ไลฟ์สไตล์

นักวิจัยด้านความปลอดภัย พบบันทึกข้อมูลอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ในไทย หลุดออกไปกว่า 8 พันล้านรายการ

The MATTER
อัพเดต 28 พ.ค. 2563 เวลา 01.30 น. • เผยแพร่ 25 พ.ค. 2563 เวลา 10.00 น. • Brief

ข้อมูลส่วนบุคคล ความเป็นส่วนตัว เป็นเรื่องที่หลายคนตระหนักกันมากขึ้น แต่ล่าสุดกลับมีรายงานข่าวที่เปิดเผยว่า มีข้อมูลอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ในไทย หลุดออกไปมากถึงหลายพันล้านรายการ ที่ให้เห็นถึงประวัติการเข้าเว็บไซต์ และการใช้แอพฯ ต่างๆ เลยด้วย

เว็บไซต์ข่าวเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ TechCrunch เปิดเผยว่า Justin Paine นักวิจัยด้านความปลอดภัยได้ตีพิมพ์บทความในบล็อกส่วนตัวว่า เขาค้นพบฐานข้อมูลซึ่งประกอบด้วยการสืบค้น Domain Name System และข้อมูล Netflow ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต AIS เครื่อข่ายมือถือ และอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีข้อมูลมากถึง 8.3 พันล้านรายการ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในบล็อกของ Paine ระบุว่า ฐานข้อมูลที่เขาพบนั้น ไม่มีรหัสผ่านในการเข้าถึง และเขาคาดว่าจะสามารถเข้าถึงสิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้ตามเวลาจริง ซึ่งเขาได้แจ้ง AIS ให้ทราบถึงข้อมูลนี้ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคมที่ผ่านมา แต่เมื่อผ่านไป 1 สัปดาห์ และยังไม่ได้รับการติดต่อกลับมา เขาจึงรายงานเรื่องนี้ไปให้ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย หรือไทยเซิร์ต ซึ่งหลังจากนั้น ฐานข้อมูลนั้นก็ไม่สามารถเข้าได้แล้ว

Paine ได้ให้สัมภาษณ์กับ TechCrunch ว่า ไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นเจ้าของฐานข้อมูล และประเภทของการบันทึกที่พบในฐานข้อมูลยังมาจากคนที่สามารถตรวจสอบปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่าย แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่รู้ว่ามันเป็นฐานข้อมูลของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ของบริษัทลูก หรือของลูกค้า แต่ทาง AIS เองก็ไม่ได้ตอบอีเมล์ซึ่ง Paine ที่ส่งไปสอบถามความคิดเห็น

ข้อมูลของ DNS แม้ว่าจะไม่เก็บข้อความส่วนตัว อีเมล์ หรือข้อมูลที่ละเอียดอ่อนเช่นรหัสผ่าน แต่มันก็สามารถระบุเว็บไซต์ และแอพฯ ที่ผู้ใช้เข้าถึงได้ ทั้งอาจเป็นความเสี่ยงสูงสำหรับบุคคลบางกลุ่ม เช่นนักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว หรือนักข่าว ซึ่งสามารถใช้บันทึกอินเทอร์เน็ตเพื่อระบุแหล่งที่มา

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

Paine ยังแสดงให้เห็นว่า การเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว จะทำให้สามารถเรียรรู้สิ่งต่างๆ ที่เชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ได้ เช่นอุปกรณ์ที่ใช้ โปรแกรมป้องกันไวรัส เบราว์เซอร์ แอพฯ สื่อ และเว็บไซต์ด้วย นอกจากนี้มันยังสามารถใชัเพื่อระบุข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตของบุคคล หรือโฆษณาเองยังใช้เพื่อหากลุ่มเป้าหมายในการแสดงโฆษณาได้ด้วย

หลังจากเรื่องนี้เป็นข่าว ทาง AIS ก็ส่งคำชี้แจงมาให้ The MATTER อ้างคำพูดของ สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าสายงานประชาสัมพันธ์ AIS ระบุว่าข้อมูลตามที่เป็นข่าว "ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า แต่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตในภาพรวมบางส่วน และไม่ใช่ข้อมูลที่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายด้านการเงินหรือด้านอื่นๆ" โดยกรณีนี้ เกิดจากการทดสอบ เพื่อปรับปรุงคุณภาพเครือข่ายที่มีขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2563 และภารกิจดังกล่าวได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว

สายชลยังกล่าวยืนยันว่า ไม่มีลูกค้ารายใดได้รับผลกระทบทั้งด้านการเงินและด้านอื่นๆ (จากกรณีที่เกิดขึ้น) อย่างแน่นอน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อ้างอิงจาก

https://techcrunch.com/2020/05/24/thai-billions-internet-records-leak/

https://rainbowtabl.es/2020/05/25/thai-database-leaks-internet-records

#Brief #TheMATTER

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 6
  • ChenLiLe陈刘素玉陈利乐
    เป็นคล้ายๆ สายลับที่ทำงานโดยบ๊อต ทำงานในลักษณะสอดแนมเก็บข้อมูลของ บุคคล (subject) โดยทั่วไปไม่เป็นพิษเป็นภัยอะไรหรอกสำหรับคนปกติ แต่มันน่ากลัวตรงที่ว่ามีใครบางคน (หรือสมองกลบางอย่าง) รู้จักตัวตนของ subject นั้นดีซะมากยิ่งกว่าเจ้าตัวรู้จักตัวเองซะอีก
    25 พ.ค. 2563 เวลา 17.46 น.
  • Opal_chawanwet
    ใครเคยเจอเหตุการณ์แบบเราบ้าง พูดกับพี่ที่ทำงานเรื่องอาหาร ไม่นานในเฟสฯมีโพสอาหารที่เราพูดถึงเฉยเลย พูดเรื่องหมาก้มีโพสหมาน่ารักๆ พูดกับแฟนเรื่องอยากมีลูกก็มีโพสขายยาบำรุงก่อนตั้งครรภ์ กินยานี้ตั้งครรภ์ง่าย 1 แผง 1 กระบุกเห็นผล งงมากบางทีแอบคิดว่า iphone มีเครื่องดักฟังรึป่าว ( บังเอิญเกิ๊นนนนนน )
    25 พ.ค. 2563 เวลา 18.08 น.
  • ไม่แคร์สื่อคะ เพราะสื่อไม่รู้จักเรา
    25 พ.ค. 2563 เวลา 17.30 น.
  • OatOatOat
    AIS 😰
    25 พ.ค. 2563 เวลา 17.26 น.
  • Kunchit
    เอ่ไปเถอะ ข้อมูลขยะ
    25 พ.ค. 2563 เวลา 17.25 น.
ดูทั้งหมด