ทั่วไป

อ.เจษ ยัน "กินน้ำเย็น" ไม่ได้อันตราย! อย่าหลงเชื่อวิจัยแบบมั่วๆ

NATIONTV
เผยแพร่ 21 ส.ค. 2562 เวลา 09.40 น. • Nation TV
อ.เจษ ยัน กินน้ำเย็น ไม่ได้อันตราย! อย่าหลงเชื่อวิจัยแบบมั่วๆ

ผศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Jessada Denduangboripant ข้อความระบุว่า…

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

กลับมาแชร์กันอีกใหม่อีกแล้วนะครับ ที่อ้างว่า "ดื่มน้ำเย็นแล้วเป็นอันตราย" อย่างนู้นอย่างนี้ …. ไม่ใช่เรื่องจริงนะครับ !! ถ้าจริงคนคงตายไปแล้วครึ่งโลกนะ ฮ่าๆๆ

เอาที่เคยเขียนอธิบายเอาไว้ กลับมาให้อ่านกันนะครับ (จาก https://m.facebook.com/photos/edit/584788625337528/ )

--------

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

"กินน้ำเย็น ไม่ได้อันตรายครับ"

อันนี้ถามกันมาเยอะเลย ว่าที่เพจสุขภาพอันนี้ เค้าโพสต์ว่ามีงานวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นที่บอกว่า ควรจะดื่มน้ำอุ่นมากกว่าน้ำเย็น จะช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพดีกว่า ส่วนน้ำเย็น กินแล้วจะเป็นโรค ร่างกายจะเสียสมดุลย์ คนจีนอายุยืนเพราะดื่มน้ำอุ่น แถมมีรูปประกอบเหมือนน้ำเย็นจะทำให้เลือดตกลงมาเป็นก้อน … จริงเท็จเป็นเช่นไร ?

คือคิดแบบคอมมอนเซนส์เนี่ย ถ้ากินน้ำเย็นแล้วเป็นอันตรายเนี่ย คนคงป่วย คงตาย กันไปครึ่งโลกแล้วล่ะครับ โดยเฉพาะคนในประเทศเขตหนาว … แล้วคนจีนหรือคนญี่ปุ่นเอง เวลาหน้าร้อน เค้าก็ดื่มน้ำเย็นแก้กระหายเหมือนกัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อุณหภูมิร่างกายคนเรา อยู่ที่เฉลี่ย 37.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเมื่อเราดื่มน้ำเย็นเข้าไปนั้น เราอาจจะรู้สึกเย็นวาบไปตามหลอดอาหารถึงกระเพาะได้ แต่นั่นก็แค่แป้บเดียว เพราะร่างกายจะรีบปรับอุณหภูมิของน้ำที่เราดื่มเข้าไปให้อยู่ในระดับเดียวกับร่างกาย ที่หลักของ homeostasis .. แถมการปรับอุณหภูมินี้ ก็อาศัยการเผาผลาญพลังงานภายในร่างกาย ซึ่งการดื่มน้ำเย็นใส่น้ำแข็ง 2 ลิตรต่อวัน จะช่วยเผาพลาญได้ถึง 70 กิโลแคลอรี่ทีเดียว (https://www.sharecare.com//drinking-ice-water-burn-calories)

ที่นี้ย้อนกลับมาถึงงานวิจัยของชาวญี่ปุ่น ปี 2013 ที่เค้าอ้างถึง คือ The effect of water temperature and voluntary drinking on the post rehydration sweating. ถ้าเข้าไปอ่านบทความวิจัยนี้จริงๆ (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24040477) จะเห็นว่า มันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการดื่มน้ำอุ่นจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย หรือลดการเป็โรคต่างๆ อย่างทีอ้างเลย

บทความวิจัยนี้ พูดถึงเรื่องผลของอุณหภูมิของน้ำดื่ม ที่มีต่อ "เหงื่อที่ออก" ซึ่งมาจากการที่ร่างกายระบายความร้อนหลังจากที่โดนความร้อนและขาดน้ำ โดยให้อาสาสมัครไปออกกำลังกายในห้องที่ร้อนชื้น จนร่างกายขาดน้ำ แล้วดื่มน้ำที่อุณหภูมิต่างกัน คือ 5, 16, 26, 58 องศาเซลเซียส จากนั้นวัดปริมาณเหงื่อที่ออกมา

ผลที่ได้คือ น้ำที่อุณหภูมิ 16 องศาเซลเซียส สามารถช่วยลดอากาขาดน้ำได้ดีที่สุด … ซึ่ง 16 C เนี่ยเป็นอุณหภูมิของน้ำจากก๊อกในประเทศญี่ปุ่น แต่น่าจะนับได้ว่าเป็นน้ำเย็นเล็กน้อย สำหรับบ้านเรา และคงไม่มีใครนับว่ามันเป็น "น้ำอุ่น" แต่อย่างไรนะ

สรุปว่า โพสต์เรื่อง "กินน้ำเย็นอันตราย/กินน้ำอุ่นแล้วดี" เนี่ย ไม่น่าเชื่อถือ และอ้างอิงงานวิจัยมาแบบมั่วๆ นะครับ

ปล. รูปประกอบเค้า ก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรื่องเลือดในร่างกายนะ เวลาเอาสีหยดลงไปในน้ำเย็น มันก็เกาะกลุ่มกันแบบนี้ และเวลาหยดลงในน้ำร้อนน้ำอุ่น มันก็กระจายตัวดี ตามหลักเทอร์โมไดนามิกธรรมดาๆ ครับ

.

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 27
  • ภาพขาวดำ​ อจ.​ ด็อคเตอร์​ น่ากลัวกว่ากินน้ำเย็นอีก
    21 ส.ค. 2562 เวลา 10.47 น.
  • gig
    อากาศ เมืองไทย มันร้อน ก้ต้องดื่มน้ำเยน สิวะ....
    21 ส.ค. 2562 เวลา 11.22 น.
  • ถ้าแดกไม่ใด้คนที่อยู่เขตร้อนคงตายไปครึ่งโลกแล้วละ
    21 ส.ค. 2562 เวลา 11.55 น.
  • Dan_padorn
    ตรึกตรองดีๆก่อนแชร์ ไม่ว่าเรื่องอะไร
    21 ส.ค. 2562 เวลา 10.39 น.
  • Peerapong
    อาจารย์แกเก่งทุกเรื่องจริงๆ
    21 ส.ค. 2562 เวลา 10.57 น.
ดูทั้งหมด