ไลฟ์สไตล์

โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่

ประชาชาติธุรกิจ
อัพเดต 26 เม.ย. เวลา 03.15 น. • เผยแพร่ 26 เม.ย. เวลา 03.31 น.

คอลัมน์ : สุขภาพดีกับรามาฯ ผู้เขียน : ผศ.นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

อาการที่พบบ่อยคือ วอกแวกง่าย ฟังอะไรจับใจความไม่ค่อยได้ ทำงานผิดพลาดบ่อย หาอะไรไม่ค่อยเจอ ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ยอมเริ่มทำงาน หุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ อารมณ์แปรปรวน โกรธง่าย หายเร็ว มีปัญหากับคนรอบข้างบ่อย ๆ เบื่อง่าย คอยอะไรนาน ๆ ไม่ค่อยได้ เครียด หงุดหงิดง่าย บางคนมีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

วิธีการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการใช้ยาโดยใช้ยากลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท เช่น ยา Methylphenidate ยากลุ่มไม่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท เช่น ยา Atomoxetine

มักใช้ในกรณีผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของยา Methylphenidate ได้ ส่วนยากลุ่มอื่น ๆ เช่น ยาต้านซึมเศร้า ยาคลายกังวล

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยนักจิตวิทยาคือ 1.วางแผน-จัดการเวลาให้เป็นนิสัยเพื่อทำงานให้ดีขึ้น รวมถึงเป้าหมายต้องทำให้เสร็จทีละชิ้น เป็นการลดความกังวลด้วยการจดรายการที่ต้องทำ เขียนโน้ตเตือน วางกรอบเวลา

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

2.นอนหลับให้เพียงพอ กำหนดเวลาเข้านอน 3.ลดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อไม่ให้สมองทำงานหนัก เพื่อลดความฟุ้งซ่าน 4.จัดการความกังวลให้จบลงเร็วที่สุด 5.ออกกำลังกายหายเครียดได้ดี

การรักษาทางจิตเวช โรคนี้รักษาให้หายขาดได้ แต่ขึ้นอยู่กับแต่ละคนจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรับยารักษาสม่ำเสมอหรือไม่

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.prachachat.net

ดูข่าวต้นฉบับ