ไลฟ์สไตล์

เกณฑ์การตั้งชื่อพายุ – ที่มาของพายุไต้ฝุ่นมังคุด พายุชื่อผลไม้ไทย

Campus Star
เผยแพร่ 07 ต.ค. 2561 เวลา 06.14 น.
เกณฑ์การตั้งชื่อพายุ โดยแต่ละประเทศ ได้ส่งชื่อพายุในภาษาของตน มาให้ประเทศละ 10 ชื่อ รวมทั้งสิ้นได้ 140 ชื่อ จากนั้นจะนำมาแบ่งเป็น 5 ชุดหลัก

ในปี 2561 นั้น มีชื่อพายุหนึ่งที่ชื่อเหมือนผลไม้ไทยมาก คือ พายุไต้ฝุ่นมังคด นั่นเลยเป็นที่มาของบทความนี้ ที่เกิดจากความสงสัยว่า ชื่อพายุต่างๆ ได้มายังไง ใครเป็นคนตั้ง หรือจะเป็นแค่ชื่อพายุที่ออกเสียงมังคุด ???

เกณฑ์การตั้งชื่อพายุ ก่อนเป็นที่มาของไต้ฝุ่นมังคุด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การตั้งชื่อพายุสมัยก่อน จะใช้ชื่อผู้หญิงในการตั้ง เพราะฟังแล้วจะดูอ่อนโยนอ่อนหวาน แต่เมื่อถูกนักสิทธิสตรีในสหรัฐฯ ได้ออกมาประท้วงว่า การใช้ชื่อผู้หญิงเป็นชื่อพายุ ทำให้ภาพลักษณ์ของผู้หญิงโหดร้าย จึงมีการใช้ชื่อของผู้ชายด้วย

ก่อนที่ในปี ค.ศ.2000 หรือประมาณ ปี 2543 การตั้งชื่อพายุ จะเปลี่ยนไป ประเทศต่างๆ จากทุกโซนทั่วโลกจำนวน 14 ที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) ได้มีการจัดระบบตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบนี้ใหม่ (ไม่เอาเฉพาะแต่ชื่อฝรั่ง)

แต่ละประเทศส่งชื่อพายุในภาษาของตน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยแต่ละประเทศ ได้ส่งชื่อพายุในภาษาของตน มาให้ประเทศละ 10 ชื่อ รวมทั้งสิ้นได้ 140 ชื่อ จากนั้นจะนำมาแบ่งเป็น 5 ชุดหลัก ชุดละ 28 ชื่อ โดยไล่เรียงชื่อไปตามลำดับประเทศมาตามอักษรโรมัน ข้อตกลง ตามข้อตกลงดังนี้ คือ

  1. เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุด ใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 น็อต หรือ 63 กม./ชม. พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ

  2. ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ที่คอลัมน์ที่หนึ่งตัวบนสุดก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุด ใกล้จุดศูนย์กลาง ตามที่กำหนด ในข้อ 1. เป็นตัวแรกของปี พายุนั้นจะมีชื่อว่า “Damrey (ดอมเรย์)”

  3. เมื่อมีพายุตัวต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 3.1 พายุนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมา ในคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุตัวที่สองจะมีชื่อว่า “Longwang (หลงหวาง)”

  4. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ จากนั้นให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ “Trami (ทรามี)” จะใช้ชื่อ “Kongrey (กองเรย์)”

  5. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ “Saola (เซลลา)” จะใช้ชื่อ “Damrey (ดอมเรย์)”

ความหมายของชื่อพายุ ของไทย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สำหรับประเทศไทยทางกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณารายชื่อ และความหมายของชื่อขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนเสนอชื่อพายุใน ภาษาไทยที่ที่ประชุมของ ศูนย์เตือนภัยพายุไต้ฝุ่นร่วม หรือ เจทีดับบลิวซี (Joint Typhoon Warning Center (JTWC)) ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะกวม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกโดยมีสมาชิกอีก 14 ประเทศในโซนเดียวกันมาร่วมประชุม จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ, ทุเรียน, วิภา, รามสูร, เมขลา, มรกต, นิดา, ชบา, กุหลาบ และขนุน แต่ในบางปีได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ คือ พระพิรุณ – วิภา – เมขลานิดา – กุหลาบ – มังคุดบัวลอย – อัสนี – ชบา – ขนุน

ซึ่ง 10 ชื่อพายุ ที่ไทยตั้ง ได้มีการนำมาใช้แล้วตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุดเมื่อเดือน ก.ค. 2561 ที่ผ่านมา ได้วนกลับมาใช้ชื่อ “พระพิรุณ” อีกครั้งตามกฎ หลังเกิดพายุโซนร้อน บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนตัวไปทางใต้ของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 2-4 ก.ค. 2561

ที่มาของชื่อพายุมังคุด

ที่มาของชื่อพายุมังคุด ที่กำลังพัดถล่มในหลายประเทศอยู่ในขณะนี้นั้น เป็นเพราะประจวบเหมาะตรงกับตารางความหมาย และที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ Column I พอดี

จึงทำให้พายุลูกนี้มีชื่อว่า มังคุด ซึ่งตรงกับชื่อของผลไม้ชนิดหนึ่งของไทย .. ทั้งนี้นอกจากมังคุดแล้ว ยังมีชื่อพายุตามตารางอีกมากมาย เช่น ไคตั๊ก ยางิ เซบี จ่ามี มาเรีย และ แคมี เป็นต้น

ข้อมูลจาก wikipedia.org

บทความแนะนำ

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 7
  • Rosemaryn🌈
    เข้าใจไหม? ไม่อะ😦
    07 ต.ค. 2561 เวลา 14.49 น.
  • คำเดียวสั้นๆ.งง
    07 ต.ค. 2561 เวลา 15.35 น.
  • chuanchom
    ญี่ปุ่นไม่มีชื่อเรียกพายุหรอก จะกี่ลูกๆที่ตรวจเจอก็เรียกตามนัมเบอร์ของไต้ฝุ่นนั้น ลูกสุดท้ายที่เจอนี้เป็นไต้ฝุ่นลูกที่ 25
    07 ต.ค. 2561 เวลา 15.13 น.
  • Unknown
    เขียนได้งงดี ชอบๆ
    08 ต.ค. 2561 เวลา 02.47 น.
  • Son
    มันน่างงตรงไหนครับ แค่เรียงลำดับเองนะ จากแถวที่1ลงมาสุดแถวแล้วขึ้นต้นแถวที่2ต่อๆไปจนจบแถวสุดจึงเริ่มแถวที่1ใหม่ก็แค่นั้น
    08 ต.ค. 2561 เวลา 12.03 น.
ดูทั้งหมด