ไลฟ์สไตล์

ชำแหละอำนาจนำ ผ่านสัญลักษณ์ “ไก่” ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ศิลปวัฒนธรรม
อัพเดต 02 ธ.ค. 2565 เวลา 02.02 น. • เผยแพร่ 01 ธ.ค. 2565 เวลา 10.08 น.
ภาพไก่ สัญลักษณ์ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

…ความคิดเรื่องการสร้างชาติไทยให้เจริญเป็นอารยะนั้น นอกจากจะเน้นการปลุกกระแสชาตินิยมแล้ว ยังถูกสั่งสอนกล่อมเกลาให้เชื่อว่า ชาติไทยจะพัฒนาเป็นอารยะได้นั้น มีหนทางสำคัญคือ ทำตามคำสั่งหรือนโยบายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นสำคัญ คติพจน์ที่เป็นที่รู้จักดีของยุคคือ “เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย”

ภายใต้กระบวนการสร้างวาทกรรม “เชื่อผู้นำ” ดังกล่าว ในเชิงศิลปะได้มีการสร้างรูปสัญลักษณ์ใหม่บางอย่างขึ้น และอำนาจนำ ผ่านรูปสัญลักษณ์บางอย่าง สัญลักษณ์ที่ถูกเลือกขึ้นมาคือ “ไก่” เพราะ “ไก่” คือปีเกิดของจอมพล ป. พิบูลสงคราม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

น่าพิจารณาอย่างยิ่งว่า สัญลักษณ์ “ไก่” ของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการออกแบบที่เสมือนว่าจะพยายามลอกเลียนตราสัญลักษณ์ “ครุฑ” ของกษัตริย์อยู่ในที (และบางส่วนดูเหมือนจะได้รับอิทธิพลจากอินทรีนาซี)

“ไก่” ในยุคนี้ต้องถือว่าถูกสร้างสถานะและความหมายที่พิเศษมากกว่า “ไก่” ในทุกยุคสมัย สัญลักษณ์ “ไก่” ถูกนำไปสร้างขึ้นเป็นรูปปั้นตั้งอยู่ที่ลพบุรี ถูกนำไปแต่งเป็นเพลง ถูกนำไปเขียนเป็นรูป ถูกนำไปทำน้ำพุประดับทำเนียบสามัคคีชัย

และที่สำคัญ ถูกใช้เป็นองค์ประกอบลวดลายประดับชายคาในทำเนียบรัฐบาล ทั้งหมดนี้เพื่อสื่อแสดงถึงอำนาจและบารมีของจอมพล ป. พิบูลสงคราม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

หมายเหตุ : คัดเนื้อหาส่วนหนึ่งจากบทความเรื่อง “ศิลปะคณะราษฎร 2475-2490” เขียนโดย ชาตรี ประกิตนนทการ ในหนังสือ “ศิลปะสถาปัตยกรรม คณะราษฎร สัญลักษณ์ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์” (มติชน, 2552)

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อ 11 มิถุนายน พ.ศ.2562

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • 👀
    ไก่จ๋า
    30 พ.ค. 2563 เวลา 20.59 น.
  • Note
    มันไล่กษัตริย์ไปเรียนไปอยู่ต่างประเทศ มันกินนอนในวังในที่พระมหากษัตริย์เมียมันใส่ชุดของราชินีรำไพพรรณี ใช้เครื่องประทินผิวเครื่องประดับของราชินี พอญี่ปุ่นแพ้สงครามไม่มีประเทศไหนให้มันลี้ภัย มันก็เอาทองในพระคลังไปให้ญี่ปุ่นเพื่อขอสถานภาพลี้ภัย ขนทองไปใช้จนตายในต่างแดน จนถึงยุคจอมพลสฤษดิ์ยึดอำนาจ ล้างเผ่าศรียานนท์ลูกน้องมันได้ ถึงได้ทูลเชิญเสด็จ ร.9 กลับมาประเทศไทย แม้จะมีพฤติกรรมขู่เข็ญพระมหากษัตริย์บ้าง แต่ก็ไม่เคยคิดล้มล้าง ซ้ำยังสร้างภาพลักษณ์ให้สถาบันพระมหากษัตริย์กลับมาเป็นที่เคารพได้ดังเดิม
    10 ธ.ค. 2563 เวลา 07.18 น.
  • Note
    ไอ้พิตบูลสงคราม มันอาฆาตมาดร้ายจะฆ่าล้างราชวงศ์ แต่โชคดี เทพ พันธุมเสน คุมกำลังก่อการพระนครไม่เอากับมันด้วย คณะก่อการเห็นชอบเก็บไว้เป็นหุ่นเชิดจะได้ปกครองง่าย ร.7ต้องลี้ภัย ร.8ไม่ยอมให้มันเชิด มันก็เก็บอีก มันแต่งตั้งคนในวังเองทั้งหมด วางตัวอยู่เหนือกษัตริย์ เนรเทศ เทพ พันธุมเสน ไปเขมร พอญี่ปุ่นบุกมันกลัว มันจะตามเค้ากลับมาป้องกันพระนคร เค้าไม่มามันก็ฆ่า เพลงสรรเสริญที่ต้องยืนเคารพในโรงหนังก็เพราะมันกับเมียมันอยู่ในเอ็มวีนั้นด้วย อยู่ในลำดับแรกก่อนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
    10 ธ.ค. 2563 เวลา 07.06 น.
ดูทั้งหมด