ไลฟ์สไตล์

‘คาร์ซีท’ อุปกรณ์เซฟชีวิตเด็ก กม. ที่ไม่อยากให้ห้ามมองข้าม !

LINE TODAY
เผยแพร่ 09 พ.ค. 2565 เวลา 17.00 น. • O.J.

‘อุบัติเหตุ’ ถือเป็นสิ่งที่หลายคนไม่อยากประสบพบเจอ นอกจากการความเจ็บปวดที่ต้องพักฟื้นก็อาจมาพร้อมกับความสูญเสียครั้งใหญ่ บางครั้งอาจเป็นปมฝังใจของผู้ประสบเหตุ ยิ่งเป็น ‘เด็ก’ อาจยากที่จะลบเลือนความทรงจำจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อหน้าได้

โดยตั้งแต่ต้นปี 2565 จนถึงปัจจุบัน ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai RSC ได้รวบรวมสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนรถทุกประเภท พบว่ามีผู้เสียชีวิตสะสมแล้ว 5,352 ราย มีช่วงอายุที่หลากหลาย แต่ทว่าก็มีเด็กที่อายุเพียง 1-14 เสียชีวิตจากอุบัติเหตุถึง 12.04% และบาดเจ็บ 23.83% จากผู้บาดเจ็บสะสม 307,014 ราย แม้ส่วนใหญ่จะเกิดอุบัติเหตุกับรถจักรยานยนต์ 80 % ส่วนรถยนต์เพียง 20 %

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ล่าสุดเรียกว่าเป็นประเด็นบนโลกออนไลน์กับราชกิจจานุเบกษาประกาศผ่านทางเว็บไซต์ระบุว่า เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 ซึ่งสาระสำคัญระบุให้ คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือนั่งในที่พิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย

คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ซึ่งภายหลังราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศเผยแพร่ไปได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้เป็นวงกว้างทั้งเชิงบวกและเชิงลบ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จนรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลต้องสยบดราม่าว่า “ไม่ได้บังคับตายตัวว่าจะต้องใช้คาร์ซีท แต่เพียงต้องจัดที่นั่งให้เด็กปลอดภัยเพียงเท่านั้น”

แม้ประเทศไทยจะยังไม่ได้บังคับทันถ่วงที แต่ทว่าเพื่อนบ้านเราในอาเซียก็มีข้อบังคับใช้คาร์ซีทและคาดโทษเช่นกันเริ่มด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ฟิลิปปินส์

-ถ้าเกิดพบว่าเด็กไม่ได้นั่งอยู่ในคาร์ซีทจะถูกปรับเป็นเงินจำนวน 1,000 เปโซ ถ้าครบ 3 ครั้ง จะถูกปรับ 5,000 เปโซและยึดใบอนุญาตขับรถยนต์ 1 ปี

มาเลเซีย

-ถ้าเกิดพบว่าเด็กไม่ได้นั่งอยู่ในคาร์ซีทจะถูกปรับเป็นเงินจำนวน 2,000 ริงกิต

สิงคโปร์

-กรณีที่ผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะเสียค่าปรับสูงถึง 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์และจำคุก 3 เดือน

นอกจาก 3 ประเทศที่ได้เผยในข้างต้นที่มีโทษที่แตกต่างกันออยากไป แต่ส่วนใหญ่ ‘คาร์ซีท’ จะไม่ถูกติดตั้งบนรถในแท็กซี่ด้วยปัจจัยหลายอย่าง

ทั้งนี้การติดตั้งคาร์ซีทเป็นอุปกรณ์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยขณะนั่งในรถของลูกคุณเอง เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุลูกของคุณจะลอยออกจากรถจากแรงกระแทก

ดังนั้นหากมีกำลังทรัพย์ที่เพียงพอก็ติดตั้งดีที่สุด หรือบางครอบครัวอาจไม่ได้มีทุนทรัพทย์ที่จะซื้อก็แนะนำให้ขัดเข็มขัดนิรภัยเพื่อลดการสูญเสีย แม้การเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์จะมีเพียง 20 % ก็ตาม แต่ทั้งหมดก็เกิดจากการสูญเสีย

อ้างอิง

thairsc.com

britaxthailand.com

ratchakitcha2.soc.go.th

ความเห็น 71
  • phaitoon
    ที่กลัวคือวิจารณญานของตำรวจ จะนำไปสู่การรีดไถ
    10 พ.ค. 2565 เวลา 13.51 น.
  • อยากรู้ชื่อคนที่ออกกฏหมายนี้​ คนเดียวกับคนที่ห้ามนั่งกะบะแค็บใช่ไม๊
    10 พ.ค. 2565 เวลา 13.51 น.
  • pitsanu
    ในราชกิจจาฯไม่ได้บอกว่า ไม่ได้บังคับตายตัวนะครับ ถ้าบังคับใช้แล้วไม่ปฏิบัติตาม ก็โดนปรับ ชัดเจน จะเป็นเครื่องมือ หาเวินให้ตำรวจ อย่างที่หมวกกันน็อค ตอนนี้ก็ปล่อยปละละเลย ไม่บังคับใช้กฏหมาย ทำหมวกกันน็อกให้ได้มากกว่า90%ก่อนดีมั้ย แล้วนั่งรถแท็กซี่ รถเมล์ ล่ะทำยังไง
    10 พ.ค. 2565 เวลา 13.41 น.
  • P4279/42ศุภสันต์ นาค
    แล้วเด็กก็โตและสูงเรื่อยๆจากอันเล็กๆไปอันใหญ่ขึ้นชาวบ้านก็ต้องเปลี่ยนด้วยใช่ไหม...เสียเงินกันชิบอ๋าย...ใครได้ประโยชย์เจ้าของกิจการไง รวยๆๆๆ
    10 พ.ค. 2565 เวลา 13.33 น.
  • Smallville
    คุณภาพมีแค่นี้
    10 พ.ค. 2565 เวลา 13.29 น.
ดูทั้งหมด