ทั่วไป

DSIเตือนรับจ้างกดไลค์-แชร์ เสี่ยงผิดกม.โทษถึงติดคุก

เดลินิวส์
อัพเดต 21 ก.ค. 2562 เวลา 17.09 น. • เผยแพร่ 21 ก.ค. 2562 เวลา 15.11 น. • Dailynews
รองโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เตือนรับจ้างกดไลค์-กดแชร์ เสี่ยงผิดกม. มีโทษจำคุก เร่งสอบเส้นทางการเงินธุรกิจ nice review นำเงินจากที่ใดจ่ายค่าตอบแทน

จากกรณี มีข้อความแจ้งสมาชิกของธุรกิจ Nice Review บนเพจเฟซบุ๊ก โดยมีการนำภาพตราสัญลักษณ์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษมาประกอบ และระบุข้อความในทำนองว่า ธุรกิจ Nice Review ไม่อาจเข้าข่ายเป็นคดีพิเศษ ทำให้หลายฝ่ายเกิดความสงสัยว่าหน่วยงานของรัฐทำไมถึงกล้ารับรองในธุรกิจเช่นนี้ ตามที่ปรากฏเหตุการณ์ไปแล้วนั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อวันที่ 21 ก.ค. พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ รองโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ชี้แจงว่า ดีเอสไอเปิดช่องทางให้ประชาชนแจ้งข้อมูลเบาะแสในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งมีการจัดทำโปรแกรมประยุกต์ชื่อ “ตรวจสอบแชร์ลูกโซ่” ที่มีช่องทางแจ้งเบาะแสแชร์ลูกโซ่ผ่านโปรแกรมดังกล่าว ซึ่งการตอบผลการพิจารณาจะเป็นเรื่องระหว่างผู้แจ้งเบาะแสกับดีเอสไอ โดยเป็นการพิจารณาเบื้องต้นตามข้อเท็จจริงที่ได้รับ หากเห็นว่าข้อเท็จจริงไม่เพียงพอ จะแนะนำให้ยื่นคำร้องเป็นหนังสือเข้ามายังดีเอสไอ รวมทั้งแนะนำให้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุหากพบว่าตนเองได้รับความเสียหาย แต่การนำตราสัญลักษณ์ของดีเอสไอไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและนำไปประกอบข้อความข้างต้นอาจทำให้ประชาชนสับสนว่า การกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดที่เป็นคดีพิเศษและดีเอสไอรับรองแล้ว **

พ.ต.ต.วรณัน กล่าวอีกว่า ดังนั้น พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ จึงมอบหมายให้กองบริหารคดีพิเศษ ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้ว ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น พบว่าธุรกิจ Nice Review เป็นการเชิญชวนประชาชนทั่วไปที่ใช้เฟซบุ๊กให้กดไลค์ กดแชร์ และให้แสดงความคิดเห็นหรือคอมเมนท์ในเชิงบวกแก่งานโฆษณาบนระบบเฟซบุ๊กที่ Nice Review เตรียมไว้ในแต่ละวันอย่างต่อเนื่อง เพื่อโปรโมทเพจของผู้ประกอบการให้เกิดความน่าเชื่อถือ โดยมีค่าใช้จ่ายในการสมัครสมาชิก มีรหัสให้ และมีการกำหนดค่าตอบแทนเป็นลำดับชั้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

กรณีดังกล่าวตรงกับคำนิยาม “กู้ยืมเงิน” ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 ที่รวมถึงการรับสมัครเป็นสมาชิกโดยมีการจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้สมัคร แต่ขณะนี้ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทมีฐานรายได้จากที่ใดที่นำมาจ่ายเป็นค่าตอบแทนให้สมาชิก และอัตราผลตอบแทนเป็นอย่างไร ซึ่งจะได้ตรวจสอบต่อไป อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวอาจเข้าข่ายความผิดอาญาอื่น เนื่องจาก…การกดไลค์ กดแชร์ และให้ความคิดเห็นไม่ได้เกิดจากความต้องการที่แท้จริง อาจทำให้ประชาชนทั่วไปหลงเชื่อในสินค้าหรือบริการว่ามีคุณภาพตามคำโฆษณาทั้งที่ไม่เป็นความจริง พฤติการณ์ดังกล่าวอาจเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 22 ในเรื่องการโฆษณาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรืออาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมในส่วนรวม รวมถึงอาจเป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) และ (5) ในการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ และการเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลที่มีลักษณะดังกล่าวก็เป็นความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกด้วย.

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 62
  • MONTREE
    เห็นด้วยครับ ควรทำตั้งนานแล้ว เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคครับ
    22 ก.ค. 2562 เวลา 01.12 น.
  • BirdOfParaDize
    ปลอมรีวิวคือ ฉ้อโกงไง
    22 ก.ค. 2562 เวลา 01.18 น.
  • TNOOONB
    ไร้สาระ เมื่อไหร่ สมองจะพัฒนา คิดแบบเรื่องที่ควรจะเป็นบ้าง
    22 ก.ค. 2562 เวลา 01.20 น.
  • RuT FroRida RiT
    สมอง
    22 ก.ค. 2562 เวลา 01.03 น.
  • 𝕂𝕙𝕒𝕘 ℕ𝕒𝕣𝐨̈𝕟𝕘𝕣𝕚𝕥 ♡︎♥︎
    รับจ้างเผด็จการล่ะ ต้องโดนจับด้วยมั้ย 🤔🤔
    22 ก.ค. 2562 เวลา 01.06 น.
ดูทั้งหมด