ระดับ 13,829 ล้านบาท ลดลง 34% จากปี 64 จากการปรับสมมติฐานราคาขายถุงมือยางเฉลี่ยลดลงเป็น 1.60 บาทต่อชิ้น จากเดิมที่ 1.80 บาทต่อชิ้น ขณะที่คงปริมาณการขายไว้ที่ 40,000 ล้านชิ้น
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด มีมุมมองต่อ STGT ว่า ฝ่ายวิจัยฯได้มีการศึกษาผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 ที่มีต่อสองโรงงานหลักที่ผลิตถุงมือยาง ตั้งแต่ไตรมาส2/64 สืบเนื่องจากมีการติดเชื้อในกลุ่มคนงาน ทั้งนี้ตามกำหนดการหยุดโรงงานคือ 1) ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีปิดระหว่างวันที่ 29 พ.ค.-6 มิ.ย.64 และ 2) จังหวัดตรัง ปิดระหว่างวันที่ 28 พ.ค.-15 มิ.ย.64 โดยทั้งสองโรงงานมีสัดส่วนต่อการผลิตถุงมือต่อวัน คือ 20% และ 28% ตามลำดับ จากที่ผลิตถุงมือทั้งหมดต่อวันที่ 90 ล้านชิ้น
อีกทั้งได้คาดว่าราคาขายเฉลี่ย (ASP) และมีปริมาณการขายที่อ่อนตัวลงในช่วงไตรมาส 2/64 สืบเนื่องจากมีการใช้กลยุทธ์ปรับลดราคา (Price Dumping) ในตลาดจากบริษัทใหญ่ ผนวกกับปัจจัยลบเรื่องการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ในการส่งออก จึงได้มีการปรับลดประมาณการปี 64 ลงในอัตรา -16% ด้วยสมมุติฐานหลักคือ ให้อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ลดลง แต่แนวโน้มภาพรวมธุรกิจยังเป็นบวก
แต่อย่างไรก็ตามคงคำแนะนำ ซื้อ ด้วยราคาพื้นฐานใหม่ที่ปรับลงเล็กน้อยเป็น 59.50 บาท ซึ่งประเมินด้วยวิธี DCF แต่หลังปรับประมาณการ อัตราผลตอบแทนปันผลปี 64 ยังสูงเป็น 8.4% ส่วนปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งเช่นเดิมคือ ยอดขายมีโอกาสเติบโตสูง มีการขยายกำลังการผลิต อุปสงค์ในถุงมือยางยังมาก รวมทั้งอุปทานในตลาดก็ยังจำกัด(Undersupply)

ดูข่าวต้นฉบับ