ทั่วไป

เข้าใจความต่าง ร่าง แก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 1448 เพื่อ #สมรสเท่าเทียม และร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต

THE STANDARD
อัพเดต 08 ก.ค. 2563 เวลา 14.33 น. • เผยแพร่ 08 ก.ค. 2563 เวลา 14.33 น. • thestandard.co
เข้าใจความต่าง ร่าง แก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 1448 เพื่อ #สมรสเท่าเทียม และร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต

หลังจากช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา #สมรสเท่าเทียม ติดเทรนด์ทวิตเตอร์และปลุกกระแสการพูดถึงการแก้ไขกฎหมายเพื่อความเท่าเทียมสำหรับคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในโลกโซเชียล ซึ่งเกิดจากการเสนอร่างกฎหมายโดย ส.ส. ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ และคณะฯ จากพรรคก้าวไกล ที่ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ (ป.พ.พ.) จากเดิมที่ ป.พ.พ. มาตรา 1448 อนุญาตการหมั้นและการสมรสเฉพาะชายและหญิง เปลี่ยนเป็นอนุญาตให้ ‘บุคคลทั้งสอง’ นั้น (ซึ่งรวมถึงคู่รัก LGBTQ) สามารถหมั้นและจดทะเบียนสมรสเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้รับสิทธิ หน้าที่ และศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับคู่สมรสชายหญิงทั่วไป

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในขณะเดียวกันนั้น วันนี้ (8 กรกฎาคม) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต (พ.ร.บ. คู่ชีวิต) และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ที่เสนอโดยกรมคุ้มครองสิทธิฯ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่าง พ.ร.บ. แล้ว และจะให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป 

 

THE STANDARD รวบรวมสิทธิ หน้าที่บางอย่าง เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างร่างพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 และมาตราอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เสนอโดยพรรคก้าวไกล เพื่อการสมรสเท่าเทียม (ร่าง แก้ไข ป.พ.พ. 1448) และร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต เสนอโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ทั้งในช่วงการรับฟังความคิดเห็นในปี 2562 และจากมติ ครม. ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 อย่างไรก็ตาม ร่าง แก้ไข ป.พ.พ. ของพรรคก้าวไกล และร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ยังไม่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย เนื่องจากต้องผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาในลำดับต่อไป

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่าง แก้ไข ป.พ.พ. 1448 เพื่อ #สมรสเท่าเทียม ได้ที่ www.parliament.go.th/section77/survey_detail.php?id=94

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทำความเข้าใจ #สมรสเท่าเทียม เพิ่มเติมได้ที่ https://thestandard.co/equal-marriage(เผยแพร่เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2563)

 

 

ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง: 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 7
  • พชร ™
    แหม๋ ....ต้องอคติแค่ไหนมีปมทางจิตใจแค่ไหน ที่คนเม้นก่อนหน้า ลงทุนเม้นด่าคนอื่นที่ต่างจาก ชาย-หญิง เป็นพวกวิปริตวิปราส ไม่ยอมรับความจริง ....เรายอมรับความจริงคะว่าเราเป็นอะไร.............. แต่คุณต่างหากที่ไม่รับความจริงว่าพวกเราเป็นอะไร จุ๊ฟๆ
    08 ก.ค. 2563 เวลา 18.05 น.
  • Surasit
    ถึงเวลาที่ชายจริงหญิงแท้ จะต้องออกมาจัดการกับ ของปลอมเหล่านี้อย่างจริงจัง กันเสียที อย่าปล่อยให้ความวิปริตผิดเพศ พวกนี้มามีชัยชนะเหนือความจริงได้
    08 ก.ค. 2563 เวลา 16.27 น.
  • Papa Lek
    โลกใบนี้มันช่างบิดเบี้ยวเสียจริง เรียกร้องกันเข้าไป
    08 ก.ค. 2563 เวลา 16.11 น.
  • 𝓐^𝓸^𝔂_𝔃𝔃𝓩 🐬●ᴥ●🌈ʕ•ᴥ•ʔ
    ได้คืบจะเอาศอก เดี๋ยวก็มาเรียกร้องขอคำนำหน้าชื่อว่า นางสาว สำหรับคนแปลงเพศมาแล้วอีกสินะ เฮ้อ
    08 ก.ค. 2563 เวลา 15.46 น.
  • 1 LEVEL 🎱 🐒
    อย่าไปล้ำเส้นเมนหลัก... ของเพศที่เป็นสากล..
    08 ก.ค. 2563 เวลา 15.01 น.
ดูทั้งหมด