ไอที

หุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ฝีมือคนไทย

TNN ช่อง16
เผยแพร่ 06 มิ.ย. 2565 เวลา 13.19 น.
หุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ฝีมือคนไทย ถูกพัฒนาขึ้นคิดค้นขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยทุกระดับเข้าถึงการรักษาด้วยเทคโนโลยี ในราคาที่จับต้องได้

ความสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง และสถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด หรือคนไทยทุก ๆ 5 คน จะมีผู้สูงอายุ 1 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนให้เห็นว่าไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปีนี้ ตามเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด โดยหนึ่งในเรื่องมองข้ามไม่ได้ก็คือ การดูแลสุขภาพและฟื้นฟูร่างกายของคนสูงวัย โดยเฉพาะตัวการสำคัญที่มาพร้อมกับอายุขัยที่เพิ่มขึ้นอย่าง “โรคหลอดเลือดสมอง”หรือ Stroke

โดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ในแต่ละปีทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองราว 15 ล้านคน ในทุก ๆ 6 วินาที จะมีคนเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน โรคนี้เกิดจากการที่หลอดเลือดสมองมีอาการตีบ อุดตัน หรือ แตก ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ ส่งผลให้สมองขาดเลือด และเมื่อสมองขาดเลือด เซลล์สมองจะถูกทำลาย ทำหน้าที่ไม่ได้ จึงทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิต ซึ่งอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต นี่เองที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เช่นเดิม ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา และใช้ทรัพยากรคนดูแลในระยะยาว ซึ่งจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากแต่ละปีมีผู้ป่วยใหม่โรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 3 แสนคน และต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี

จุดเริ่มต้นการพัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปกติแล้ว การดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต จำเป็นต้องอาศัยนักกายภาพบำบัดเพื่อช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย แต่ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจึงได้มีการนำเอาหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มาทำหน้าที่เสริมช่วยเหลือผู้ป่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย แต่หุ่นยนต์ฟื้นฟูส่วนใหญ่ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศจึงมีราคาสูง ซึ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มสูงขึ้น

ด้วยปัญหานี้ จึงทำให้ ศ.ดร. วิบูลย์ แสงวีระพันธ์ุศิริ หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้สูงอายุ เพื่อเข้ามาช่วยฟื้นฟูสมรรถนะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว โดยมีราคาถูกต่างประเทศ 8 - 10 เท่า โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยทุกระดับมีโอกาสเข้าหาเทคโนโลยีในการรักษาฟื้นฟูร่างกาย

หุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ฝีมือคนไทย
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หลักการทำงานของหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

หุ่นยนต์เหล่านี้จะช่วยฝึกให้ผู้ป่วยใช้งานอวัยวะส่วนต่าง ๆ ด้วยการกระตุ้นการสั่งการของสมอง ซึ่งแบ่งได้2 ลักษณะ คือ แบบสวมใส่ หรือแบบโครงร่าง และแบบจับที่ปลาย มีการพัฒนาหุ่นยนต์ ทั้งสิ้น 6 - 7 รูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับการฟื้นฟูหัวไหล่ แขน ข้อศอก ข้อมือ และส่วนล่างคือ ขา ข้อเข่า และข้อเท้า

โดยแพทย์จะผู้วินิจฉัยและแจ้งว่าผู้ป่วยแต่ละคนเหมาะกับการฟื้นฟูด้วยหุ่นยนต์แบบใด

เทคโนโลยีในหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

@สำหรับการออกแบบโครงสร้างของหุ่นยนต์ฟื้นฟู จะใช้เทคโนโลยี CNC หรือ Computer Numerical Control คือ การขึ้นรูปชิ้นงานผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ส่วนการทำงานควบคุมมีการพัฒนาระบบอัลกอริทึมทำงานร่วมกับระบบอื่น ๆ เช่น ระบบเซนเซอร์ ระบบขับเคลื่อน รวมถึงมีระบบ Cloud Computing (คลาวน์คอมพิวติง) หรือถังเก็บข้อมูลของผู้ป่วยจากการฝึก ซึ่งแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลาผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประกอบการรักษา ซึ่งขณะผู้ป่วยใช้งานจะต้องมีนักกายภาพบำบัดคอยดูแลให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด โดยสามารถเห็นได้จากจอแสดงผลว่าผู้ป่วยมีการออกแรงหรือไม่ และออกแรงได้เท่าไหร่ นอกจากนี้ เจ้าหุ่นยนต์ จะทำงานในรูปแบบ assist as need ช่วยเท่าที่จำเป็น ปรับความเร็ว และแรงได้ ตามที่แพทย์ต้องการ @(color:rgb(0,0,0);)

หุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ฝีมือคนไทย

ใช้งานได้หลายสถานที่

ความน่าสนใจอีกอย่างของหุ่นยนต์ฟื้นฟูนี้อยู่ที่ขนาดที่ค่อนข้างเล็ก เคลื่อนย้ายสะดวก ตอบโจทย์โรงพยาบาลที่ต้องการเคลื่อนย้ายหุ่นยนต์บ่อยครั้ง และผู้ป่วยที่ต้องการเช่าไปใช้ที่บ้าน ขณะที่ผู้ป่วยบางคนอาจจะเกิดความเครียดหรือวิตกกังวลขณะฟื้นฟู ทีมผู้พัฒนาจึงมีการติดตั้งเกม 3 ระดับ เพื่อให้ผู้ป่วยได้เล่น ซึ่งช่วยสร้างทั้งกล้ามเนื้อและความผ่อนคลายได้ในระหว่างฝึก

หุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ฝีมือคนไทย

การใช้งานหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยในปัจจุบัน

@@ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์ไปใช้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแล้วในโรงพยาบาล 13 แห่ง ในพื้นที่กทม. และภูมิภาคต่าง ๆ โดยเริ่มใช้ที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย และได้กระจายไปตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลหาดใหญ่ (color:rgb(0,0,0);)

การพัฒนาต่อยอดในอนาคต

ที่ศูนย์เทคโนโลยีหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีการพัฒนาหุ่นยนต์ในรูปแบบอื่นเพิ่มเติม เพื่อช่วยงานในส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ เช่น การพัฒนาAssist Robot (หุ่นยนต์ผู้ช่วย) เพื่อช่วยคนยกของที่มีน้ำหนักมาก หรือช่วยงานที่คนเราทำไม่ได้

ซึ่งหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเหล่านี้ ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะเข้ามาแบ่งเบาภาระงานของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ในยุคที่จำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถือเป็นความหวังของผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตต้องการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมามีชีวิตปกติได้ในที่สุด รวมถึงเป็นการพัฒนาก้าวสำคัญที่จะช่วยยกระดับความสามารถของหุ่นยนต์การแพทย์ไทยให้ทัดเทียมกับหุ่นยนต์จากต่างประเทศ ในราคาที่ประชาชนทุกระดับเข้าถึงได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ

ดูบทความอื่นๆ จาก TNN ช่อง16

หนุ่มตัดสินใจไม่หย่าภรรยา หลังได้ความรักจากแฟนสาว AI มาช่วยกู้ชีวิตคู่
TNN ช่อง16
งานแสดงเทคโนโลยีหุ่นยนต์นานาชาติ iREX 2022 กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น
TNN ช่อง16
ฮอนด้าปลดประจำการหุ่นยนต์อาซิโม (Asimo) หลังปฏิบัติหน้าที่มานานกว่า 20 ปี
TNN ช่อง16
10 สุดยอดเทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2022
TNN ช่อง16
JR West ญี่ปุ่นพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดใหญ่ใช้ในงานก่อสร้างและซ่อมบำรุงทางรถไฟ
TNN ช่อง16
Amazon เข้าลงทุนในบริษัทหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์สำหรับทำงานในคลังสินค้า
TNN ช่อง16
Clearbot หุ่นยนต์เก็บขยะอัตโนมัติริมชายฝั่งทะเลเกาะฮ่องกง
TNN ช่อง16
จีนเตรียมสร้างเขื่อนด้วยการพิมพ์สามมิติ เสร็จปี 2024 !
TNN ช่อง16
Dyson พัฒนา "หุ่นยนต์แม่บ้าน" ทำงานบ้านแทนมนุษย์ได้ เตรียมเปิดตัวในปี 2023
TNN ช่อง16