เคยสังเกตไหมว่า “พลาสติก” กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว เพราะไม่ว่าจะขวดน้ำ หลอด ขวดสบู่แชมพู ถุง หรือแม้แต่ภาชนะใส่อาหาร ล้วนทำมาจากพลาสติกทั้งนั้น แต่รู้หรือเปล่าว่าพลาสติกแต่ละชนิดผ่านกระบวนการผลิตโดยใช้สารเคมี เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานแต่ละชนิด แต่หากเราใช้งานพลาสติกผิดวิธี ก็จะทำให้สารพิษซึมเข้าสู่ร่างกายและเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้!
อันตรายจากการใช้พลาสติกผิดประเภท
ความอันตรายนี้เกิดจาก “สารบิสฟีนอล เอ” หรือเรียกสั้นๆ ว่า บีพีเอ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในการผลิตพลาสติกชนิดแข็งใส เมื่อพลาสติกถูกความร้อน จะทำให้สารบีพีเอละลายออกมาปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งศูนย์พิษวิทยาแห่งชาติ ของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐบอกว่า สารชนิดนี้จะส่งผลต่อระบบประสาท พัฒนาการของทารกในครรภ์ เด็กทารก และเด็กเล็กได้ และอาจเป็นสาเหตุก่อมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งเต้านมได้ นอกจากนี้การวิจัยในต่างประเทศยังพบว่าสารบีพีเอนั้นมีลักษณะเป็นตัวกวนฮอร์โมน ทำให้ฮอร์โมนเพศในร่างกายเกิดความสับสน และอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศในเด็ก รวมไปถึงความสามารถในการสืบพันธุ์ในอนาคต
Photo by Jonathan Borba on Unsplash
นอกจากนี้ ยังมีผลการวิจัยของคณะนักวิทยาศาสตร์ทั้งในสหรัฐและอังกฤษที่ต่างระบุตรงกันว่า สารเคมีในพลาสติกบรรจุอาหารและเครื่องดื่มมีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจ เบาหวาน โรคไตบางชนิด และยังเป็นอันตรายต่อการพัฒนาต่อมลูกหมากและสมองอีกด้วย
ความแตกต่างของพลาสติกแต่ละประเภท
หากเราลองสังเกตใต้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก จะเห็นว่ามีสัญลักษณ์ลูกศรชี้วนเป็นทรงสามเหลี่ยมพร้อมหมายเลขด้านใน ซึ่งสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกแห่งสหรัฐอเมริกา (The Society of the Plastics Industy,Inc.) ได้กำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานของพลาสติกกลุ่มต่างๆ ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิล มีทั้งหมด 7 ประเภทด้วยกัน
steemit.com
พลาสติกหมายเลข 1 พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylne Terephthalate)
หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า เพ็ท (PET หรือ PETE) เป็นพลาสติกใส แข็ง ทนแรงกระแทกได้ดี ไม่แตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านได้ดี จึงนิยมนำมาใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช
พลาสติกหมายเลข 2 พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene)
เรียกแบบย่อว่า เอชดีพีอี (HDPE) เป็นพลาสติกที่เหนียวและแตกยาก มีลักษณะแข็งแต่ยืดได้มาก ทนทานต่อสารเคมีและสามารถขึ้นรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย นิยมใช้ทำขวดนม ขวดน้ำ และบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด อย่างเช่น ยาสระผม น้ำยาล้างจาน
พลาสติกหมายเลข 3 พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride)
หรือที่รู้จักกันดีว่า พีวีซี (PVC) ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม
พลาสติกหมายเลข 4 พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene)
หรือเรียกว่า แอลดีพีอี (LDPE) เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ไม่ทนต่อความร้อน ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร
พลาสติกหมายเลข 5 พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) เรียกโดยย่อว่า พีพี (PP)
เป็นพลาสติกที่มีความใส ทนความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ แถมยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้า กระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยาเป็นต้น
พลาสติกหมายเลข 6 พอลิสไตรีน (Polystyrene) หรือที่เรียกแบบย่อว่า พีเอส (PS)
เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่เปราะและแตกง่าย ใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ต่างๆ อย่างเช่นแก้วพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ถาดใส่ไข่ หรือโฟมใส่อาหาร
พลาสติกหมายเลข 7 ไม่ระบุชื่อเฉพาะ
เป็นพลาสติกชนิดอื่นนอกเหนือจาก 6 ชนิดข้างต้น แต่เป็นพลาสติกที่สามารถนำมาหลอมใหม่เพื่อรีไซเคิลได้
พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัย
กล่องใส่อาหารส่วนใหญ่ที่เป็นพลาสติก หน้าตาก็จะคล้ายๆ กันไปหมด วิธีสังเกตคือลองพลิกดูใต้ภาชนะพลาสติก จะเห็นลูกศรชี้วนเป็นทรงสามเหลี่ยมพร้อมหมายเลขระบุด้านใน ซึ่งเป็นหมายเลขระบุชนิดของพลาสติกนั่นเอง โดยชนิดที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้จะต้องเป็นพลาสติกประเภท หมายเลข 5 คือ พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) หรือ PP เท่านั้น ส่วนพลาสติกหมายเลข 1,2,และ 4 สามารถนำเข้าไมเครเวฟได้ก็ต่อเมื่อมีสารที่ช่วยป้องกันความร้อนและการหลอมละลาย และสามารถนำเข้าเตาไมโครเวฟเพื่อให้อาหารพออุ่นเท่านั้น ไม่เหมาะกับการอุ่นด้วยความร้อนสูง นอกจากนี้เราสามารถสังเกตได้จากสัญลักษณ์ “microwave safe” ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายตู้ไมโครเวฟนั่นเอง
อย่างไรก็ตามเพื่อความชัวร์ เราสามารถเลือกใช้ภาชนะที่ทำจากกระเบื้องแบบที่ไม่มีลวดลายสีทองหรือเงิน หรือภาชนะแก้วสีใสที่สามารถทนต่อความร้อนแทนพลาสติก เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของเราและคนรอบข้าง
ジャンパー เคยได้ยินงานวิจัย(ลับๆ)ที่บอกว่าพลาสติกเป็นตัวทำให้โครโมโซมเพศมีการเปลี่ยนแปลงทำให้มนุษย์มีความผิดปกติทางเพศมากขึ้น....จริงรึป่าว
08 ส.ค. 2562 เวลา 14.06 น.
Sam บอกไม่หมด แล้วชนิดที่ 3,6,7 หละ ...
โดยเฉพาะ 3 PVC ...ฟลิ์ม ห่ออาหาร ใช้กันเยอะมาก เข้า microwave ได้ไหม
นักข่าว...เดี๊ยวนี้..เฟอะฟะ..มาก
08 ส.ค. 2562 เวลา 11.42 น.
ดูทั้งหมด